พบผลลัพธ์ทั้งหมด 430 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อน้ำมันดีเซลเกินปริมาณที่กำหนดหลังมีคำสั่งนายกฯ ต้องได้รับอนุญาต หากไม่มีหลักฐานการซื้อก่อนคำสั่งถือเป็นความผิด
แม้จำเลยจะเคยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดที่ประกาศไว้ใน คำสั่งของนายกรัฐมนตรีมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็เป็นการซื้อโดยได้รับอนุญาตจากนายอำเภอแห่งท้องที่ และเป็นการซื้อภายหลังจากที่คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในเรื่องนี้ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงมิใช่เป็นการซื้อน้ำมันดีเซลตามปกติเช่นที่เคยซื้อ ตามความหมายในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ข้อ19(4) การที่จำเลยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดในคดีโดยไม่รับอนุญาต จึงเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกรับเงินเพื่อจูงใจผู้พิพากษาให้พิพากษายกฟ้อง ถือเป็นกรรมเดียวกัน
จำเลยเรียกเงินจาก ป. กับพวก โดยอ้างว่าจะนำไปให้ผู้พิพากษาเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจผู้พิพากษาให้พิพากษายกฟ้องคดีอาญาซึ่งญาติของ ป. กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลย ต่อมาเมื่อ ป. กับพวกรวบรวมเงินตามจำนวนที่จำเลยเรียกร้องครบแล้ว จึงได้มอบให้จำเลยรับไป ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเรียกและรับเงินซึ่งเป็นเจตนาอันเดียวกันมาตั้งแต่แรกและเป็นการกระทำต่อเนื่องในคราวเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกรับเงินเพื่อจูงใจผู้พิพากษาถือเป็นกรรมเดียวกัน
จำเลยเรียกเงินจาก ป. กับพวก โดยอ้างว่าจะนำไปให้ผู้พิพากษาเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจผู้พิพากษาให้พิพากษายกฟ้องคดีอาญา ซึ่งญาติของ ป. กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลย ต่อมาเมื่อ ป. กับพวกรวบรวมเงินตามจำนวนที่จำเลยเรียกร้องครบแล้ว จึงได้มอบให้จำเลยรับไป ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเรียกและรับเงินซึ่งเป็นเจตนาอันเดียวกันมาตั้งแต่แรกและเป็นการกระทำต่อเนื่องในคราวเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง การอ้างเหตุผลจากคดีอื่นมาลบล้างมิได้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีหลังซึ่งยกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยและผู้อื่น ย่อมผูกพันโจทก์จำเลยในคดีหลังกล่าวคือโจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับมรดกเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่ว่ากล่าวกันในคดีหลังซึ่งเป็นทรัพย์คนละส่วนกับคดีนี้เท่านั้น จะถือเอาคำพิพากษาในคดีหลังไปลบล้างคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ที่พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม เพื่อมิให้ศาลบังคับจำเลยในคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเช็คเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียว แม้ผู้ส่งมอบเช็คจะมีข้อตกลงกับผู้รับเช็คก่อนหน้านี้
การที่โจทก์ส่งมอบเช็คพิพาทชำระหนี้ให้แก่ ก. ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบเช็คให้แก่ ก. ไปแล้วทั้งฉบับ ก.จึงเป็นผู้ทรงเช็คนั้นทั้งฉบับ ส่วนที่โจทก์มีข้อตกลงกับ ก. อย่างไร (โจทก์อ้างว่าชำระหนี้ไม่เต็มจำนวนเงินในเช็ค) นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ ก. เมื่อ ก.เป็นผู้ที่นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงเป็นผู้เสียหายแต่ผู้เดียว โจทก์หาใช่ผู้เสียหายด้วยไม่
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 671/2516 เทียบเคียง)
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 671/2516 เทียบเคียง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบเช็คชำระหนี้ทำให้ผู้รับเช็คเป็นผู้ทรงเช็คแต่ผู้เดียว โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย
การที่โจทก์ส่งมอบเช็คพิพาทชำระหนี้ให้แก่ ก. ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบเช็คให้แก่ ก. ไปแล้วทั้งฉบับ ก.จึงเป็นผู้ทรงเช็คนั้นทั้งฉบับ ส่วนที่โจทก์มีข้อตกลงกับ ก. อย่างไร(โจทก์อ้างว่าชำระหนี้ไม่เต็มจำนวนเงินในเช็ค) นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ ก. เมื่อ ก.เป็นผู้ที่นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงเป็นผู้เสียหายแต่ผู้เดียวโจทก์หาใช่ผู้เสียหายด้วยไม่(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 671/2516 เทียบเคียง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ผู้เช่า: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีค่าเช่าต่ำกว่า 2,000 บาท และการวินิจฉัยข้อกฎหมายชอบด้วยเหตุผล
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะที่ยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่มีข้อตกลงให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ทราบคำบอกกล่าวของโจทก์ที่ไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์มีกำหนด 12 ปี โดยจำเลยที่ 1 ยกบ้านให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินของโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ และจำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทำนองเดียวกันอีกไม่ได้
จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหลักฐานการเช่าและไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาท โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ออกไปจากที่พิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมออก จึงเป็นการอยู่โดยละเมิด
