คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประการ กาญจนศูนย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 343 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนโจทก์และการเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดิน การยึดถือแทนไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
พระภิกษุว. ขอเข้าทำนาพิพาทของโจทก์ ต่อมาพระภิกษุ ว.ให้ พ. และจำเลยทำนาพิพาทแทนการครอบครองนาพิพาทของ พ. และจำเลยเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้ต่อมาพระภิกษุ ว. และ พ. มรณภาพและตายลง จำเลยทำนาเรื่อยมาก็ถือได้ว่าครอบครองนาพิพาทแทนโจทก์หาได้สิทธิครอบครองไม่
พระภิกษุ ว. ยึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ เพียงแต่การที่พระภิกษุ ว. ไปขอออก น.ส.3 ก. ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองต่อโจทก์แม้พระภิกษุ ว. ทำนาพิพาทมาช้านานเพียงไรก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง โจทก์ย่อมเรียกร้องให้คืนนาพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนเจ้าของ และการเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดิน: สิทธิในที่ดินยังคงเป็นของเจ้าของเดิม
พระภิกษุว. ขอเข้าทำนาพิพาทของโจทก์ ต่อมาพระภิกษุ ว.ให้ พ. และจำเลยทำนาพิพาทแทนการครอบครองนาพิพาทของ พ. และจำเลยเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้ต่อมาพระภิกษุ ว. และ พ. มรณภาพและตายลง จำเลยทำนาเรื่อยมาก็ถือได้ว่าครอบครองนาพิพาทแทนโจทก์หาได้สิทธิครอบครองไม่ พระภิกษุ ว. ยึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ เพียงแต่การที่ พระภิกษุ ว. ไปขอออก น.ส.3 ก. ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองต่อโจทก์แม้พระภิกษุ ว. ทำนาพิพาทมาช้านานเพียงไรก็ไม่ได้สิทธิครอบครองโจทก์ย่อมเรียกร้องให้คืนนาพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาในคดีล้มละลาย หากเกินกำหนดจะไม่มีสิทธิ
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าว ไว้ในกฎหมายล้มละลายเท่านั้น แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียัง อยู่ในระหว่างการพิจารณา หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเว้นแต่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน2 เดือน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 27 และ 91 เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมิได้อยู่นอกราชอาณาจักร ได้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้เกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายระบุ ไว้ถึง 5 เดือนเศษ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ของ ลูกหนี้ที่ 2 ที่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้รายนี้นำยึด ก็ เพราะปรากฏว่าโรงงานแห่งนั้นติดการจำนองโดยลูกหนี้ที่ 2 ได้เอาจำนองไว้แก่ธนาคารมาก่อนที่จะถูกยึด เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดโรงงานที่ว่านี้อย่าง ปลอดจำนองโดยมิได้แจ้งให้ธนาคารผู้รับจำนองทราบ ย่อม เป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นคงสั่งเพิกถอนเฉพาะการ ขายทอดตลาดโรงงานดังกล่าว แต่การยึดยังมีผลอยู่ หาถูกเพิกถอนไปแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายตามนัยบทบัญญัติมาตรา 115 ที่จะให้สิทธิแก่ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ก็ต้องผูกพัน ที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับ แต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เกินกำหนดเวลา ดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 91 ออกไป อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องเป็นไปตามกำหนดเวลา แม้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าว ไว้ในกฎหมายล้มละลายเท่านั้น แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียัง อยู่ในระหว่างการพิจารณาหรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเว้นแต่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน2 เดือน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 27 และ 91 เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมิได้อยู่นอกราชอาณาจักร ได้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้เกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายระบุ ไว้ถึง 5 เดือนเศษจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ของ ลูกหนี้ที่ 2 ที่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้รายนี้นำยึด ก็ เพราะปรากฏว่าโรงงานแห่งนั้นติดการจำนองโดยลูกหนี้ที่ 2 ได้เอาจำนองไว้แก่ธนาคารมาก่อนที่จะถูกยึด เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดโรงงานที่ว่านี้อย่างปลอดจำนองโดยมิได้แจ้งให้ธนาคารผู้รับจำนองทราบ ย่อมเป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นคงสั่งเพิกถอนเฉพาะการ ขายทอดตลาดโรงงานดังกล่าว แต่การยึดยังมีผลอยู่ หาถูกเพิกถอนไปแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายตามนัยบทบัญญัติมาตรา 115 ที่จะให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและใน ราชกิจจานุเบกษาแล้วเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ก็ต้องผูกพัน ที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับ แต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เกินกำหนดเวลา ดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 91 ออกไป อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถาและการจำวันนัด: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
จำเลยไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ถือว่าจำเลยไม่มีพยานให้ศาลไต่สวนให้ได้ความว่าจำเลยเป็นคนอนาถาให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์เสียเท่ากับวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยแล้วว่าจำเลยไม่ใช่คนอนาถาต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยได้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา อ้างเหตุว่าจำวันนัดผิดพลาด การขาดนัดไต่สวนคำร้องมิได้เป็นไปโดยเจตนาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยจะอ้างเหตุว่าจำวันนัดคลาดเคลื่อนมาเป็นข้ออ้างหาได้ไม่ให้ยกคำร้องของจำเลยเสีย ดังนี้ย่อมมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งเดิมที่ว่าจำเลยไม่ใช่คนอนาถา เมื่อจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสัตว์พาหนะต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นกรรมสิทธิ์ไม่โอน ผู้ซื้อไม่เป็นเจ้าของ
การซื้อขายสัตว์พาหนะถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก เมื่อผู้ร้องซื้อโคของกลางซึ่งเป็นสัตว์พาหนะมา แต่การซื้อขายมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์จึงยังไม่โอนมาเป็นของผู้ร้องทั้งผู้ร้องยังมิได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าของแท้จริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ที่จะขอให้ศาลสั่งคืนโคของกลางที่ถูกริบแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จต่อศาลมีผลต่อรูปคดี แม้ศาลมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย ถือเป็นข้อสำคัญในคดี
ตามคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยได้ความว่าจำเลยรู้เห็นใกล้ชิดกับเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ แต่ในชั้นศาลจำเลยกลับเบิกความอันเป็นเท็จว่าไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุขณะเกิดเหตุ หากจำเลยเบิกความไปตามที่รู้เห็นดังที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวนจำเลยย่อมเป็นพยานที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์สนับสนุนคำของพยานโจทก์ปากอื่นให้มีน้ำหนักมั่นคงยิ่งขึ้นอันอาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงข้ามได้ ดังนี้ แม้ศาลจะมิได้หยิบยกคำเบิกความของจำเลยขึ้นวินิจฉัย คำเบิกความอันเป็นเท็จของจำเลยก็เป็นข้อสำคัญในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จต่อศาลในคดีอาญา: ผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของพยานและผลคดี
ตามคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยได้ความว่าจำเลยรู้เห็นใกล้ชิดกับเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ แต่ในชั้นศาลจำเลยกลับเบิกความอันเป็นเท็จว่าไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุขณะเกิดเหตุ หากจำเลยเบิกความไปตามที่รู้เห็นดังที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวน จำเลยย่อมเป็นพยานที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์สนับสนุนคำของพยานโจทก์ปากอื่นให้มีน้ำหนักมั่นคงยิ่งขึ้น อันอาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงข้ามได้ ดังนี้ แม้ศาลจะมิได้หยิบยกคำเบิกความของจำเลยขึ้นวินิจฉัย คำเบิกความอันเป็นเท็จของจำเลยก็เป็นข้อสำคัญในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. เจตนาฆ่า และบันดาลโทสะ: พฤติการณ์การทำร้ายด้วยอาวุธมีคม
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน ที่เกิดเหตุมืดสลัว ผู้เสียหายเตะจำเลยก่อน จำเลยจึงฟันผู้เสียหายไป 1 ที แล้วมิได้ฟันซ้ำอีกซึ่งลักษณะของขวานของกลางเป็นอาวุธที่หนักและมีคม ถ้าจำเลยมีเจตนาฆ่าก็ย่อมจะฟันแรง บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับจึงไม่ฉกรรจ์ ประกอบกับผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีเรื่องหมางใจกันมาก่อน ดังนี้ จำเลยมีเจตนาทำร้ายไม่มีเจตนาฆ่า การที่ผู้เสียหายเตะจำเลยก่อนถูกอัณฑะโดยไม่มีเหตุผลใด ๆเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจำเลยฟันผู้เสียหายไปในทันที ดังนี้ เป็นการกระทำเพราะบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224-3225/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่เบียดบังเงินค่าธรรมเนียมจากการจดทะเบียนที่ดิน ความผิดมาตรา 147 และการลงโทษกรรมเดียว
จำเลยมีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการรับโอนมรดกและการซื้อขายที่ดิน ตลอดจนมีหน้าที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมแล้วรวบรวมส่งมอบให้เจ้าหน้าที่การเงิน การที่จำเลยรับเงินค่าธรรมเนียมไว้แล้วไม่รวบรวมส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่การเงินตามหน้าที่ แต่กลับเบียดบังเอาไว้เป็นของตน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 กรณีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 นี้ เป็นบทบัญญัติที่เอาผิดแก่เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มา หรือถือเอาไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ มิใช่เอาผิดเฉพาะว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทางราชการหรือของรัฐเท่านั้น
การที่จำเลยปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยมีเจตนาที่จะใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยฐานเบียดบังเงินค่าธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 อันเป็นบทหนักที่สุด
of 35