พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองหลายราย & การชำระหนี้เฉพาะคดี: ผู้จำนองมีสิทธิไถ่ถอนจำนองเป็นรายคดีได้
ทรัพย์สินรายหนึ่งอาจจำนองประกันหนี้หลายรายได้หนี้ที่ประกันรายใด ระงับสิ้นไป สัญญาจำนองที่ประกันหนี้รายนั้นย่อมระงับสิ้นไปเฉพาะราย และผู้จำนองมีสิทธิที่จะชำระหนี้เพื่อให้สัญญาจำนองรายใดรายหนึ่ง ระงับไปโดยไม่จำต้องชำระหนี้ทุกราย
การที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองซึ่งประกันต่างราย ซึ่งต้องว่ากล่าวเป็นรายๆไปแล้วการบังคับคดีก็ต้องแยกต่างหากจากกัน ฉะนั้นเมื่อเป็นหนี้ต่างรายแม้หลักทรัพย์ประกันรายเดียวกันจำเลยผู้จำนอง ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้เฉพาะคดีนี้เพื่อให้สัญญาจำนองที่ประกันหนี้ ในคดีนี้ระงับไปได้ส่วนที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งนั้น หากศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นหนี้โดย ได้จำนองทรัพย์รายเดียวกับ ที่จำนองในคดีนี้เป็นประกันโจทก์ก็มีสิทธิที่จะบังคับจำนองเอาแก่ ทรัพย์สินนั้นอีกได้จึงไม่มีเหตุที่จะรอคดีนี้ไว้ฟังผลของคดีอื่น
การที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองซึ่งประกันต่างราย ซึ่งต้องว่ากล่าวเป็นรายๆไปแล้วการบังคับคดีก็ต้องแยกต่างหากจากกัน ฉะนั้นเมื่อเป็นหนี้ต่างรายแม้หลักทรัพย์ประกันรายเดียวกันจำเลยผู้จำนอง ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้เฉพาะคดีนี้เพื่อให้สัญญาจำนองที่ประกันหนี้ ในคดีนี้ระงับไปได้ส่วนที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งนั้น หากศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นหนี้โดย ได้จำนองทรัพย์รายเดียวกับ ที่จำนองในคดีนี้เป็นประกันโจทก์ก็มีสิทธิที่จะบังคับจำนองเอาแก่ ทรัพย์สินนั้นอีกได้จึงไม่มีเหตุที่จะรอคดีนี้ไว้ฟังผลของคดีอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนการพิจารณาคดีเมื่อทนายความขอถอนตัวโดยจำเลยไม่ทราบ และผลกระทบต่อการขาดนัดพิจารณา
จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอุตรดิตถ์ แต่งตั้งให้ทนายความซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแพ่งการที่ทนายความของจำเลยที่ 1 ที่ 2 มอบให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องต่อศาลขอถอนตนจากการเป็นทนายความของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในวันนัดสืบพยานโจทก์อ้างว่ามีความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยังไม่ทราบว่าทนายความขอถอนตนเช่นนี้ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จงใจไม่มาศาลในวันสืบพยานยังไม่ถนัดเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 อยู่ต่างจังหวัด ส่วนทนายอยู่กรุงเทพมหานครซึ่งในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวจำเลยที่ 1 ที่ 2 คงจะคาดหมายว่าทนายความของตนจะเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามกฎหมายต่อไปตามปกติ มิได้คาดหมายว่าทนายจะถอนตนถ้าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทราบก็จะต้องแต่งทนายความใหม่เพื่อสู้คดี เพราะได้ยื่นคำให้การไว้แล้วเพื่อให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี ศาลชั้นต้นควรเลื่อนการพิจารณาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนการพิจารณาคดีเมื่อทนายความขอถอนตัวโดยจำเลยไม่ทราบ เพื่อให้ความยุติธรรมดำเนินไปได้
จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอุตรดิตถ์แต่งตั้งให้ทนายความซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแพ่งการที่ทนายความของจำเลยที่ 1ที่ 2 มอบให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องต่อศาลขอถอนตนจากการเป็นทนายความของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในวันนัดสืบพยานโจทก์อ้างว่ามีความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2ยังไม่ทราบว่าทนายความขอถอนตนเช่นนี้ จะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จงใจไม่มาศาลในวันสืบพยานยังไม่ถนัดเพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 อยู่ต่างจังหวัด ส่วนทนายอยู่กรุงเทพมหานครซึ่งในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวจำเลยที่ 1ที่ 2 คงจะคาดหมายว่าทนายความของตนจะเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามกฎหมายต่อไปตามปกติ มิได้คาดหมายว่าทนายจะถอนตนถ้าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทราบก็จะต้องแต่งทนายความใหม่เพื่อสู้คดี เพราะได้ยื่นคำให้การไว้แล้วเพื่อให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี ศาลชั้นต้นควรเลื่อนการพิจารณาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอื่น ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดการพิจารณา โจทก์มีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา
คำว่า 'การพิจารณา' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(8) หมายความว่า กระบวนการพิจารณาทั้งหมดในศาลใดศาลหนึ่งก่อนศาลนั้นชี้ขาดตัดสินหรือจำหน่ายคดีโดยคำพิพากษาหรือคำสั่ง และการจำหน่ายคดีนั้นหมายถึง การที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ซึ่งมีผลให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาลที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนั้น
การที่คู่ความร้องขอให้ศาลชั้นต้นรอฟังผลของคำพิพากษาในคดีอื่นเพื่ออาศัยเป็นหลักในการชี้ขาดตัดสินคดีนี้เป็นการร้องขอให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ชั่วคราวจึงมีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปนั่นเอง หาใช่เป็นการสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ไม่ คดีจึงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอในเวลาใด ๆ ก่อนคำพิพากษาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 และมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ได้ด้วย