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่มีข้อตกลงให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ทราบคำบอกกล่าวของโจทก์ที่ไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์มีกำหนด 12 ปี โดยจำเลยที่ 1 ยกบ้านให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินของโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ และจำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทำนองเดียวกันอีกไม่ได้
จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหลักฐานการเช่าและไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาท โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ออกไปจากที่พิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมออก จึงเป็นการอยู่โดยละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ผู้เช่า: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม-ศาลวินิจฉัยชอบแล้ว
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าใน ขณะที่ยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่มีข้อตกลงให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ทราบคำบอกกล่าวของโจทก์ที่ไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์มีกำหนด 12 ปี โดยจำเลยที่ 1 ยกบ้านให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินของโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ และจำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทำนองเดียวกันอีกไม่ได้
จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหลักฐานการเช่า และไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาท โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ออกไปจากที่พิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมออก จึงเป็นการอยู่โดยละเมิด
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่มีข้อตกลงให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ทราบคำบอกกล่าวของโจทก์ที่ไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์มีกำหนด 12 ปี โดยจำเลยที่ 1 ยกบ้านให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินของโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ และจำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทำนองเดียวกันอีกไม่ได้
จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหลักฐานการเช่า และไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาท โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ออกไปจากที่พิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมออก จึงเป็นการอยู่โดยละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กฎหมายเวนคืนก่อนรัฐธรรมนูญ 2521 ไม่กำหนดระยะเวลาใช้ประโยชน์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
การที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการพ.ศ.2516 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 อันเป็นกฎหมายแม่บท มิได้มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาการใช้ อสังหาริมทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ที่เวนคืนไว้นั้น หาใช่เป็นเรื่องที่ พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับมีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ หากแต่เป็นเรื่องที่ยังไม่มีบทบัญญัติ กำหนดระยะเวลาการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนในกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับที่กล่าวมาแล้วจึงหาได้ตกเป็นโมฆะไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 ก็ดีหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการพ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 ก็ดีหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการพ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กฎหมายเวนคืนก่อนรัฐธรรมนูญ ไม่มีกำหนดระยะเวลาใช้ที่ดิน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เจ้าของไม่มีสิทธิเรียกคืน
การที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลง ตำบลราชาเทวะ และตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2516 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 อันเป็นกฎหมายแม่บท มิได้มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาการใช้อสังหาริมทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ที่เวนคืนไว้นั้น หาใช่เป็นเรื่องที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ หากแต่เป็นเรื่องที่ยังไม่มีบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนในกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับที่กล่าวมาแล้วจึงหาได้ตกเป็นโมฆะไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ก็ดี หรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคห้า จะได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในเวลาที่กำหนดในกฎหมายต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทก็ตาม แต่โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ก็ดี หรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลบางโฉลงตำบลราชาเทวะและตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2516 ก็ดี เป็นกฎหมายซึ่งออกใช้บังคับก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะเรียกคืนซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ดังนั้นถึงแม้จะมิได้มีการใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามวัตถุประสงค์ โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 และ 8/2525)