คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699-3739/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวชที่ไม่ชอบตามกฎหมายเถรสมาคมและการละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา
เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 มาตรา 27 และไม่เป็นไปตามมาตรา 5ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าวเท่านั้นจึงไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นไปเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยและศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวที่จำเลยอุทธรณ์ได้ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 เพราะการกระทำ ของ จำเลยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 38 ที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพ บริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและก่อนจำเลยจะมีพรรษา ครบ 10 พรรษา จำเลยได้ทำหน้าที่ดังเช่นอุปัชฌาย์โดยจำเลย บวชให้แก่ผู้อื่น ทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่ เป็นพระผู้ใหญ่ ในการบวช รวมทั้งเป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารโดยจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมซึ่งขัดต่อ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 23 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุที่บัญญัติว่าการแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 7(พ.ศ. 2506) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 23 แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 ข้อ 4 บัญญัติว่า พระอุปัชฌาย์หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธาน และรับผิดชอบในการให้บรรพชาอุปสมบทตามบทบัญญัติ แห่งกฎมหาเถรสมาคม และข้อ 12 บัญญัติให้พระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและ เฉพาะภายในเขตตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมฉบับดังกล่าว การบวชของผู้ที่จำเลย บวชให้ จึงเป็นการบวชที่ไม่ชอบ และผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิ แต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณร ในพระพุทธศาสนา ผู้ที่จำเลยบวชให้จึงต้องมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้บวชและทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่เป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารให้แก่จำเลยอื่น จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วย มาตรา 86 พระธรรมวินัยมีถ้อยคำและความหมายอย่างไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กฎมหาเถรสมาคมซึ่งออกมาเพื่อประดิษฐานพระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและจำนวนพุทธศาสนิกชนที่เพิ่มขึ้นและมิได้ขัดต่อพระธรรมวินัยเมื่อกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าวออกโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 มาตรา 23 จึงใช้บังคับได้ บุคคลทุกคนจำเป็นต้องอนุวัตปฏิบัติตาม จะโต้เถียงว่าขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยและไม่ยอมปฏิบัติตามไม่ได้ แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา 38 จะบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ แต่ก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่าการใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 บัญญัติขึ้นโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มี ศรัทธาอยู่แล้ว และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อนบุคคลทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ต้องตามเจตนารมณ์ จำเลยบวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกายเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2513 และในปี 2516 ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกายซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วง เวลาดังกล่าวจำเลยก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ไม่ปรากฏว่า จำเลยถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจ ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 18 บัญญัติให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้การที่จำเลยขอลาออกจากการปกครองของมหาเถรสมาคม และแยกตัวมาตั้งพุทธสถานสันติอโศก แล้วดำเนินการบวชบุคคลอื่นเป็นพระภิกษุโดยวางกฎระเบียบต่าง ๆ และพยายามปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย แม้จะเป็นเวลานานเท่าใด การประกาศของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยกับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาบัติปาราชิก: อำนาจฟ้องและหลักการรอการพิจารณาคดี
