คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับรองอุทธรณ์ของพนักงานอัยการ และการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษคดีพนัน
โจทก์อุทธรณ์โดยมีพนักงานอัยการผู้รักษาการแทนอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 8 รับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมีสำเนาคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 235/2546 ที่มอบหมายให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต หรือพนักงานอัยการผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขตมีอำนาจรับรองอุทธรณ์แทนอัยการสูงสุด เมื่อพิจารณาเห็นว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยสำหรับคดีอาญาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขตนั้น ๆ ได้ โดยเป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี และ พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 15 พนักงานอัยการผู้รักษาการแทนอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 8 ตามมาตรา 18 จึงเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงเป็นไปโดยชอบ
การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ เป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบสุขของครอบครัว สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย แต่จำเลยมีอายุถึง 58 ปี และโทษจำคุกที่จะต้องรับแต่ละกระทงมีกำหนดเวลาน้อยกว่าสามเดือน เห็นสมควรใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของอัยการและขอบเขตการคุ้มครองผลประโยชน์มรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป.ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค.จากจำเลยซึ่งเป็นบุพพการีของ บ.โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534. ต่อมาป.ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่าป.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท. ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หากป.ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทนป.ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากป.อีก.
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของค.. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของค.. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของค.เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี. ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ และการขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งมรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป. ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค. จากจำเลยซึ่งเป็นบุพการีของ บ. โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ต่อมา ป. ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่าป. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หาก ป. ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทน ป. ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจาก ป. อีก
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของ ค. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของ ค. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของ ค. เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีของพนักงานอัยการ และการขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างคดีมรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป.ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค.จากจำเลยซึ่งเป็นบุพพการีของ บ.โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ต่อมา ป.ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่า ป.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หาก ป.ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทน ป.ได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจาก ป.อีก
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของค. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของค. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของ ค.เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