พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ศาลใช้ราคาซื้อขายจริงใกล้เคียงเป็นเกณฑ์ประเมินค่าทดแทนได้ แม้ราชการประเมินราคาไม่เท่ากัน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497มาตรา 24 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่กรณีที่จะเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไม่ใช่บทบังคับว่าจะต้องเสนอตั้งเสมอไป และในวรรคดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าถ้าไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วจะฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ ส่วนมาตรา 24 วรรคสอง ก็มีความหมายเพียงว่า หากผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไม่เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการภายในกำหนด 6 เดือน ทั้งไม่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลด้วยจึงไม่ถือว่าราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นเงินค่าทดแทน ไม่ใช่ห้ามฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้เคียงกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาด มาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน79 ตารางวา ไม่ มาก เกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเสนออนุญาโตตุลาการไม่บังคับ, ราคาประเมินทางราชการใช้ไม่ได้, ราคาซื้อขายจริงใช้ได้
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 24 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่กรณีที่จะเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ไม่ใช่บทบังคับว่าจะต้องเสนอตั้งเสมอไป และในวรรคดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าถ้าไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วจะฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ ส่วนมาตรา 84 วรรคสอง ก็มีความหมายเพียงว่า หากผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไม่เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการภายในกำหนด 6 เดือน ทั้งไม่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลด้วย จึงให้ถือว่าราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นเงินค่าทดแทน ไม่ใช่ห้ามฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาดมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวาไม่มากเกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆ ลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาดมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวาไม่มากเกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆ ลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิการหักราคาที่ดินที่สูงขึ้นจากค่าทำขวัญ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ กรณีนี้พระราชบัญญัติทางหลวงพ.ศ. 2482 ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ มาตรา 42 บัญญัติให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งมาตรา 14บัญญัติให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่ทวีขึ้นเพราะการตัดถนนตามพระราชบัญญัติเวนคืนมาหักกับเงินค่าทำขวัญซึ่งจะจ่ายแก่โจทก์ได้
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืนแต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทนจะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืนแต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทนจะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในการรับค่าทำขวัญ, การหักราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ กรณีนี้พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ มาตรา 42 บัญญัติให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งมาตรา 14บัญญัติให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่ทวีขึ้นเพราะการตัดถนนตามพระราชบัญญัติเวนคืนมาหักกับเงินค่าทำขวัญซึ่งจะจ่ายแก่โจทก์ได้
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทน จะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทน จะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่เวนคืน: การตีความ 'เจ้าหน้าที่' ตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
คำว่า 'เจ้าหน้าที่' ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ไม่ได้หมายความถึงเจ้าหน้าที่ตามความหมายทั่วไป แต่หมายความถึงเจ้าหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น.
ในการเวนคืนที่ดินในเขตอำเภอเมืองชลบุรี. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2497 มาตรา 4 กำหนดให้เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเวนคืน. ต่อมาเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลนาป่า ตำบลบ้านสวน ตำบลบางทราย และตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2502 มาตรา 3 ก็กำหนดให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้.
ในการเวนคืนที่ดินในเขตอำเภอเมืองชลบุรี. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2497 มาตรา 4 กำหนดให้เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเวนคืน. ต่อมาเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลนาป่า ตำบลบ้านสวน ตำบลบางทราย และตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2502 มาตรา 3 ก็กำหนดให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการเวนคืน: 'เจ้าหน้าที่' ตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ หมายถึงผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายเท่านั้น
คำว่า 'เจ้าหน้าที่' ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ไม่ได้หมายความถึงเจ้าหน้าที่ตามความหมายทั่วไป แต่หมายความถึงเจ้าหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
ในการเวนคืนที่ดินในเขตอำเภอเมืองชลบุรี พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2497 มาตรา 4 กำหนดให้เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเวนคืนต่อมาเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลนาป่า ตำบลบ้านสวน ตำบลบางทราย และตำบลหนองไม้แดงอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2502 มาตรา 3 ก็กำหนดให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้
ในการเวนคืนที่ดินในเขตอำเภอเมืองชลบุรี พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2497 มาตรา 4 กำหนดให้เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเวนคืนต่อมาเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลนาป่า ตำบลบ้านสวน ตำบลบางทราย และตำบลหนองไม้แดงอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2502 มาตรา 3 ก็กำหนดให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้