คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประการ กาญจนศูนย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 343 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อคดีเก่า: การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากฝิ่นเป็นยาเสพติด และข้อจำกัดในการขอให้นับโทษ
ขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น พระราชบัญญัติฝิ่นยังใช้บังคับอยู่แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น เสียทั้งหมด แล้วกำหนดให้ฝิ่นและมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และการมีฝิ่นไว้ในความครอบครองกับการเสพฝิ่นยังเป็นความผิดอยู่ แต่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้พระราชบัญญัติฝิ่นที่ใช้ในขณะ กระทำความผิดบังคับแก่คดี สำหรับการมีกล้องสูบฝิ่นไม่ปรากฏว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2528 บัญญัติว่า เป็นความผิดการกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิด จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำขอให้นับโทษจำเลยต่อจากอีกคดีหนึ่งนั้น โจทก์ต้องขอมาในฟ้อง หรือขอก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา63 การที่โจทก์ เพิ่งมายื่นคำร้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นเมื่อศาลชั้นต้น พิพากษาคดีแล้ว และโจทก์อุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างศาลชั้นต้นจะส่ง สำนวนไปศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงขอไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4538/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้สินของผู้ตายจากเงินทุนเลี้ยงชีพธนาคารออมสิน
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งของธนาคารออมสินสำหรับพนักงานแต่ละคนให้สะสมขึ้นด้วยเงินที่ธนาคารคำนวณเพิ่มให้ร้อยละสิบจากเงินเดือนที่พนักงานได้รับในวันจ่ายเงินเดือนทุกเดือนโดยขึ้นบัญชีแยกไว้สำหรับพนักงานแต่ละคนเรียกว่าบัญชี"เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่ง" และให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสี่ต่อปี ถ้าผู้ตายยังไม่ตายและออกจากธนาคารไป ธนาคารออมสินก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ผู้ตายตามระเบียบ เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งจึงเป็นมรดกของผู้ตายจำเลยรับเอาไปจำเลยจึงได้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวของผู้ตาย จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ของผู้ตายให้โจทก์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511-4512/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาในคดีของจำเลยที่ 1 (นิติบุคคล) ผ่านตัวแทน แม้ไม่ได้แต่งตั้งทนายโดยตรง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การดำเนินกิจการทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องอาศัย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการแทน เมื่อ ช. มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับโจทก์ คิดบัญชีหนี้สินที่เกี่ยวค้างกัน และยังมอบงานบางอย่างให้จำเลยที่ 2 ทำ โดยให้ใช้ตราของห้างได้ในชั้นส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานก็ได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามที่ปรากฏในหนังสือรับรองของนายทะเบียน ในคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันนั้น ช. ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อศาลอนุญาต ช.ได้ทำสัญญาประกันตัวจำเลยที่ 2 ตามคำร้องดังกล่าวมีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยไว้อย่างชัดแจ้ง ช.ย่อมทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง และที่จำเลยที่ 2ต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 มาแต่แรก ช. ก็ไม่ได้คัดค้านการกระทำของจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของ ช. ดังกล่าวแสดงว่า ช. ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีแทนตนในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 แล้วดังนั้นที่จำเลยที่ 2แต่งทนายความต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินและข้อตกลงเพิ่มเติม การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินรายพิพาทโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ แม้มีการวางมัดจำด้วยการวางมัดจำก็เป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ตกลงทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงด้วยวาจาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาที่ทำไว้ต่อกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมทางหลวงในทุกประการเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขออนุญาตทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินรายพิพาทต่ออธิบดีกรมทางหลวง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังที่โจทก์กล่าวอ้างดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินรายนี้ตามสัญญาจะซื้อขายต่ออธิบดีกรมทางหลวงตามแบบพิมพ์ของกรมทางหลวง แม้จำเลยจะได้แก้ไขข้อความตามแบบพิมพ์นั้น จนเป็นเหตุให้กรมทางหลวงไม่อนุญาตให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมรายนี้ ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้ขายที่จะกระทำได้โดยชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลโต้แย้งคำพิพากษาเดิมและมีหลักฐานสนับสนุนโอกาสชนะคดี
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ที่กล่าวว่า จำเลยมีพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลได้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย และจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ในตึกพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่ได้ต่อไปหากศาลจะให้โอกาสจำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้นั้น เป็นเพียงการชี้แจงข้อเท็จจริงให้ศาลทราบ มิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น เพราะมิได้โต้แย้งว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใด เพราะเหตุใด และเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากให้มีการพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิจารณาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิจารณาไปแล้ว ซึ่งจะเป็นผลให้จำเลยชนะคดีได้ คำร้องขอของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย ที่จะให้มีการพิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการให้ (การให้โดยเสน่หา) และอายุความฟ้องร้องกรณีประพฤติเนรคุณ
