คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเพื่อก่อสร้างศาสนสมบัติของวัด โดยผู้แทนของวัด มีผลผูกพันจำเลย
หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีข้อความว่า "พระครู ก. ได้ยืมเงินสดเพื่อจะจ่ายค่าก่อสร้างวัดให้ลุล่วงไปด้วยดี....บาท กำหนดคืนให้หลังทอดกฐินวัดเรียบร้อยแล้ว" เป็นเพียงหลักฐานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อพระครู ก. ผู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่สัญญากู้ยืมเงินจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
หนี้สินที่พระครู ก. ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เป็นหนี้ที่ใช้ในการก่อสร้างกุฏิอันเป็นศาสนสมบัติของวัดจำเลย มิใช่เป็นการกู้ยืมเพื่อตนเอง พระครู ก. กระทำการดังกล่าวแทนจำเลยได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 และ 39 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 อีกทั้งเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเงินให้พระครู ก. ซึ่งกระทำแทนจำเลยไปแล้ว สัญญากู้ย่อมบริบูรณ์ การที่จะต้องให้ไวยาวัจกรเป็นผู้เก็บรักษาเงินหรือต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามกฎกระทรวงข้อ 6 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ไม่เกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญากู้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเพื่อก่อสร้างวัด โดยตัวแทนของวัด จำเลยมีหน้าที่รับผิดชดใช้เงินกู้
หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีข้อความว่า "พระครู ก. ได้ยืมเงินสดเพื่อจะจ่ายค่าก่อสร้างวัดให้ลุล่วงไปด้วยดี....บาท กำหนดคืนให้หลังทอดกฐินวัดเรียบร้อยแล้ว" เป็นเพียงหลักฐานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อพระครู ก. ผู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่สัญญากู้ยืมเงินจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
หนี้สินที่พระครู ก. ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสจัดจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เป็นหนี้ที่ใช้ในการก่อสร้างกุฎิอันเป็นศาสนสมบัติของวัดจำเลย มิใช่เป็นการกู้ยืมเพื่อตนเอง พระครู ก. กระทำการดังกล่าวแทนจำเลยได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 และ 39 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 อีกทั้งเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเงินให้พระครู ก. ซึ่งกระทำแทนจำเลยไปแล้ว สัยญากู้ย่อมบริบูรณ์ การที่จะต้องให้ไวยาวัจกรเป็นผู้เก็บรักษาเงินหรือต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามกฎกระทรวงข้อ 6 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ไม่เกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญากู้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและการมอบอำนาจดำเนินคดีที่ไม่ชอบ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2513) ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ.2521) ข้อ 4 (1)เป็นการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส โดยเจ้าคณะตำบลเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพระครู น.ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องอยู่มิได้ลาสิกขา เจ้าคณะตำบลจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องโดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมข้อดังกล่าว คำสั่งของเจ้าคณะตำบลที่แต่งตั้งพระภิกษุ พ.เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องจึงไม่ชอบพระภิกษุ พ.จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้อง ที่ ว.ยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้องโดยพระภิกษุ พ.เป็นผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้อง เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องโดยไม่ชอบ ว.ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้จากการทำสัญญาโดยตัวแทนเชิด และการชำระหนี้ผ่านตัวแทน
วัดจำเลยที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วจึงเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนวัด ขณะที่วัดจำเลยที่ 1ยังไม่มีเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นผู้ติดต่อ ให้โจทก์มาช่วยสร้างโบสถ์ บอกบุญให้ประชาชนมาร่วมบริจาคเงินสร้างโบสถ์และคิดบัญชีกับโจทก์ เมื่อคิดบัญชีแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยระบุฐานะว่าเป็นตัวแทน คณะกรรมการจัดงานฝังลูกนิมิต วัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ระบุว่า เป็นกรรมการของวัดจำเลยที่ 1 พฤติการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เจ้าคณะตำบลอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 6(พ.ศ. 2506) ข้อ 4 วรรคหนึ่ง แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ เจ้าอาวาสตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 หลังจากจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอันเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ได้รู้ถึงพฤติการณ์ตามวรรคแรกของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ก็มิได้ทักท้วงหรือเพิกถอนการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบัน แก่การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาต้องร่วมรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ โจทก์เข้าช่วยเหลือในการสร้างโบสถ์โดยมิได้หวังผลตอบแทนในทางการค้าจากจำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ค้าในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ การที่โจทก์เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปในการก่อสร้างโบสถ์จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งถอดถอนเจ้าอาวาสมีผลทันที การแต่งตั้งผู้รักษาการชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรีได้มีคำสั่งให้ถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เจ้าอาวาส