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 25แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ตราไว้ในหมวด 3 วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ข้อ 23 ว่า การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี 3 ชั้นคือ (1) ชั้นต้น (2) ชั้นอุทธรณ์ (3) ชั้นฎีกา ข้อ 24 ว่า การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ฯลฯ ข้อ 25 ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ฯลฯ ข้อ 26 ว่า การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม ข้อ 27 ว่า คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณีใดให้เป็นอันถึงที่สุด และข้อ 35 ว่า ก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณาถ้าปรากฏว่า(1) เรื่องที่นำมาฟ้องนั้น ได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายราชอาณาจักรให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไว้ก่อน ฯลฯ เมื่อ อ.เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ต่อผู้พิจารณาเรื่องความผิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิก ซึ่งคดีดังกล่าวคณะผู้พิจารณาชั้นต้นคือจำเลยที่ 1 และคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์คือจำเลยที่ 2 วินิจฉัยต้องกันว่าโจทก์ได้ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิก มีคำสั่งให้โจทก์สึกภายใน 24 ชั่วโมงแล้ว และโจทก์ได้ยื่นฎีกาต่อคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาคือจำเลยที่ 3 และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ก็ต้องรอฟังผลของคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 เสียก่อนว่าให้ยืน ยก แก้ หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ตามข้อ 45 ประกอบด้วยข้อ 53 ฉะนั้นเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่ 3 โจทก์จะมาด่วนฟ้องว่าคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีดังกล่าวไม่ชอบจึงขอให้เพิกถอนหาได้ไม่ และจะขอให้จำเลยที่ 3 รอการพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีที่โจทก์ฟ้อง อ.กับพวก ที่ศาลแขวงพระนครเหนือและศาลอาญาหาได้ไม่เพราะคดีที่โจทก์ฟ้อง อ.กับพวกนั้นเป็นคนละเรื่องกันกับที่ อ.ฟ้องโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำวินิจฉัยการลงนิคหกรรมและการรอการพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่11(พ.ศ.2521)ว่าด้วยการลงนิคหกรรมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา18และมาตรา25แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505ตราไว้ในหมวด3วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมข้อ23ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี3ชั้นคือ(1)ชั้นต้น(2)ชั้นอุทธรณ์(3)ชั้นฎีกาข้อ24ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นฯลฯข้อ25ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ฯลฯข้อ26ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคมข้อ7ว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในกรณีพิจารณาการลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณีใดให้เป็นอันถึงที่สุดและข้อ35ว่าก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณาถ้าปรากฏว่า(1)เรื่องที่นำมาฟ้องนั้นได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายราชอาณาจักรให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไว้ก่อนฯลฯเมื่ออ. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ต่อผู้พิจารณาเรื่องความผิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิกซึ่งคดีดังกล่าวคณะผู้พิจารณาชั้นต้นคือจำเลยที่1และคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์คือจำเลยที่2วินิจฉัยต้องกันว่าโจทก์ได้ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมาวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิกมีคำสั่งให้โจทก์สึกภายใน24ชั่วโมงแล้วและโจทก์ได้ยื่นฎีกาต่อคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาคือจำเลยที่3และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่3แล้วโจทก์ก็ต้องรอฟังผลของคำวินิจฉัยของจำเลยที่3เสียก่อนว่าให้ยืนยกแก้หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ตามข้อ45ประกอบด้วยข้อ53ฉะนั้นเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่3โจทก์จะมาด่วนฟ้องว่าคำวินิจฉัยของจำเลยที่1และที่2ในคดีดังกล่าวไม่ชอบจึงขอให้เพิกถอนหาได้ไม่และจะขอให้จำเลยที่3รอการพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีที่โจทก์ฟ้องอ.กับพวกที่ศาลแขวงพระนครเหนือและศาลอาญาหาได้ไม่เพราะคดีที่โจทก์ฟ้องอ.กับพวกนั้นเป็นคนละเรื่องกันกับที่อ.ฟ้องโจทก์โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและการมอบอำนาจดำเนินคดีที่ไม่ชอบ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2513) ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ.2521) ข้อ 4 (1)เป็นการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส โดยเจ้าคณะตำบลเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพระครู น.ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องอยู่มิได้ลาสิกขา เจ้าคณะตำบลจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องโดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมข้อดังกล่าว คำสั่งของเจ้าคณะตำบลที่แต่งตั้งพระภิกษุ พ.เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องจึงไม่ชอบพระภิกษุ พ.จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้อง ที่ ว.ยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้องโดยพระภิกษุ พ.เป็นผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้อง เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องโดยไม่ชอบ ว.ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนเจ้าอาวาสและการไม่ปฏิบัติตามระเบียบการร้องทุกข์ ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
