คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1465 วรรคท้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวภริยาหลังสมรส: การซ่อมแซมและสร้างบ้านด้วยเงินส่วนตัวของผู้ร้อง ไม่ถือเป็นสินสมรส
การที่ผู้ร้องซ่อมแซมบ้านซึ่งปลูกในที่อันเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง. อีกทั้งผู้ร้องยังสร้างบ้านขึ้นใหม่อีกหนึ่งหลังในที่ดินดังกล่าวภายหลังจากการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยนั้น. เมื่อผู้ร้องได้เอาเงินอันเป็นดอกผลของสินส่วนตัวของผู้ร้องเองใช้จ่ายในการซ่อมแซมและปลูกสร้างแล้ว. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดก็ย่อมเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1464(4) และมาตรา 1465 วรรคท้าย. โจทก์จะขออายัดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ไว้ก่อนมีคำพิพากษาหาได้ไม่. เพราะโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย. กรณีจึงไม่เข้าตามมาตรา 254(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
สินส่วนตัวของภริยานั้น หาได้มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของสามีผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยไม่. ดังนั้น จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 282วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้กับกรณีนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวภริยาได้รับการคุ้มครอง แม้หลังสมรส และการอายัดทรัพย์ต้องมีจำเลยเป็นผู้ถูกฟ้อง
การที่ผู้ร้องซ่อมแซมบ้านซึ่งปลูกในที่อันเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องอีกทั้งผู้ร้องยังสร้างบ้านขึ้นใหม่อีกหนึ่งหลังในที่ดินดังกล่าวภายหลังจากการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยนั้น เมื่อผู้ร้องได้เอาเงินอันเป็นดอกผลของสินส่วนตัวของผู้ร้องเองใช้จ่ายในการซ่อมแซมและปลูกสร้างแล้วที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดก็ย่อมเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1464(4) และมาตรา 1465 วรรคท้าย โจทก์จะขออายัดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ไว้ก่อนมีคำพิพากษาหาได้ไม่ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย กรณีจึงไม่เข้าตามมาตรา 254(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สินส่วนตัวของภริยานั้น หาได้มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของสามีผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยไม่ดังนั้น จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 282วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้กับกรณีนี้ได้