โดยในคำสั่งระบุชัดว่าให้มีผลบังคับตั้งแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไปนั้นย่อมมีผลบังคับทันที โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้ร้องทุกข์อุทธรณ์คำสั่งหรือไม่ และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส ฉะนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสหลังจากที่ได้มีคำสั่งถอดถอนโจทก์แล้วนั้น จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งถอดถอนเจ้าอาวาสมีผลทันที การแต่งตั้งผู้รักษาการชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพธนบุรีได้มีคำสั่งให้ถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เจ้าอาวาส โดยในคำสั่งระบุชัดว่าให้มีผลบังคับตั้งแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไปนั้น ย่อมมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้ร้องทุกข์อุทธรณ์คำสั่งหรือไม่ และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส ฉะนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส หลังจากที่ได้มีคำสั่งถอดถอนโจทก์แล้วนั้น จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเจ้าอาวาส: การพิสูจน์สถานะและการมีกฎมหาเถรสมาคมที่ชัดเจน
กฎมหาเถรสมาคมตราขึ้นโดยมหาเถรสมาคมอันประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกันย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งเจ้าอาวาส/ผู้รักษาการแทน: กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎมหาเถรสมาคมตราขึ้นโดยมหาเถรสมาคมอันประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานโดยตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เรื่องการแต่งตั้งเจ้าอาวาสหรือการพ้นจากหน้าที่เจ้าอาวาสไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ จึงอาจวางเป็นระเบียบขึ้นไว้โดยกฎมหาเถรสมาคม เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกัน ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและแพ่ง: การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 ที่ว่า'ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว..........ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้องฯลฯ นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการกระทำแสดงออกให้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนคำฟ้องนั้นจึงให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน และถ้าศาลเห็นว่าเท่าที่พยานโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะเป็นพยานกี่คนก็ตาม ทำให้คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลก็อาจสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลืออยู่เสียก็ได้
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาลศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสียเช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1)
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส' นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่. และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้นถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัดเจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสการที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้งจึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีต้องมีคุณสมบัติชอบด้วยกฎหมาย การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสต้องเป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 ที่ว่า'ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว..... .....ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้อง ฯลฯ นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการกระทำแสดงออกให้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนคำฟ้องนั้นจึงให้ศาลทำการไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อน และถ้าศาลเห็นว่าเท่าที่พยานโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะเป็นพยานกี่คนก็ตาม ทำให้คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ศาลก็อาจสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลืออยู่เสียก็ได้
โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อถึงวันนัด โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดข้อแถลงรับของโจทก์ไว้แล้วสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์เสีย เช่นนี้ก็เท่ากับว่าที่โจทก์แถลงต่อศาล ศาลจดคำแถลงของโจทก์ไว้นั้น เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ศาลพอจะยกขึ้นวินิจฉัยแล้ว แล้ววินิจฉัยและพิพากษาคดีของโจทก์ไป จึงไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา162(1)
ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6(พ.ศ.2506)ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ข้อ 6 กำหนดไว้ว่า 'ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่ และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราว ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งรองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นสมควร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส' นั้นหมายถึงกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อยู่ และไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วครั้งคราวเท่านั้นถ้าเจ้าอาวาสยังอยู่ประจำที่วัด เจ้าอาวาสก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 6 ข้อ 5 เป็นอำนาจเจ้าคณะตำบลที่จะแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส การที่เจ้าอาวาสตั้งผู้รักษาการแทนเสียเอง จึงไม่ชอบ ผู้ที่เจ้าอาวาสแต่งตั้งจึงไม่มีสิทธิและอำนาจหรือหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเจ้าอาวาส
อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลหยิบยกขึ้นพิจารณาเองได้
of 2