คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล สว่างเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเพื่อถอนคดีอาญา วัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยเป็นโมฆะ
จำเลยทำสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังที่เสียหายกับโจทก์ ก็เพื่อให้โจทก์ถอนคดีข้อหากระทำให้เกิดเพลิงไหม้ ไร่มันสำปะหลังอันเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดิน วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาขัดต่อความสงบเรียบร้อยเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113 โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระราคาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักงานและการคำนวณเวลาทำงานปกติ กรณีทำงานเป็นกะ
โจทก์เป็นพนักงานตัดกระจก ทำงานอยู่ในจุดตัดกระจก ใช้เวลาตัดกระจกประมาณ 50 นาที เสร็จแล้วหยุดพักรอกระจกที่จะส่งมาใหม่เป็นเวลา 20 นาที ทำสลับกันเช่นนี้จนกว่าจะออกกะทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาทีกะหนึ่ง ๆ โจทก์จึงมีเวลาพัก 2 ชั่วโมง 20 นาที
เมื่อปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 6 เพียงกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องกำหนดในลักษณะที่เป็นรูปแบบอย่างใดไม่ แม้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของจำเลยจะระบุให้หัวหน้าแผนกเป็นผู้กำหนดเวลาพัก แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้กำหนดก็หาทำให้เวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาพักไม่ ที่โจทก์จะต้องขออนุญาตก่อนออกนอกโรงงานในช่วงระยะเวลา 20 นาที ก็เพียงเพื่อให้รู้ว่าระยะเวลาดังกล่าวโจทก์อยู่ที่ใดเท่านั้น หลังจากได้รับอนุญาตแล้วโจทก์ย่อมใช้เวลาดังกล่าวได้อย่างอิสระ จึงถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้โจทก์มีเวลาพักโดยถูกต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 6 แล้ว
โจทก์ทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาที กำหนดเวลาทำงานตามปกติย่อมหมายถึงเวลาทำงานอย่างแท้จริง ไม่นับเวลาพักเข้าเป็นเวลาทำงานจึงต้องนำเวลาพัก 20 นาที หักออกจากช่วงระยะเวลาที่โจทก์ทำงานเวลาทำงานตามปกติของโจทก์จึงไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักจากการทำงาน: การจัดเวลาพักที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการคำนวณเวลาทำงานปกติ
โจทก์เป็นพนักงานตัดกระจก ทำงานอยู่ในจุดตัดกระจก ใช้เวลาตัดกระจกประมาณ 50 นาที เสร็จแล้วหยุดพักรอกระจกที่จะส่งมาใหม่เป็นเวลา 20 นาที ทำสลับกันเช่นนี้จนกว่าจะออกกะทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาทีกะหนึ่ง ๆ โจทก์จึงมีเวลาพัก 2 ชั่วโมง 20 นาที
เมื่อปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 6 เพียงกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องกำหนดในลักษณะที่เป็นรูปแบบอย่างใดไม่ แม้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของจำเลยจะระบุให้หัวหน้าแผนกเป็นผู้กำหนดเวลาพัก แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้กำหนดก็หาทำให้เวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาพักไม่ ที่โจทก์จะต้องขออนุญาตก่อนออกนอกโรงงานในช่วงระยะเวลา 20 นาที ก็เพียงเพื่อให้รู้ว่าระยะเวลาดังกล่าวโจทก์อยู่ที่ใดเท่านั้น หลังจากได้รับอนุญาตแล้วโจทก์ย่อมใช้เวลาดังกล่าวได้อย่างอิสระ จึงถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้โจทก์มีเวลาพักโดยถูกต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 6 แล้ว
โจทก์ทำงานกะละ 8 ชั่วโมง 15 นาที กำหนดเวลาทำงานตามปกติย่อมหมายถึงเวลาทำงานอย่างแท้จริง ไม่นับเวลาพักเข้าเป็นเวลาทำงาน จึงต้องนำเวลาพัก 20 นาที หักออกจากช่วงระยะเวลาที่โจทก์ทำงาน เวลาทำงานตามปกติของโจทก์จึงไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนอสังหาริมทรัพย์จากการชำระหนี้จำนองของธนาคารพาณิชย์ ไม่ขัดกฎหมายหากจำหน่ายภายในเก้าปี
การที่ผู้จำนองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกพิพาทที่จำนองให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้รับจำนองเป็นการชำระหนี้จำนอง เป็นกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของธนาคารพาณิชย์เนื่องจากการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12(5) วรรคสอง (เดิม)ซึ่งกฎหมายมุ่งหมายให้กระทำได้ เพียงแต่อยู่ภายในเงื่อนไขที่ว่าธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้รับอสังหาริมทรัพย์มาในกรณีดังกล่าวจะต้องจำหน่ายภายในเก้าปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของธนาคารพาณิชย์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ฉะนั้นการที่โจทก์รับโอนที่ดินและตึกพิพาทจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็น โมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนอสังหาริมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยธนาคารพาณิชย์ ไม่เป็นโมฆะ หากจำหน่ายภายในเก้าปี
