คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสาท บุณยรังษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 430 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททั้งสองฝ่ายในการชนทางโค้ง และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทน
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน รถของโจทก์และรถของจำเลยต่างแล่นเร็วจะสวนกันบริเวณทางโค้งโดยรถของโจทก์อยู่โค้งด้านนอก แต่รถของโจทก์แล่นล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้าไปชนกับรถของจำเลย ซึ่งแล่นอยู่ในเส้นทางของตนโดยเปิดไฟหน้าซ้ายข้างเดียว ถือได้ว่าเหตุที่รถชนกันเป็นเพราะความประมาทของผู้ขับรถทั้งสองฝ่ายโดยคนขับรถของโจทก์เป็นฝ่ายที่ก่อให้เกิดความประมาทมากกว่า ค่าเสียหายของโจทก์จึงตกเป็นพับ
ผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บและทายาทของผู้โดยสารที่เสียชีวิต มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายโจทก์ผู้กระทำละเมิดโดยตรง การที่จำเลยจ่ายค่าเสียหายไป โดยไม่มีกฎหมายให้สิทธิที่จะเรียกคืนจากผู้กระทำละเมิด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่จ่ายไปเองจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถและการแบ่งความรับผิด ความเสียหายต่อผู้โดยสารและการเรียกร้องค่าเสียหาย
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน รถของโจทก์และรถของจำเลยต่างแล่นเร็วจะสวนกันบริเวณทางโค้งโดยรถของโจทก์อยู่โค้งด้านนอก แต่รถของโจทก์แล่นล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้าไปชนกับรถของจำเลย ซึ่งแล่นอยู่ในเส้นทางของตนโดยเปิดไฟหน้าซ้ายข้างเดียว ถือได้ว่าเหตุที่รถขนกันเป็นเพราะความประมาทของผู้ขับรถทั้งสองฝ่ายโดยคนขับรถของโจทก์เป็นฝ่ายที่ก่อให้เกิดความประมาทมากกว่า ค่าเสียหายของโจทก์จึงตกเป็นพับ
ผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บและทายาทของผู้โดยสารที่เสียชีวิต มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายโจทก์ผู้กระทำละเมิดโดยตรง การที่จำเลยจ่ายเสียหายไปโดยไม่มีกฎหมายให้สิทธิที่จะเรียกคืนจากผู้กระทำละเมิด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่จ่ายไปเองจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท: การซ่อมแซมบ้านโดยภรรยาที่ไม่จดทะเบียนสมรส ไม่ทำให้มีกรรมสิทธิ์ร่วม
บ้านพิพาทเป็นบ้านที่ ป. มีมาแต่เดิมก่อนสมรสอยู่กินกับโจทก์ ป. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวการที่โจทก์อยู่กินกับ ป.ฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส แม้จะได้ออกเงินซ่อมแซมทำนุบำรุงบ้านพิพาทก็เพื่อให้อยู่อาศัยสะดวกสบายยิ่งขึ้นเท่านั้น หาทำให้โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซ่อมแซมบ้านของผู้อื่นโดยไม่ได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ทำให้เกิดกรรมสิทธิ์ร่วม
บ้านพิพาทเป็นบ้านที่ ป. มีมาแต่เดิมก่อนสมรสอยู่กินกับโจทก์ ป. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวการที่โจทก์อยู่กินกับ ป.ฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส แม้จะได้ออกเงินซ่อมแซมทำนุบำรุงบ้านพิพาทก็เพื่อให้อยู่อาศัยสะดวกสบายยิ่งขึ้นเท่านั้น หาทำให้โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน ไม่ถือเป็นการประมาท หากไม่มีเวลาตัดสินใจ
ขณะที่ อ. ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์มาตามถนนตามปกติได้มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ออกจากซอยด้านซ้ายมือตัดหน้ารถยนต์ที่ อ.ขับโดยกระชั้นชิด อ.จึงหักหลบเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ที่โจทก์ขับสวนทางมา ดังนี้ถือไม่ได้ว่า อ.ขับรถด้วยความประมาท เพราะ อ.ไม่มีโอกาสที่ทันได้คิดหรือตัดสินใจว่าจะหักหลบไปทางซ้ายหรือทางขวา เหตุที่เกิดขึ้นจึงมิใช่เพราะความประมาทของ อ.จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของ อ.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหลบรถตัดหน้า: นายจ้างไม่ต้องรับผิดหากลูกจ้างไม่ได้ประมาท
ขณะที่ อ.ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์มาตามถนนตามปกติได้มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ออกจากซอยด้านซ้ายมือตัดหน้ารถยนต์ที่ อ.ขับโดยกระชั้นชิด อ.จึงหักหลบเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ที่โจทก์ขับสวนทางมา ดังนี้ถือไม่ได้ว่า อ.ขับรถด้วยความประมาทเพราะอ.ไม่มีโอกาสที่ทันได้คิดหรือตัดสินใจว่าจะหักหลบไปทางซ้ายหรือทางขวา เหตุที่เกิดขึ้นจึงมิใช่เพราะความประมาทของ อ.จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของ อ.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงในสัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, และสิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินเป็นหนังสือ เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาย่อมเห็นได้จากเอกสารหรือหนังสือนั้น ถ้าข้อความในสัญญาชัดแล้วย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการตีความการแสดงเจตนา และจะนำสืบพยานบุคคลว่าคู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าข้อความในสัญญาหาได้ไม่
