พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน, อายุความ, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858,859 โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า จำเลยที่ 1กลับมาเป็นลูกหนี้โจทก์อีกครั้งในวันที่ 26 พฤษภาคม 2518 เป็นเงิน611.94 บาท โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินค้ำประกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นเงิน 20,078.24บาท จึงให้ถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 20,000 บาท จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2530ซึ่งเป็นวันครบกำหนดบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้อันเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามปกติไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: ผลของการสิ้นสุดสัญญาและการหักเงินจากบัญชีประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้วนั้น ฉะนั้นเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไปก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว แต่ถ้าหากบัญชีเดินสะพัดไม่เดินต่อไป แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา
หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว
เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช.นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมเป็นการผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช.ชำระหนี้แก่โจทก์
หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว
เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช.นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมเป็นการผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช.ชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อบัญชีเดินสะพัดหยุดเดิน ย่อมชอบหักเงินฝากชำระหนี้ได้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้ มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เมื่อมีการ ปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้อง ปฏิบัติ ตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำเมื่อมีการ หัก ทอน บัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้วนั้น ฉะนั้น เมื่อ ครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไปก็เห็นได้ว่า คู่สัญญา ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและ เรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว แต่ถ้าหากบัญชีเดินสะพัด ไม่ เดิน ต่อไปแสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็น อัน สิ้นสุด ลง ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเกินบัญชี สิ้นสุด ลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็น หลักฐาน แสดง ว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชี ต่อไป อีก แสดง ว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เป็น อัน สิ้นสุด ลง ตาม กำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช. นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระ หนี้ย่อมเป็นการ ผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลง โดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช. ชำระหนี้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, การหักชำระหนี้จากเงินฝาก, เจตนาใช้สิทธิ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกครบกำหนดแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงต่ออายุสัญญาออกไปอีก 1 ปี หลังจากครบกำหนดที่ต่ออายุสัญญาคงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับต้นเงินเป็นประจำเดือนตลอดมา ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดในบัญชีอันจะแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก และจำเลยผิดนัดไม่นำเงินส่วนที่เหลือหลังจากหักทอนบัญชีแล้วมาชำระ ทั้งโจทก์เพิกเฉยไม่นำเงินฝากประจำของจำเลยเข้าหักทอนบัญชีเดินสะพัดของจำเลยเสียเมื่อครบกำหนดต่ออายุสัญญาตามที่จำเลยได้ตกลงยินยอมไว้ตั้งแต่ตอนแรกที่ทำสัญญาคงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาจนเกือบ 2 ปี โจทก์จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยเข้าหักทอนบัญชี พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดต่ออายุสัญญาตามที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว นับแต่นั้นเป็นต้นไปโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก คงคิดได้อย่างไม่ทบต้นเท่านั้น ทั้งโจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ในวันที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงและเป็นวันที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อได้ความว่าในวันที่สัญญาสิ้นสุดลงดังกล่าวโจทก์ได้นำเงินฝากประจำของจำเลยบางส่วนมาหักใช้หนี้โจทก์ อันเป็นการแสดงเจตนาใช้สิทธิตามที่ได้ตกลงกันไว้เพื่อระงับหนี้ที่มีอยู่แล้ว หนี้ที่เหลือโจทก์ก็ชอบที่จะนำเงินฝากประจำของจำเลยที่เหลือทั้งหมดมาหักใช้หนี้ หากมีหนี้คงเหลืออยู่อีกเท่าใด โจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในส่วนนั้นจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด, การต่ออายุสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, สิทธิเรียกร้อง
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันที่ 9 มกราคม 2518 แต่เมื่อครบกำหนดแล้วมีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกจนถึงวันที่ 9 มกราคม 2519 และรับรองยอดเงินที่ค้างชำระกับให้สัญญาว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับจนกว่าจำเลยจะได้ชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น แต่ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที แม้ผู้จำนองจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2521 เพื่อไถ่ถอนจำนอง บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยก็ยังมีอยู่เพราะยังชำระหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดไม่หมดและไม่มีฝ่ายใดเลิก สัญญา ดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา แต่หลังจากวันบอกเลิกสัญญาไปแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ตามบัญชีธนาคารและการแจ้งยอดหนี้ที่ลูกหนี้ไม่โต้แย้ง ถือเป็นการคิดบัญชีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ธนาคารคิดดอกเบี้ยลงยอดเงินหักกลบลบหนี้เดือนละครั้งตามประเพณีของธนาคาร แล้วแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ลูกหนี้ไม่โต้แย้งอย่างใดถือว่ามีการหักทอนบัญชีกัน ไม่ขัดต่อมาตรา856 ไม่ต้องให้เจ้าหนี้ลูกหนี้ร่วมตรวจสอบคิดบัญชีกันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: ข้อจำกัดหลังผิดนัดชำระหนี้ และการเลิกสัญญาระหว่างธนาคารกับลูกหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้วการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้วฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้วการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้วฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: ศาลฎีกาตัดสินข้อจำกัดเมื่อมีการเลิกสัญญาและผิดนัดชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859 และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859 และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดและผลกระทบเมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ. ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3.
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น. เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ.
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด. ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859. และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้.ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป.ทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด.
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา. แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว. การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว. ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัด.จนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511).
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น. เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ.
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด. ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859. และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้.ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป.ทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด.
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา. แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว. การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว. ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัด.จนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511).