การที่ผู้จำนองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกพิพาทที่จำนองให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้รับจำนองเป็นการชำระหนี้จำนอง เป็นกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของธนาคารพาณิชย์เนื่องจากการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12(5) วรรคสอง (เดิม) ซึ่งกฎหมายมุ่งหมายให้กระทำได้ เพียงแต่อยู่ภายในเงื่อนไขที่ว่าธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้รับอสังหาริมทรัพย์มาในกรณีดังกล่าวจะต้องจำหน่ายภายในเก้าปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของธนาคารพาณิชย์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ฉะนั้นการที่โจทก์รับโอนที่ดินและตึกพิพาทจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความประกันภัยสะดุดหยุดชะงักเมื่อบริษัทประกันภัยรับสภาพหนี้ด้วยการชดใช้ค่าเสียหายและช่วยเหลือทางกฎหมาย
โจทก์ได้เอาประกันภัยรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินรวมระหว่างโจทก์กับ ซ. ไว้แก่จำเลยสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ชนกับรถยนต์ของห้าง ช. การที่จำเลยยอมชดใช้ค่าซ่อมรถให้แก่ห้าง ช. ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บาดเจ็บและมรณะเนื่องจากอุบัติเหตุดังกล่าว และยังเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายกับค่าทนายความให้แก่ ซ.ในคดีที่ห้างช. ฟ้องเรียกค่าเสียหายสำหรับสินค้าที่บรรทุกอยู่ในรถ แสดงว่าจำเลยยอมรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้แก่โจทก์ อันถือได้ว่าจำเลยรับสภาพต่อโจทก์ด้วยการใช้เงินให้บางส่วน หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องในกรมธรรม์ประกันภัย อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ ซ. ชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าที่บรรทุกอยู่ในรถของห้าง ช. เหตุที่ทำให้อายุความตามสิทธิเรียกร้องในกรมธรรม์ประกันภัยสะดุดหยุดลงจึงสุดสิ้นลงในวันที่ศาลพิพากษานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในสองปี จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาที่จำเลยลงลายมือชื่อและจำนวนเงินกู้ ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้โจทก์แก้ไขภายหลัง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 16,000 บาท จำเลยให้การว่าความจริงกู้เพียง 6,000 บาท ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานแห่งการกู้เดิมเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้เงิน เมื่อจำเลยเขียนเลข '6,000' ในช่องจำนวนเงินที่กู้ยืมและเซ็นชื่อในช่องผู้กู้ยืม และได้ความว่าจำเลยยืมเงินของผู้อื่นไป 6,000 บาท ถือได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะลงวันที่กู้ยืมผิดไปจากวันกู้ที่แท้จริงและเพิ่มเติมจำนวนเงินกู้ให้สูงขึ้น โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมซึ่งทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไป จำเลยจึงต้องรับผิดตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาที่จำเลยลงลายมือชื่อ แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยโจทก์ ก็ยังเป็นหลักฐานการกู้ยืมที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 16,000 บาท จำเลยให้การว่าความจริงกู้เพียง 6,000 บาท ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานแห่งการกู้เดิมเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้เงิน เมื่อจำเลยเขียนเลข '6,000' ในช่องจำนวนเงินที่กู้ยืมและเซ็นชื่อในช่องผู้กู้ยืม และได้ความว่าจำเลยยืมเงินของผู้อื่นไป6,000 บาท ถือได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะลงวันที่กู้ยืมผิดไปจากวันกู้ที่แท้จริงและเพิ่มเติมจำนวนเงินกู้ให้สูงขึ้น โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมซึ่งทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไป จำเลยจึงต้องรับผิดตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของมูลนิธิ การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีธนาคารต้องเป็นไปตามข้อตกลง และการกระทำละเมิดของกรรมการ
