คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสาท บุณยรังษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 430 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกโดยเจ้าของร่วม: การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดไม่ใช่การบังคับคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดก ระหว่างพิจารณาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ต่อมาการแบ่งทรัพย์บางรายการไม่อาจตกลงกันได้ โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งกันตามส่วน การยึดทรัพย์ในกรณีนี้มิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากแต่เป็นการร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสองฉะนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าฯ มิอาจริบทรัพย์สินที่ใช้ในการดำรงชีพได้
น้ำตาลทรายอันเป็นสินค้าควบคุมตามประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดที่จำเลยไม่นำออกจำหน่าย หรือเสนอขายตามปกติ และปฏิเสธไม่ยอมจำหน่ายนั้น หาใช่ทรัพย์สินที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด อันพึงจะต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดีสินค้าควบคุม: น้ำตาลทรายไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
น้ำตาลทรายอันเป็นสินค้าควบคุมตามประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดที่จำเลยไม่นำออกจำหน่าย หรือเสนอขายตามปกติ และปฏิเสธไม่ยอมจำหน่ายนั้น หาใช่ทรัพย์สินที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด อันพึงจะต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความ - สิทธิครอบครองที่ดิน - การยกที่ดินให้ผู้อื่น
ในคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนผู้มีชื่อ หลังจากผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์ครอบครองแล้ว จำเลยก็มิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทอีกเลย ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยจะมาโต้เถียงในคดีนี้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาท โดยครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของอีกไม่ได้ และจะยกระยะเวลา 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความ การครอบครองที่ดินต่อเนื่อง และการยกสิทธิครอบครอง
ในคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง โดยฟังว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนผู้มีชื่อ หลังจากผู้มีชื่อยกที่พิพาทให้โจทก์ครอบครองแล้วจำเลยก็มิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทอีกเลย ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยจะมาโต้เถียงในคดีนี้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาท โดยครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของอีกไม่ได้ และจะยกระยะเวลา 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับโจทก์ชาวต่างชาติ และการพิจารณาจำนวนเงินที่เหมาะสม
โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ มิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยฟ้องว่าจำเลยทำละเมิด จำเลยจึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะคดีเพราะศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 100,269,743 บาท ซึ่งหากโจทก์แพ้คดี และศาลชั้นต้นให้โจทก์ชดใช้ค่าทนายความเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราที่กฎหมายกำหนดคือร้อยละ 2 ครึ่ง โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก็จะเป็นเงินค่าทนายความถึง 2,500,000 บาทเศษที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 750,000 บาท จึงมิใช่จำนวนที่สูงเกินสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสันนิษฐานภาวะล้มละลายจากหนังสือทวงถามหนี้และการไม่ต่อสู้คดี
ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้จำนวนเกินกว่า 30,000 บาทแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โดยจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8(9) ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานการเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจากหนังสือทวงถามหนี้
ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้จำนวนเกินกว่า 30,000 บาทแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โดยจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดิน: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะรับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
จ. ทำหนังสือสัญญาจะซื้อที่ดินจาก ป. แล้วร้องขอแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยในนามของ ป. หลังจากนั้น จ. นำที่ดินดังกล่าวมาจัดสรรขายในนามของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงทุนปลูกบ้านลงในที่ดินแต่ละแปลงเป็นการแสดงออกให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายทั่วไปว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเมื่อโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมด้วยบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระเงินครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบกุญแจบ้านที่โจทก์ซื้อแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน
จำเลยที่ 2 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแทนจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แม้จำเลยที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทไม่เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คดีเดิมจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ได้ฟ้องขับไล่ ส. ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 3 ในคดีนี้พิพาทกันอยู่ โจทก์ในคดีนี้ได้ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวและได้ร้องขอให้นำคดีดังกล่าวมาพิจารณาพิพากษารวมกับคดีนี้ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะการร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 ดังนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 คดีนี้หรือไม่จำเลยที่ 2 คดีนี้มีอำนาจโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 3 คดีนี้หรือไม่จึงไม่ได้รับการพิจารณาในคดีดังกล่าว ประเด็นในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกับคดีดังกล่าว ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะรับโอนโดยมีค่าตอบแทนและสุจริต
จ. ทำหนังสือสัญญาจะซื้อที่ดินจาก ป. แล้วร้องขอแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยในนามของ ป. หลังจากนั้นจ. นำที่ดินดังกล่าวมาจัดสรรขายในนามของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงทุนปลูกบ้านลงในที่ดินแต่ละแปลงเป็นการแสดงออกให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายทั่วไปว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเมื่อโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมด้วยบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระเงินครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบกุญแจบ้านที่โจทก์ซื้อแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน
จำเลยที่ 2 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแทนจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แม้จำเลยที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่2 จำเลยที่ 3 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทไม่เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คดีเดิมจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ได้ฟ้องขับไล่ ส. ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 3ในคดีนี้พิพาทกันอยู่ โจทก์ในคดีนี้ได้ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวและได้ร้องขอให้นำคดีดังกล่าวมาพิจารณาพิพากษารวมกับคดีนี้ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะการร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 ดังนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 คดีนี้หรือไม่จำเลยที่ 2คดีนี้มีอำนาจโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 3 คดีนี้หรือไม่จึงไม่ได้รับการพิจารณาในคดีดังกล่าว ประเด็นในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกับคดีดังกล่าว ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
of 43