พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน, ความผิดฐานปล้นทรัพย์, ตัวการร่วม, ลดโทษตามมาตรา 76/78
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494มาตรา 8(1) กำหนดให้ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจเช่นเดียวกับศาลจังหวัดในคดีอาญาที่มีข้อหาว่า เด็กหรือเยาวชนกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเว้นแต่คดีอาญาที่มีข้อหาว่า เยาวชนซึ่งอายุเกินสิบหกปีบริบูรณ์กระทำความผิดในเหตุฉกรรจ์บางประเภทตามที่ระบุไว้รวมทั้งความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยที่ 5 มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์และกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้จะกระทำความผิดในท้องที่ที่มีศาลคดีเด็กและเยาวชนเปิดดำเนินการแล้วก็ตาม เมื่อเป็นความผิดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จำเลยที่ 5 ร่วมกับพวกอีก 4 คน พากันขึ้นไปบนรถยนต์โดยสารขณะที่พวกจำเลยทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่นั้น จำเลยที่ 5ยืนโหนบันไดรถบังไม่ให้คนอื่นเห็นการปล้นทรัพย์ที่พวกจำเลยกระทำอยู่เป็นการร่วมกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 5จึงเป็นตัวการร่วมในความผิดฐานปล้นทรัพย์ การกำหนดโทษและการไม่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย สำหรับความผิดที่ร่วมกันเป็นตัวการปล้นทรัพย์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นเหตุในลักษณะคดี เมื่อศาลฎีกาพิพากษาลดมาตราส่วนโทษและลดโทษให้จำเลยที่ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาเลยไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนในคดีปล้นทรัพย์ของจำเลยอายุเกิน 16 ปี และการลดโทษในคดีอาญา
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494มาตรา 8(1) กำหนดให้ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจเช่นเดียวกับศาลจังหวัดในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเว้นแต่คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเยาวชนซึ่งอายุเกินสิบหกปีบริบูรณ์กระทำความผิดในเหตุฉกรรจ์บางประเภทตามที่ระบุไว้รวมทั้งความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340จำเลยที่ 5 มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์และกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้จะกระทำความผิดในท้องที่ที่มีศาลคดีเด็กและเยาวชนเปิดดำเนินการแล้วก็ตาม เมื่อเป็นความผิดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลอาญาธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ จำเลยที่ 5 ร่วมกับพวกอีก 4 คน พากันขึ้นไปบนรถยนต์โดยสารขณะที่พวกจำเลยทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่จำเลยที่ 5 ยืนโหนบันไดรถบังไม่ให้คนอื่นเห็นการปล้นทรัพย์ที่พวกจำเลยกระทำเป็นการร่วมกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 5 จึงเป็นตัวการร่วมในความผิดฐานปล้นทรัพย์ การกำหนดโทษและการไม่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย สำหรับความผิดที่ร่วมกันเป็นตัวการปล้นทรัพย์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาลดมาตราส่วนโทษและลดโทษให้จำเลยที่ฎีกา และให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: พิจารณาคดีอาญาเด็ก แม้ฟ้องหลังอายุ 16 ปี
คดีอาญาฐานปล้นทรัพย์ที่ขณะจำเลยกระทำผิดมีอายุไม่เกินกว่า16 ปีบริบูรณ์ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีจำเลยมีอายุ 16 ปี 6 เดือนเศษแล้ว โจทก์ก็ต้องฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็ก ต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนก่อน จึงจะมีผลผูกพัน
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลก่อน และศาลดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นศาลที่มีอำนาจอนุญาตด้วย
ขณะที่ผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กในศาลแพ่ง ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางเปิดดำเนินการแล้วผู้ใช้อำนาจปกครองจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 8 ก่อนมิฉะนั้นเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันเด็ก ไม่ว่าเด็กจะรู้เห็นยินยอมหรือไม่
โจทก์ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองกับจำเลยร่วมเป็นโมฆะ และให้เพิกถอนเสียการที่ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลผูกพันเด็กนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
คดีที่พนักงานอัยการฟ้องเพื่อประโยชน์ของเด็กในฐานะโจทก์มิใช่ฐานะทนายความ ศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความแก่พนักงานอัยการ
ขณะที่ผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กในศาลแพ่ง ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางเปิดดำเนินการแล้วผู้ใช้อำนาจปกครองจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 8 ก่อนมิฉะนั้นเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันเด็ก ไม่ว่าเด็กจะรู้เห็นยินยอมหรือไม่
โจทก์ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองกับจำเลยร่วมเป็นโมฆะ และให้เพิกถอนเสียการที่ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลผูกพันเด็กนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
คดีที่พนักงานอัยการฟ้องเพื่อประโยชน์ของเด็กในฐานะโจทก์มิใช่ฐานะทนายความ ศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความแก่พนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนก่อน จึงจะมีผลผูกพัน
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลก่อน และศาลดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นศาลที่มีอำนาจอนุญาตด้วย
ขณะที่ผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กในศาลแพ่ง ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางเปิดดำเนินการแล้ว ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 8 ก่อนมิฉะนั้นเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคำพิพากษาตามยอม ไม่ผูกพันเด็ก ไม่ว่าเด็กจะรู้เห็นยินยอมหรือไม่
โจทก์ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองกับจำเลยร่วมเป็นโมฆะ และให้เพิกถอนเสีย การที่ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลผูกพันเด็กนั้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
คดีที่พนักงานอัยการฟ้องเพื่อประโยชน์ของเด็กในฐานะโจทก์มิใช่ฐานะทนายความ ศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความแก่พนักงานอัยการ
ขณะที่ผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กในศาลแพ่ง ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางเปิดดำเนินการแล้ว ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 8 ก่อนมิฉะนั้นเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคำพิพากษาตามยอม ไม่ผูกพันเด็ก ไม่ว่าเด็กจะรู้เห็นยินยอมหรือไม่
โจทก์ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองกับจำเลยร่วมเป็นโมฆะ และให้เพิกถอนเสีย การที่ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลผูกพันเด็กนั้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
คดีที่พนักงานอัยการฟ้องเพื่อประโยชน์ของเด็กในฐานะโจทก์มิใช่ฐานะทนายความ ศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความแก่พนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังหย่ามีผลอย่างไร และศาลใดมีอำนาจพิจารณา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน. และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด. สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป.จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสงบข้อพิพาทหย่าร้างและการบังคับชำระหนี้ค่าเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วย สามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วย สามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)