โจทก์จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย บรรดาทรัพย์สินต่างๆรวมทั้งองค์เซียนแป๊ะโค้วย่อมตกเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ เงินที่ประชาชนบริจาคในการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วและนำไปฝากไว้ในบัญชีนั้นถือว่าเป็นเงินที่บริจาคให้แก่องค์เซียนแป๊ะโค้ว จึงตกเป็นของโจทก์ผู้เป็นเจ้าขององค์เซียนแป๊ะโค้ว
เงินในบัญชีซึ่งเป็นเงินรายได้จากการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วนั้น คู่ความทราบในคดีก่อนแล้วว่าได้มีการตกลงกันให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารโดยมีเงื่อนไขให้เบิกจ่ายได้ตามมติของคณะกรรมการจัดงาน และให้จำเลยที่2 ที่ 3 และบ.เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกันในเช็คเพื่อเบิกจ่ายเงินจากบัญชี ดังนั้นการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนี้เรื่อยไปจนกว่าคดีจะเสร็จหรือถึงที่สุด หาใช่ข้อตกลงนี้เป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาซึ่งจะถูกยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 ไม่
เมื่อระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 3 ซึ่งพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าเขตลาดกระบังแล้ว กลับมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินตามข้อตกลงเดิมทั้งหมด แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 คนใดคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีแทนโดยไม่บอกกล่าวแถลงศาลก่อนหรือแจ้งบอกกล่าวแก่คู่ความในคดีนั้นซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง นอกจากจะเป็นการไม่ถูกต้องแล้วยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจเบิกถอนเพราะขัดกับข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1จึงทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 3 มีส่วนทำละเมิดดังกล่าวด้วยส่วนจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจและเบิกถอนก่อนที่จำเลยที่ 3 จะมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ตามลำพัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีธนาคารภายหลังข้อตกลงเดิมสิ้นสุด และการกระทำละเมิดของผู้มีอำนาจ
โจทก์จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย บรรดาทรัพย์สินต่างๆรวมทั้งองค์เซียนแป๊ะโค้วย่อมตกเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ เงินที่ประชาชนบริจาคในการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วและนำไปฝากไว้ในบัญชีนั้นถือว่าเป็นเงินที่บริจาคให้แก่องค์เซียนแป๊ะโค้ว จึงตกเป็นของโจทก์ผู้เป็นเจ้าขององค์เซียนแป๊ะโค้ว เงินในบัญชีซึ่งเป็นเงินรายได้จากการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วนั้น คู่ความทราบในคดีก่อนแล้วว่าได้มีการตกลงกันให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารโดยมีเงื่อนไขให้เบิกจ่ายได้ตามมติของคณะกรรมการจัดงาน และให้จำเลยที่2 ที่ 3 และบ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกันในเช็คเพื่อเบิกจ่ายเงินจากบัญชี ดังนั้นการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนี้เรื่อยไปจนกว่าคดีจะเสร็จหรือถึงที่สุด หาใช่ข้อตกลงนี้เป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาซึ่งจะถูกยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 ไม่ เมื่อระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 3 ซึ่งพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าเขตลาดกระบังแล้ว กลับมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินตามข้อตกลงเดิมทั้งหมด แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 คนใดคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีแทน โดยไม่บอกกล่าวแถลงศาลก่อนหรือแจ้งบอกกล่าวแก่คู่ความในคดีนั้นซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง นอกจากจะเป็นการไม่ถูกต้องแล้วยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจเบิกถอนเพราะขัดกับข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 3 มีส่วนทำละเมิดดังกล่าวด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจและเบิกถอนก่อนที่จำเลยที่ 3 จะมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ตามลำพัง
of 73