คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล สว่างเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย การวินิจฉัยต้องพิจารณาทั้งการรับประกันภัยและความรับผิดตามสัญญา
คู่ความตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย ล.1 จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ หากต้องรับผิดจำเลยที่ 3 ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มตามฟ้อง มิได้ตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้หรือไม่ ฉะนั้นเพียงข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ จะให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ย่อมไม่ได้ ต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า การที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้นั้น จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ต้องพิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยควบคู่ไปด้วย
คู่ความตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย ล.1 จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ หากต้องรับผิดจำเลยที่ 3 ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มตามฟ้อง มิได้ตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้หรือไม่ ฉะนั้นเพียงข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ จะให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ย่อมไม่ได้ต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า การที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้นั้น จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามเอกสารหมาย ล.1 ว.เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อ ว. ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่ปรากฏว่า ว. เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้น เป็นการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารหมาย ล.1 มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองและการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากโอนโดยไม่สุจริต
ก.ยกที่ดินโฉนดตราจองให้โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง แต่ทำสัญญาจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งโฉนดต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรณีพิพาทแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รู้เห็น แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังทำสัญญาซื้อขายรับโอนโฉนดตราจองดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองและยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายได้ตามมาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต
ก.ยกที่ดินโฉนดตราจองให้โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งแต่ทำสัญญาจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งโฉนด ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรณีพิพาทแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รู้เห็น แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังทำสัญญาซื้อขายรับโอนโฉนดตราจองดังกล่าวจากจำเลยที่ 1ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองและยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายได้ตามมาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามยื่นคำร้องซ้ำประเด็นที่ศาลตัดสินแล้ว แม้มีเหตุผลเดิม
จำเลยยื่นคำร้องฉบับหลังโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรกว่า การที่โจทก์บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความและสมควรยกเลิกการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับแรกของจำเลย และเป็นที่สุดแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับหลังอีกจึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องซ้ำที่มีประเด็นข้อเท็จจริงและคำขอเดิม หลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องแล้ว ถือเป็นการขัดต่อหลักการยุติธรรม
จำเลยยื่นคำร้องฉบับหลังโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรกว่า การที่โจทก์บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความและสมควรยกเลิกการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับแรกของจำเลย และเป็นที่สุดแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับหลังอีกจึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการให้ที่ดินเพื่อตอบแทนการสมรสมีผลผูกพันบังคับได้ แม้ไม่เข้าข่ายสินสอดตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ที่ด้านหลังทะเบียนการสมรสว่า ฝ่ายชายยกที่ดินพิพาทเป็นสินสอดฝ่ายหญิง เมื่อปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันและไม่ปรากฏว่าโจทก์มีผู้ปกครองในขณะจดทะเบียนสมรส การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ในลักษณะที่เป็นสินสอด. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 แต่การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้ โจทก์ก็เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมสมรสกับจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา เมื่อโจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาแล้ว. จำเลยก็มีหน้าที่ต้องโอนที่ดินให้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินในการสมรส: การยกที่ดินเป็นสินสอดและผลบังคับใช้ของข้อตกลง
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ที่ด้านหลังทะเบียนการสมรสว่า ฝ่ายชายยกที่ดินพิพาทเป็นสินสอดฝ่ายหญิง เมื่อปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันและไม่ปรากฏว่าโจทก์มีผู้ปกครองในขณะจดทะเบียนสมรส การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ในลักษณะที่เป็นสินสอด. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 แต่การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมสมรสกับจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา เมื่อโจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องโอนที่ดินให้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การรุกล้ำที่ดินหลังทำสัญญาถือเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์จำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินซึ่งมีอยู่ติดต่อกันในที่สุดได้ยอมความกันในศาล โดยโจทก์ยอมขายที่ดินตามอาณาเขตที่กำหนดกันไว้ให้แก่จำเลย และจำเลยตกลงจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินส่วนที่ไม่ได้ขาย ศาลพิพากษาตามยอม เห็นได้ว่าข้อสาระสำคัญแห่งสัญญาคือจำเลยจะต้องไม่บุกรุกที่ดินโจทก์ การที่จำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์เกินกว่าอาณาเขตที่โจทก์ขาย ถือได้ว่าจำเลยจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงชอบที่จะขอให้บังคับคดีได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346-3348/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้าง: เงินบำเหน็จพิเศษจากกองทุนสวัสดิการ ห้ามนำไปหักเป็นค่าชดเชย
ระเบียบของจำเลยกำหนดให้หักเงินรายได้จากค่าขนส่งสินค้าส่วนที่เป็นของกรรมกรไว้เป็นเงินบำรุงความสุข เพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จพิเศษให้แก่กรรมกรเมื่อถึงแก่กรรมลาออกหรือถูกให้ออก จำเลยจะจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของจำเลยได้ในกรณีที่มีการหักรายจ่ายจากกองเงินบำรุงความสุขเท่านั้นเงินบำรุงความสุขเป็นเงินของกรรมกร ไม่ใช่เงินของจำเลย และเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย เมื่อค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายมิใช่รายจ่ายที่จำเลยจะพึงใช้สิทธิหักได้จากเงินบำเหน็จพิเศษจำเลยก็จะลดจำนวนบำเหน็จพิเศษตามสิทธิที่กรรมกรจะได้รับลงเพราะเหตุที่จำเลยจะต้องนำไปจ่ายเป็นค่าชดเชยหาได้ไม่
of 73