พบผลลัพธ์ทั้งหมด 430 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 แม้ไม่มีการมอบตั๋วสัญญาใช้เงิน
โจทก์และจำเลยต่างมีความผูกพันในอันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่กันและกัน เมื่อหนี้ของทั้งสองฝ่ายต่างถึงกำหนดแล้ว ย่อมจะหักกลบลบกันได้ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่หรือฟ้องแย้ง เพราะโจทก์มีความผูกพันจะต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามสัญญาค้ำประกันส่วนจำเลยก็มีความผูกพันจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งการที่มิได้มีการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินตามสัญญาค้ำประกัน ก็มิใช่เป็นเครื่องแสดงเจตนาของคู่กรณีว่า จะมิให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 มาใช้บังคับจำเลยจึงมีสิทธิที่จะหักกลบลบกันได้ตามจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ ตั้งแต่เวลาที่หนี้ทั้งสองฝ่ายอาจหักกลบลบกันได้เป็นครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันระบุความผิดเช็คไม่ชัดเจน ฟ้องไม่สมบูรณ์ แม้มีหลักฐานในชั้นไต่สวน
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น เกิดขึ้นในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยบรรยายฟ้องว่า "......เมื่อวันที่ .... พฤษภาคม 2523 (ไม่ได้ระบุวันที่) โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน" ถือไม่ได้ว่าเป็นการระบุวันกระทำผิดหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้น จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยบรรยายฟ้องว่า "......เมื่อวันที่ .... พฤษภาคม 2523 (ไม่ได้ระบุวันที่) โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน" ถือไม่ได้ว่าเป็นการระบุวันกระทำผิดหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้น จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุวันกระทำความผิดในคดีเช็ค: จำเป็นต้องระบุวันที่ชัดเจน ไม่สามารถระบุเพียงเดือนและปี
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น เกิดขึ้นในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยบรรยายฟ้องว่า "......เมื่อวันที่ .... พฤษภาคม 2523(ไม่ได้ระบุวันที่) โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคาปฏิเสธการจ่ายเงิน" ถือไม่ได้ว่าเป็นการระบุวันกระทำผิดหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้น จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยบรรยายฟ้องว่า "......เมื่อวันที่ .... พฤษภาคม 2523(ไม่ได้ระบุวันที่) โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคาปฏิเสธการจ่ายเงิน" ถือไม่ได้ว่าเป็นการระบุวันกระทำผิดหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้น จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจากการซื้อขายโดยสุจริตและจดทะเบียน: การคุ้มครองบุคคลภายนอก
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทเป็นเวลากว่า 10 ปีด้วยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่สิทธิของจำเลยยังมิได้มีการจดทะเบียน จึงต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก อ. โดยสุจริตและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทไว้จาก อ. โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่และการที่ศาลกำหนดประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยนั้นย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาที่ว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจากการซื้อขายโดยสุจริต: ผลกระทบจากการจดทะเบียน
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทเป็นเวลากว่า 10 ปี ด้วยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่สิทธิของจำเลยยังมิได้มีการจดทะเบียน จึงต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก อ. โดยสุจริตและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทไว้จาก อ. โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่ และการที่ศาลกำหนดประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยนั้นย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาที่ว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความ แม้เจ้าของที่ดินยังไม่ได้มีกรรมสิทธิ์นาน 10 ปี แต่ใช้ทางต่อเนื่องโดยเปิดเผย
แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์มายังไม่ถึงสิบปี แต่การที่โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกสู่ซอยและถนนสาธารณะมาตั้งแต่โจทก์ยังเป็นผู้อาศัยอยู่กับเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม จนกระทั่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งทักท้วงและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใดเมื่อนับระยะเวลาทั้งสองตอนติดต่อกันก็เกินกว่าสิบปี เส้นทางดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยทางอายุความได้สิทธิแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 แล้ว(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 113/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความ แม้เจ้าของที่ดินยังไม่ถึงสิบปี หากใช้ทางต่อเนื่องโดยเปิดเผยและไม่มีการโต้แย้ง
แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์มายังไม่ถึงสิบปี แต่การที่โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกสู่ซอยและถนนสาธารณะมาตั้งแต่โจทก์ยังเป็นผู้อาศัยอยู่กับเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม จนกระทั่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งทักท้วงและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใด เมื่อนับระยะเวลาทั้งสองตอนติดต่อกันก็เกินกว่าสิบปี เส้นทางดังกล่าว จึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยทางอายุความได้สิทธิแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 แล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 113/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในเคหสถาน vs. ลักทรัพย์ธรรมดา: การได้รับอนุญาตเข้าบ้านมีผลต่อฐานความผิด
วันเกิดเหตุผู้เสียหายมอบกุญแจบ้านและกุญแจห้องนอนให้จำเลยกับพวกเข้าไปเดินสายไฟในบ้าน และจำเลยกับพวกทำไฟรวมกันอยู่ในห้องนอน ถือได้ว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องนอนด้วย การที่จำเลยลักเอาสายสร้อยข้อมือที่วางอยู่ที่โต๊ะเครื่องแป้งในห้องนอนไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดา มิใช่ลักทรัพย์ในเคหสถาน และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในเคหสถาน vs. ลักทรัพย์ธรรมดา: การได้รับอนุญาตเข้าไปในสถานที่กำหนด
วันเกิดเหตุผู้เสียหายมอบกุญแจบ้านและกุญแจห้องนอนให้จำเลยกับพวกเข้าไปเดินสายไฟในบ้าน และจำเลยกับพวกทำไฟรวมกันอยู่ในห้องนอน ถือได้ว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องนอนด้วยการที่จำเลยลักเอาสายสร้อยข้อมือที่วางอยู่ที่โต๊ะเครื่องแป้งในห้องนอนไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดา มิใช่ลักทรัพย์ในเคหสถาน และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการบังคับคดี: โจทก์ต้องบังคับทรัพย์จำเลยที่ 1-2 ก่อน แม้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาเดิมจำเลยที่ 3 ให้การต่อสู้คดี แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 3 แถลงสละข้อต่อสู้ทั้งหมด รับว่าฟ้องโจทก์เป็นความจริง ขอให้โจทก์บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่2 ก่อน หากไม่มีทรัพย์หรือมีไม่พอก็ให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 โจทก์แถลงไม่ขัดข้อง ดังนี้ จึงเท่ากับเป็นการตกลงในเรื่องการบังคับคดีไว้ล่วงหน้าก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 3 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแต่ถ้าจะต้องมีการบังคับคดี โจทก์ก็ผูกพันที่จะต้องบังคับเอาแก่จำเลยที่1 ที่ 2 ก่อนตามข้อตกลง และชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนให้ปรากฏเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีทรัพย์สินที่โจทก์สามารถจะบังคับเอาชำระหนี้ได้หรือไม่