โจทก์เป็นย่าจำเลย ได้รับจำเลยมาอยู่ร่วมบ้าน เมื่อแต่งงานแล้วจำเลยและสามีก็อยู่ที่บ้านโจทก์ โจทก์ให้ที่นาที่อยู่อาศัยพร้อมบ้านแก่จำเลยการที่โจทก์ออกจากบ้านตั้งแต่ต้นปี 2525 เพราะจำเลยไม่เลี้ยงดู ด่าและไล่โจทก์ออกจากบ้าน. ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์ทราบถึงการประพฤติเนรคุณของจำเลย เมื่อนับถึงวันที่ 3 มีนาคม 2526ที่โจทก์ฟ้องจึงเกิน 6 เดือน โจทก์หาอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: สัญญาครอบคลุมค่าจ้างปรับราคาได้ แม้ระบุเฉพาะงวดแน่นอน
ในคดีที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้น ทำการไต่สวนฟังข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยและผู้เกี่ยวข้องและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี หากศาลฎีกาพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีมีเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีไปได้
จำเลยกับธนาคาร ท. ทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำงานที่สามารถปรับราคาค่าจ้างได้โดยระบุให้โอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยมีอยู่กับผู้คัดค้านทั้งหมดหรือประจำงวดที่ 1-10 ให้ธนาคาร ท. และได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าได้ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมด ผู้คัดค้านได้รับทราบการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับธนาคาร ท. แล้ว ดังนี้แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องจะกล่าวถึงเฉพาะเงินค่าจ้างทั้ง 10 งวดตามสัญญาเพราะเป็นยอดเงินค่าจ้างที่แน่นอน ส่วนค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้มิได้ระบุลงไว้เนื่องจากขณะโอนสิทธิเรียกร้องยังไม่ทราบว่าจะมีอยู่หรือไม่เพียงใด สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่ระบุถึงสิทธิเรียกร้องทั้งหมดย่อมต้องหมายความรวมถึงค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ด้วย
การที่ผู้คัดค้านเคยส่งเงินค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ตามสัญญาจ้างรายนี้มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ได้แจ้งอายัดครั้งหนึ่งแล้ว ก็มิได้หมายความว่าผู้คัดค้านจะเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติในครั้งต่อไปไม่ได้ เมื่อเห็นว่าการเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติต้องตามความประสงค์ของคู่กรณีที่ให้มีการโอนสิทธิเรียกร้องต่อกันยิ่งกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง: สัญญาครอบคลุมค่าจ้างปรับราคาได้ แม้ไม่ได้ระบุชัดเจน
ในคดีที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนฟังข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยและผู้เกี่ยวข้องและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีหากศาลฎีกาพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีมีเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้วไม่จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีไปได้ จำเลยกับธนาคาร ท. ทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำงานที่สามารถปรับราคาค่าจ้างได้โดยระบุให้โอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยมีอยู่กับผู้คัดค้านทั้งหมดหรือประจำงวดที่ 1-10 ให้ธนาคาร ท.และได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าได้ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดผู้คัดค้านได้รับทราบการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับธนาคารท. แล้วดังนี้แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องจะกล่าวถึงเฉพาะเงินค่าจ้างทั้ง10 งวดตามสัญญาเพราะเป็นยอดเงินค่าจ้างที่แน่นอนส่วนค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้มิได้ระบุลงไว้เนื่องจากขณะโอนสิทธิเรียกร้องยังไม่ทราบว่าจะมีอยู่หรือไม่เพียงใดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่ระบุถึงสิทธิเรียกร้องทั้งหมดย่อมต้องหมายความรวมถึงค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ด้วย การที่ผู้คัดค้านเคยส่งเงินค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ตามสัญญาจ้างรายนี้มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ได้แจ้งอายัดครั้งหนึ่งแล้วก็มิได้หมายความว่าผู้คัดค้านจะเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติในครั้งต่อไปไม่ได้เมื่อเห็นว่าการเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติต้องตามความประสงค์ของคู่กรณีที่ให้มีการโอนสิทธิเรียกร้องต่อกันยิ่งกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ข่มขู่ให้โอนทรัพย์สิน และประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวขอแบ่งที่ดินและตึกพิพาท อ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ประเด็นในคดีจึงมีว่า ที่ดินและตึกพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หรือไม ่ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าทั้งสองฝ่ายมีข้อตกลงที่จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก เพราะไม่มีสินสมรสระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันโจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่ได้ ซึ่งยังมิได้วินิจฉัย ในประเด็นแห่งคดี ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินและตึกพิพาทกับทรัพย์สินในตึกพิพาทที่เป็นของตนทั้งหมดคืนมา อ้างว่าจำเลยที่ 2 ข่มขู่ เอาที่ดินและตึกไปเป็นของตน และกีดกันขัดขวาง มิให้โจทก์ได้ครอบครองใช้สอยทรัพย์สินภายในตึกพิพาท เป็นฟ้อง กรณีละเมิดและเรียกทรัพย์คืน ประเด็นที่จะวินิจฉัย จึงอาศัยเหตุที่ต่างกันกับคดีก่อนไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกทรัพย์คืนกรณีละเมิดและการเพิกถอนการโอนที่ดินที่ได้มาจากการข่มขู่ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวขอแบ่งที่ดินและตึกพิพาท อ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2ประเด็นในคดีจึงมีว่า ที่ดินและตึกพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หรือไม่ ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าทั้งสองฝ่ายมีข้อตกลงที่จะ ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใดๆ ต่อกันอีก เพราะไม่มีสินสมรสระหว่าง ที่เป็นสามีภรรยากันโจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่ได้ ซึ่งยังมิได้วินิจฉัย ในประเด็นแห่งคดี ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินและตึกพิพาทกับทรัพย์สินในตึกพิพาทที่เป็นของตนทั้งหมดคืนมา อ้างว่าจำเลยที่ 2 ข่มขู่ เอาที่ดินและตึกไปเป็นของตน และกีดกันขัดขวาง มิให้โจทก์ได้ครอบครองใช้สอยทรัพย์สินภายในตึกพิพาท เป็นฟ้องกรณีละเมิดและเรียกทรัพย์คืน ประเด็นที่จะวินิจฉัย จึงอาศัยเหตุที่ต่างกันกับคดีก่อนไม่เป็นฟ้องซ้ำ
of 35