จำเลยสั่งลงโทษถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสฐานลงชื่อเป็นนายแสดงภาวะไม่แน่นอนว่าเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์อันเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โจทก์ยื่นคำร้องทุกข์ต่อเจ้าคณะภาค 3 โดยมิได้ผ่านจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งลงโทษโจทก์ ทั้งยื่นคำร้องทุกข์เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่โจทก์ทราบคำสั่งลงโทษดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ. 2506 ข้อ 4 และข้อ 5 ที่กำหนดว่าพระสังฆาธิการที่ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษฐานละเมิดจริยา ถ้าเห็นว่าคำสั่งลงโทษนั้นไม่เป็นธรรมก็ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง โดยให้ส่งคำร้องทุกข์นั้นผ่านผู้สั่งลงโทษภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งลงโทษ คำสั่งลงโทษโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งนั้นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งถอดถอนเจ้าอาวาสของเจ้าคณะจังหวัด: อำนาจทางศาสนจักรที่ไม่สามารถก้าวก่ายได้หากเป็นการใช้อำนาจโดยชอบ
โจทก์เป็นเจ้าอาวาส จำเลยเป็นเจ้าคณะจังหวัด จำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามกฎมหาเถรสมาคม คำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม อันเป็นอำนาจของทางฝ่ายศาสนจักรที่จะมีคำสั่งโดยเฉพาะ เมื่อฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่าจำเลยปฏิบัติมิชอบอย่างไรหรือมีการกลั่นแกล้งโจทก์ในการออกคำสั่งนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะไปก้าวก่ายในคำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยที่ประชุมมหาเถรสมาคม การใช้บังคับย้อนหลัง และผลกระทบต่อการแต่งตั้งเจ้าอาวาส
โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2506) ข้อ 6 และข้อ 22 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมโดยชอบตามมาตรา 23 ต่อมาได้มีมติของที่ประชุมมหาเถรสมาคมตีความในข้อ 23 กำหนดคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 6 และข้อ 22 โดยข้อความตามข้อ 23 ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาจะต้องตีความ การตีความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มหาเถรสมาคมแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส อันเป็นการตรากฎมหาเถรสมาคมเพิ่มเติม ต้องประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ เมื่อปรากฏว่าเพิ่งจะลงประกาศภายหลังจากที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยชอบแล้ว จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้เพราะจะเป็นการใช้บังคับย้อนหลัง ดังนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นเจ้าอาวาสเป็นโมฆะเพราะขาดคุณสมบัติตามมติตีความของที่ประชุมมหาเถรสมาคมดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยมติที่ประชุม และผลกระทบต่อการแต่งตั้งเจ้าอาวาส การใช้บังคับย้อนหลัง
โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2506) ข้อ 6 และข้อ 22 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมโดยชอบตามมาตรา 23 ต่อมาได้มีมติของที่ประชุมมหาเถรสมาคมตีความในข้อ 23 กำหนดคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 6 และข้อ 22 โดยข้อความตามข้อ 23 ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาจะต้องตีความ การตีความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มหาเถรสมาคมแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส อันเป็นการตรากฎมหาเถรสมาคมเพิ่มเติม ต้องประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ เมื่อปรากฏว่าเพิ่งจะลงประกาศภายหลังจากที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยชอบแล้ว จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้เพราะจะเป็นการใช้บังคับย้อนหลัง ดังนั้นการที่จำเลยมีคำสั่งว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นเจ้าอาวาสเป็นโมฆะเพราะขาดคุณสมบัติตามมติตีความของที่ประชุมมหาเถรสมาคมดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเจ้าอาวาส: การพิสูจน์สถานะและการมีกฎมหาเถรสมาคมที่ชัดเจน
กฎมหาเถรสมาคมตราขึ้นโดยมหาเถรสมาคมอันประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกันย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งเจ้าอาวาส/ผู้รักษาการแทน: กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎมหาเถรสมาคมตราขึ้นโดยมหาเถรสมาคมอันประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกัน ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร
of 6