การที่คู่ความร้องขอให้ศาลชั้นต้นรอฟังผลของคำพิพากษาในคดีอื่นเพื่ออาศัยเป็นหลักในการชี้ขาดตัดสินคดีนี้เป็นการร้องขอให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ชั่วคราวจึงมีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปนั่นเอง หาใช่เป็นการสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ไม่ คดีจึงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอในเวลาใด ๆ ก่อนคำพิพากษาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 และมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนไต่สวนคำร้องคืนของกลาง: ศาลพิจารณาเหตุผลและความไม่คัดค้านของโจทก์
ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบในข้อหากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ทนายผู้ร้องมาศาลและยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องและพยานไม่มาศาลโดยไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด ขอเลื่อนการพิจารณาไปสัก 3-4 วัน โจทก์แถลงไม่คัดค้าน ดังนี้ เป็นการขอเลื่อนครั้งแรกเพียง 3-4 วัน ทั้งโจทก์ก็ไม่คัดค้าน ส่วนการที่ผู้ร้องและพยานไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ทนายผู้ร้องทราบนั้น จะถือเป็นความผิดของผู้ร้องไม่ได้ ประกอบกับเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สมควรอนุญาตให้เลื่อนคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอเลื่อนคดีผ่านศาลอื่น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการร้องขอเลื่อนคดีก่อนศาลสั่งขาดนัด ถือว่าไม่ขาดนัด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าการที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันสืบพยานโจทก์นั้น ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแล้ว เพียงแต่มิได้ยื่นต่อศาลชั้นต้น(ศาลจังหวัดเลย) โดยตรง เพราะทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคาย จึงได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลจังหวัดหนองคายเพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลชั้นต้นอีกต่อหนึ่ง ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์มิได้ขาดนัดพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 วรรค 2 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะต้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและหากฟังได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานดังที่โจทก์อ้าง ก็จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 201 ไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
วันนัดสืบพยานโจทก์(นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้ว ทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนองคายโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องของศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถึงว่าโจทก์ได้ร้อบขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519)
วันนัดสืบพยานโจทก์(นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้ว ทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนองคายโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องของศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถึงว่าโจทก์ได้ร้อบขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนการสืบพยานโดยคำร้องที่ไม่ถูกต้อง ศาลใช้ดุลพินิจตามมาตรา 39 เพื่อให้ความยุติธรรมดำเนินไปได้
แม้โจทก์จะมิได้มอบฉันทะให้ ว.ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดย ว.นำคำร้องมายื่น อันเป็นการไม่ถูกต้องนั้น อาจเป็นไปได้ว่าโจทก์ไม่จงใจขาดนัดและศาลอาจสั่งให้เลื่อนไปได้เองโดยไม่ต้องอาศัยคำร้องดังกล่าว แต่อาศัยประมาณกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 ในข้อที่ว่า ในกรณีอื่นใดซึ่งศาลเห็นว่าถ้าได้เลื่อนการพิจารณาไปจักทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งเลื่อนการพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ขอเลื่อนคดี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้จนกว่าคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งจะถึงที่สุดและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว คำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 และคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นได้สั่งไว้ด้วยว่า เมื่อคดีอีกเรื่องหนึ่งนั้นถึงที่สุดแล้วให้โจทก์แถลงเพื่อจะได้พิจารณาคดีนี้ต่อไปไม่ใช่คำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งตามมาตรา 196 เช่นกัน(อ้างนัยฎีกาที่ 157/2506 และ 1621/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสิ้น การอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ขอเลื่อนคดี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้จนกว่าคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งจะถึงที่สุดและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว คำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 และคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นได้สั่งไว้ด้วยว่า เมื่อคดีอีกเรื่องหนึ่งนั้นถึงที่สุดแล้วให้โจทก์แถลงเพื่อจะได้พิจารณาคดีนี้ต่อไปไม่ใช่คำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งตามมาตรา 196 เช่นกัน(อ้างนัยฎีกาที่ 157/2506 และ 1621/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญา และต้องมีข้อเท็จจริงนั้นอยู่ในสำนวน
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นหากศาลเห็นสมควรงดการพิจารณาคดีแพ่งไว้รอฟังข้อเท็จจริงที่จะปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลก็จำต้องจดรายงานกระบวนพิจารณาให้ปรากฏข้อความโดยชัดแจ้งเช่นนั้น ต่อเมื่อมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแล้วจึงจะหยิบยกคดีแพ่งขึ้นมาพิจารณาต่อไป โดยให้มีข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเข้ามาสู่สำนวนความคดีแพ่งด้วย (โดยวิธีนำสืบพยานหลักฐานหรือคู่ความรับกัน) ศาลจะสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเข้ามาในสำนวนหาชอบไม่