คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสาท บุณยรังษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 430 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการบังคับคดีก่อนมีคำพิพากษา: โจทก์ต้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1-2 ก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เดิมจำเลยที่ 3 ให้การต่อสู้คดี แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 3 แถลงสละข้อต่อสู้ทั้งหมด รับว่าฟ้องโจทก์เป็นความจริง ขอให้โจทก์บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อน หากไม่มีทรัพย์หรือมีไม่พอก็ให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 โจทก์แถลงไม่ขัดข้อง ดังนี้ จึงเท่ากับเป็นการตกลงในเรื่องการบังคับคดีไว้ล่วงหน้าก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 3 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แต่ถ้าจะต้องมีการบังคับคดี โจทก์ก็ผูกพันที่จะต้องบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามข้อตกลง และชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนให้ปรากฏเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีทรัพย์สินที่โจทก์สามารถจะบังคับเอาชำระหนี้ได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย, ความรับผิดของผู้รับประกันภัยจำกัดเฉพาะผู้เอาประกันภัย
ตามสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อเท็จจริงได้ความว่าห้าง ฯ พ. เป็นผู้เอาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เช่าซื้อไปโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยแทนห้าง ฯ พ. ในระหว่างระยะเวลาประกัน ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 โดยประมาท ดังนี้ แม้ห้าง ฯ พ. จะเป็นเจ้าของใบอนุญาตประกอบการขนส่งก็หามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุที่รถเกิดชนกันอันจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ ผู้ที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์คือจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 มิใช่ผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกัน หาทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากผู้รับผิดคือบุคคลอื่น
ตามสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกข้อเท็จจริงได้ความว่าห้างๆ พ. เป็นผู้เอาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เช่าซื้อไปโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยแทนห้างฯ พ. ในระหว่างระยะเวลาประกัน ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 โดยประมาท ดังนี้ แม้ห้างฯ พ. จะเป็นเจ้าของใบอนุญาตประกอบการขนส่งก็หามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุที่รถเกิดชนกันอันจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ ผู้ที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์คือจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 มิใช่ผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกัน หาทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยไปด้วยไม่จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ศาลมีอำนาจพิจารณาความประมาทของผู้ไม่ถูกฟ้องในคดีอาญา
รถ 2 คันชนกัน จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาในข้อหาว่ากระทำผิด พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ธ.ผู้ขับรถอีกคันหนึ่งมิใช่ผู้เสียหายในคดีดังกล่าวคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพัน ธ. ในคดีแพ่ง ศาลมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า ธ. เป็นฝ่ายประมาท และประมาทมากน้อยกว่าจำเลยเพียงใดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่21 พฤศจิกายน 2521หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือนๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 130(6)ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52 และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86 รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายน มิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระ เงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือน ๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6) ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10 ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากโมฆะ การครอบครองทำกิน และสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์ขายฝากที่พิพาทไว้กับจำเลย และมอบให้จำเลยครอบครองทำกินในที่พิพาท โดยทำสัญญาขายฝากกันเองมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน สัญญาขายฝากจึงตกเป็นโมฆะกำหนดเวลาไถ่เขียนขึ้นภายหลังโดยโจทก์ไม่รู้เห็น การที่จำเลยเคยบอกให้โจทก์ซื้อคืน แต่โจทก์ก็ไม่ซื้อและโจทก์ไม่เคยมาพูดถึงเรื่องที่พิพาทเลย ก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ แม้จำเลยจะทำกินนานเพียงใด หรือเป็นผู้เสียภาษีสำหรับที่พิพาทก็หาได้สิทธิครอบครองไม่ เพราะถือว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม: การที่คำให้การจำเลยไม่ระบุรายละเอียดข้อบกพร่องของคำฟ้อง ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำให้การจำเลยมิได้กล่าวว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่ชัดแจ้งไม่แน่นอนขาดสารสำคัญและขาดรายละเอียดในข้อไหนอย่างไรจึงเป็นคำให้การที่ไม่แสดงเหตุให้ชัดแจ้ง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องฟ้องเคลือบคลุม แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม: จำเลยต้องระบุรายละเอียดข้อบกพร่องของคำฟ้องชัดเจน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ยกขึ้นว่ากันในชั้นต้น
คำให้การจำเลยมิได้กล่าวว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่ชัดแจ้ง ไม่แน่นอนขาดสารสำคัญและขาดรายละเอียดในข้อไหนอย่างไร จึง เป็นคำให้การที่ไม่แสดงเหตุให้ชัดแจ้ง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องฟ้องเคลือบคลุม แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบธรรม: ภยันตรายใกล้จะถึงจากการถูกทำร้ายด้วยขวาน
แม้จำเลยและผู้ตายจะได้โต้เถียงกันก่อน แต่การโต้เถียงก็หาใช่เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายสมัครใจทำร้ายซึ่งกันและกันไม่ การที่ผู้ตายจะใช้ขวานฟันจำเลยจึงเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง เมื่อจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายไปเพียงทีเดียว แม้จะถูกที่สำคัญก็เป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการฉุกเฉินเพื่อให้ตนเองพ้นอันตราย จำเลยย่อมไม่มีโอกาสไตร่ตรองว่าอวัยวะส่วนใดสำคัญหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ
of 43