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปี ย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า "การต่ออายุสัญญาเช่า ผู้เช่าย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี" เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลย มิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: เจตนาคู่สัญญา, การต่ออายุ, และสิทธิในสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินเป็นหนังสือ เจตนาอันแท้จริง ของคู่สัญญาย่อมเห็นได้จากเอกสารหรือหนังสือนั้น ถ้าข้อความในสัญญาชัดแล้วย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการ ตีความการแสดงเจตนา และจะนำสืบพยานบุคคลว่าคู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าข้อความในสัญญาหาได้ไม่
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปีย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะ ต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า 'การต่ออายุสัญญาเช่าผู้เช่า ย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี' เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการ ต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยมิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่ จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้ จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกำหนดชำระหนี้ และผลกระทบต่อสิทธิในการริบเงินตามสัญญาจะซื้อขาย
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อ 2 กำหนดว่าโจทก์ผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินค่าซื้อที่ดินโดยแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 3 ชำระในวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 และข้อ 5 กำหนดว่า 'ผู้จะซื้อให้สัญญาว่า ถ้าผู้จะซื้อ ผิดนัดการชำระเงินตามที่ระบุไว้ในข้อ 2. ผู้จะซื้อยินดี ให้ผู้จะขายถือว่าผู้จะซื้อผิดสัญญา และยินดีให้ผู้จะขาย ริบเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด โดยมิต้องบอกกล่าวใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้สะดุดหยุดลงด้วย'. การ ที่จำเลยยินยอมให้โจทก์แก้วันที่ในเช็คซึ่งชำระเงินงวดที่ 3 จากวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 เป็นวันที่ 10 กันยายน 2522 เป็นการตกลงเลื่อนกำหนดการชำระเงินออกไปโดยกำหนดวันชำระเงินใหม่ไว้แน่นอนเช่นเดิมไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเคร่งครัดตามกำหนดการชำระเงิน ความตกลงเช่น นี้แปลได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงกันเปลี่ยนกำหนดชำระเงินงวดที่ 3 ในข้อ 2 แห่งสัญญาเสียใหม่เท่านั้นหากระทบกระทั่ง ถึงสัญญาข้อ 5 ไม่ ดังนั้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะเงินในบัญชีของโจทก์ไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับชำระเงินงวดที่ 3 ตามกำหนดใหม่ จึงถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วและสัญญาเป็น อันเลิกกันตามสัญญาข้อ 5 โดยหาต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา อีกไม่ และจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกำหนดชำระเงินในสัญญาจะซื้อขาย และผลของการผิดนัดชำระเงินตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อ 2 กำหนดว่า โจทก์ผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินค่าซื้อที่ดินโดยแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 3 ชำระในวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 และข้อ 5 กำหนดว่า" ผู้จะซื้อให้สัญญาว่า ถ้าผู้จะซื้อผิดนัดการชำระเงินตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ผู้จะซื้อยินดีให้ผู้จะขายถือว่าผู้จะซื้อผิดสัญญา และยินดีให้ผู้จะขายริบเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด โดยมิต้องบอกกล่าวใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้สะดุดหยุดลงด้วย" การที่จำเลยยินยอมให้โจทก์แก้วันที่ในเช็คซึ่งชำระเงินงวดที่ 3 จากวันที่ 10 กรกฎาคม 2522 เป็นวันที่10 กันยายน 2522 เป็นการตกลงเลื่อนกำหนดการชำระเงินออกไปโดยกำหนดวันชำระเงินใหม่ไว้แน่นอนเช่นเดิมไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีไม่ถือเคร่งครัดตามกำหนดการชำระเงิน ความตกลงเช่นนี้แปลได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงกันเปลี่ยนกำหนดชำระเงินงวดที่ 3 ในข้อ 2 แห่งสัญญาเสียใหม่เท่านั้นหากระทบกระทั่งถึงสัญญาข้อ 5 ไม่ ดังนั้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของโจทก์ไม่พอจ่าย เป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับชำระเงินงวดที่ 3 ตามกำหนดใหม่ จึงถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 มีผลทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วและสัญญาเป็นอันเลิกกันตามสัญญาข้อ 5 โดยหาต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาอีกไม่ และจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน
of 43