พบผลลัพธ์ทั้งหมด 430 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารโดยเจ้าพนักงานพิสูจน์ที่ดิน โดยใช้โอกาสจากหน้าที่
จำเลยเป็นพนักงานพิสูจน์ มีหน้าที่ในการพิสูจน์การครอบครองที่ดินแล้วกรอกข้อความในแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสารดังกล่าวจึงอยู่ในความดูแลครอบครองของจำเลยก่อนส่งไปยังศูนย์หรือผู้ควบคุมสายเมื่อเอกสารนี้ถูกปลอมลายมือชื่อของ จ.ผู้มีหน้าที่ปกครองท้องที่และระวังแนวเขต โดยจำเลยมีโอกาสกระทำเองหรือร่วมกับจำเลยอื่นกระทำขึ้น จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 บัญญัติให้นายอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งให้ผู้ซึ่งได้รับการอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ออกไปพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์แทนตนในการเดินสำรวจเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์. และในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายนั้นให้เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา จำเลยเป็นผู้ได้รับคำสั่งจากนายอำเภอให้เป็นพนักงานพิสูจน์ มีหน้าที่ในการพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดิน จึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 บัญญัติให้นายอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งให้ผู้ซึ่งได้รับการอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ออกไปพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์แทนตนในการเดินสำรวจเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์. และในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายนั้นให้เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา จำเลยเป็นผู้ได้รับคำสั่งจากนายอำเภอให้เป็นพนักงานพิสูจน์ มีหน้าที่ในการพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดิน จึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตเหมืองแร่ตามกฎหมายแร่ ไม่รวมพื้นที่เก็บขังน้ำขุ่นข้น/มูลดินทรายนอกประทานบัตร การเก็บแร่ในพื้นที่ดังกล่าวจึงเป็นความผิด
เขตเหมืองแร่ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 4หมายความถึงเขตพื้นที่ซึ่งกำหนดในประทานบัตรชั่วคราวหรือประทานบัตรเท่านั้น หาหมายรวมถึงบริเวณพื้นที่ซึ่งใช้เป็นที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายด้วยไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยมีแร่จำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเก็บไว้ในเขตซึ่งเป็นที่ทิ้งมูลดินทรายนอกเขตพื้นที่ในประทานบัตร จึงมีความผิดตามมาตรา 105
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางเมื่อจำเลยที่ 4 พ้นผิด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 4 และให้ริบรถยนต์ของกลางศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่ริบรถยนต์ของกลางส่วนการยกฟ้องจำเลยที่ 4 คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางคดีนี้มีส่วนรู้เห็นในการใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดของจำเลยอื่น ขอให้ริบของกลางนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง: เมื่อจำเลยยกฟ้อง การฎีกาเรื่องความเกี่ยวข้องกับความผิดของผู้อื่นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 4 และให้ริบรถยนต์ของกลางศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่ริบรถยนต์ของกลางส่วนการยกฟ้องจำเลยที่ 4 คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วโจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางคดีนี้มีส่วนรู้เห็นในการใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดของจำเลยอื่น ขอให้ริบของกลางนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานทุจริต - การใช้บทกฎหมายเฉพาะ (มาตรา 147) ย่อมตัดบททั่วไป (มาตรา 157) และผลของการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การกระทำของจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และความผิดฐานสนับสนุนความผิดนั้น ศาลใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
การกระทำของจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี 6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี 6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการวินิจฉัยข้อเท็จจริง: ศาลไม่อนุญาตฎีกาเมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต่างกัน
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มิได้มาเบิกความด้วยตนเอง มีแต่ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความ จึงเป็นพยานบอกเล่า ไม่อาจรับฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหายทั้งเป็นความเสียหายที่ไกลเกินคาดคิดโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจากการที่มูลนิธิชินนะปูโตอนุสรณ์ถูกเพิกถอนใบอนุญาตโจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยสั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่มีเจตนาทุจริต จึงเป็นการพิพากษายืนยกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงต่างกัน ก็ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสมรส: การขอเพิ่มชื่อในโฉนด
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยที่มีเอกสารคือโฉนดเป็นสำคัญ. โจทก์ซึ่งเป็นภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในโฉนดนั้นก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4016-4020/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับโอนที่ดินที่มีผู้เช่าเดิม ผู้รับโอนรู้เห็นสิทธิผู้เช่าแต่เพิ่งมาฟ้องขับไล่
ธ.เป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวซึ่งผู้ก่อสร้างตึกแถวดังกล่าวได้ยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ ธ. โดยผู้ก่อสร้างตึกแถวมีสิทธิจัดหาคนเช่าและเรียกเก็บเงินค่าก่อสร้างจากผู้เช่า แต่ให้ผู้เช่าทำหนังสือสัญญาเช่ากับ ธ. และจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 15 ปี ต่อมา ธ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ ล. และ ว. บุตรโจทก์ หลังจากนั้นธ.ได้ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจำเลยโดยจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และ ธ.ยังเก็บค่าเช่าต่อมาอีก 4 ปีเศษล. และ ว. จึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยและถอนฟ้องแล้วโอนที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดา ดังนี้แสดงว่า ล. และ ว. กับโจทก์ได้รับรู้ถึงสิทธิของผู้ก่อสร้างตึกแถวและสิทธิตามสัญญาเช่าของจำเลยตลอดมา เพิ่งจะมาเปลี่ยนใจหาทางบิดพลิ้วในภายหลัง อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จะอ้างความไม่สุจริตมาฟ้องขับไล่จำเลยมิได้
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4016-4020/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้โอนสิทธิและการฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่รับรู้สิทธิเดิม
ธ.เป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวซึ่งผู้ก่อสร้างตึกแถวดังกล่าวได้ยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ ธ. โดยผู้ก่อสร้างตึกแถวมีสิทธิจัดหาคนเช่าและเรียกเก็บเงินค่าก่อสร้างจากผู้เช่าแต่ให้ผู้เช่าทำหนังสือสัญญาเช่ากับ ธ.และจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด15ปีต่อมาธ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ ล. และ ว.บุตรโจทก์หลังจากนั้นธ. ได้ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจำเลยโดยจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และ ธ.ยังเก็บค่าเช่าต่อมาอีก 4 ปีเศษ ล. และ ว. จึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยและถอนฟ้องแล้วโอนที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดา ดังนี้แสดงว่า ล. และ ว. กับโจทก์ได้รับรู้ถึงสิทธิของผู้ก่อสร้างตึกแถวและสิทธิตามสัญญาเช่าของจำเลยตลอดมาเพิ่งจะมาเปลี่ยนใจหาทางบิดพลิ้วในภายหลังอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จะอ้างความไม่สุจริตมาฟ้องขับไล่จำเลยมิได้
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน