คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล สว่างเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของการสมรสซ้อน: การสมรสที่ขัดกับกฎหมาย แม้มีการจดทะเบียนภายหลัง
ไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีอายุ 80 ปีเศษต้องให้เจ้าหน้าที่อำเภอรับรองสติสัมปชัญญะของผู้มอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอามรดกของบิดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทและทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินส่วนตัว มิใช่เป็นเรื่องการจัดการสินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสพ. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยากันตลอดมาถึงวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้ภายหลัง พ. จะแยกไปอยู่กินกับจำเลยที่ 1 และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าเคยมีภริยามาก่อน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้เลิกกันไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การสมรสระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ 1 ขาดจากกัน เพราะการสมรสจะขาดจากกันก็ด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนเท่านั้น การจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ในขณะที่ พ.มีโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สมรสอยู่แล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรส และเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ มาตรา 1496จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดและบำนาญค้างจ่ายของพ. กับไม่มีสิทธิรับมรดกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททั้งสองฝ่าย รถจอดบนผิวจราจรกลางคืน ไม่เปิดสัญญาณไฟ ชนท้าย ทำให้เกิดความเสียหาย
ยางรถยนต์บรรทุกแตก คนขับจึงจอดรถบนผิวจราจรถนนที่เป็นทางตรงในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ แสงไฟสูงของรถเก๋งส่องได้ไกลไม่น้อยกว่า 50 เมตร การที่เพิ่งเริ่มมีรอยห้ามล้อของรถเก๋งในระยะห่างรถบรรทุกประมาณ 30 เมตรแสดงว่าคนขับรถเก๋งซึ่งขับด้วยความเร็วสูงเห็นรถบรรทุกในระยะกระชั้นชิด เหตุที่รถชนกันจึงเกิดเพราะความประมาทของผู้ขับรถยนต์บรรทุกด้วยดังนี้ ทั้งสองฝ่ายมีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงใช้แก่กันจึงเป็นพับทั้งสองฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดอายุความ การออกใบเสร็จรับรองจำนวนเที่ยวรถถือเป็นการรับสภาพหนี้ ทำให้ระยะอายุความเริ่มนับใหม่
โจทก์รับจ้างตักดินให้จำเลย โดยคิดค่าจ้างเป็นรายเที่ยวรถ การที่จำเลยออกใบเสร็จว่าโจทก์ได้ตักดินให้แล้ว เป็นจำนวนกี่เที่ยวรถมอบให้โจทก์ไว้ ดังนี้เป็นการยอมรับต่อโจทก์ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามข้อความในใบเสร็จดังกล่าวจึงเป็นการรับสภาพหนี้ อายุความในสิทธิเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลง และเริ่มนับใหม่ในวันที่ออกใบเสร็จคือวันที่ 23 พฤศจิกายน 2521 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องใน วันที่ 21 พฤศจิกายน 2523 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากการออกใบเสร็จ ยุติอายุความค่าจ้าง
โจทก์รับจ้างตักดินให้จำเลย โดยคิดค่าจ้างเป็นรายเที่ยวรถ การที่จำเลยออกใบเสร็จว่าโจทก์ได้ตักดินให้แล้ว เป็นจำนวนกี่เที่ยวรถมอบให้โจทก์ไว้ ดังนี้เป็นการยอมรับต่อโจทก์ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามข้อความในใบเสร็จดังกล่าวจึงเป็นการรับสภาพหนี้ อายุความในสิทธิเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลง และเริ่มนับใหม่ในวันที่ออกใบเสร็จคือวันที่ 23 พฤศจิกายน 2521 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องใน วันที่ 21 พฤศจิกายน 2523 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติ การจ่ายบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯมาตรา 9, 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น แต่มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว การจ้างเป็นอันระงับไปในตัวทันที หากจักต้องจัดการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
บำเหน็จเป็นเงินซึ่งมีลักษณะเป็นการตอบแทนที่พนักงานหรือลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดมาจนถึงวันที่ต้องพ้นจากตำแหน่งไป ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้าง ดังนั้น แม้จำเลยจ่ายบำเหน็จโดยมีวิธีคำนวณเหมือนค่าชดเชย และกำหนดให้ถือว่าเป็นค่าชดเชย ก็หามีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องหนี้จากการซื้อขายสินค้า การสันนิษฐานตามกฎหมายเมื่อไม่มีข้อตกลงเรื่องระยะเวลาชำระหนี้
แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งในเรื่องประเพณีการค้าที่ให้ชำระราคาสินค้าภายใน 180 วัน นับแต่วันส่งของตามคำฟ้องแต่จำเลยก็ยืนยันว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องร้องภายใน 2 ปีนับแต่มีการส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายกันแสดงว่าจำเลยไม่ได้ยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเพณีการค้าดังกล่าวและได้โต้แย้งว่าไม่มีข้อตกลงเรื่องให้จำเลยชำระราคาสินค้าภายใน 180 วันตามที่โจทก์กล่าวอ้างด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ความชัดแจ้ง ก็ต้องเป็นไปตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายซึ่งบัญญัไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา490 ว่า ผู้ซื้อจะต้องชำระราคาสินค้าในเวลาเดียวกันกับที่ตนได้รับสินค้าที่ซื้อขาย โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ในวันที่ส่งมอบสินค้านั่นเองอายุความจึงเริ่มนับเมื่อโจทก์ส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายให้แก่จำเลยเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า2 ปี คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม มาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า: สันนิษฐานชำระ ณ เวลาส่งมอบ หากโจทก์ไม่พิสูจน์ประเพณีค้า
แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งในเรื่องประเพณีการค้าที่ให้ชำระราคาสินค้าภายใน 180 วัน นับแต่วันส่งของตามคำฟ้อง แต่จำเลยก็ยืนยันว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องร้องภายใน 2 ปีนับแต่มีการส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายกันแสดงว่าจำเลยไม่ได้ยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเพณีการค้าดังกล่าว และได้โต้แย้งว่าไม่มีข้อตกลงเรื่องให้จำเลยชำระราคาสินค้าภายใน 180 วันตามที่โจทก์กล่าวอ้างด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ความชัดแจ้ง ก็ต้องเป็นไปตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายซึ่งบัญญัไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 490 ว่า ผู้ซื้อจะต้องชำระราคาสินค้าในเวลาเดียวกันกับที่ตนได้รับสินค้าที่ซื้อขาย โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ในวันที่ส่งมอบสินค้านั่นเอง อายุความจึงเริ่มนับเมื่อโจทก์ส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายให้แก่จำเลยเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า2 ปี คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม มาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944-3945/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อมูลลงเวลาทำงานโดยนายจ้าง ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากไม่มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
คดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222
โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงานไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า "ให้มันยุติธรรมหน่อย" และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริงได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้สองจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944-3945/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเอกสารราชการโดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารหากไม่มีเจตนาทุจริต
คดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222
โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงานไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า'ให้มันยุติธรรมหน่อย'และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริงได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้สองจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจ่ายระหว่างสาขาธนาคารต่างประเทศ: รายจ่ายต้องห้ามทางภาษีและจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
เงินที่ธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศรับฝากจากลูกค้าแล้วส่งมาให้สาขาในประเทศไทยลงทุน แม้จะเป็นเงินซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝาก ก็เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยเงินดังกล่าวเมื่อส่งมาลงทุนในประเทศไทยย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ดังนั้นดอกเบี้ยที่สาขาในประเทศไทยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศย่อมถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง เป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งตนเป็นเจ้าของเองและใช้เองกับเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนของตนเอง จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)(10) และ (11) ต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจ่ายดอกเบี้ยของสาขาในประเทศไทยดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
of 73