คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล สว่างเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346-3348/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษกรรมกร ห้ามนำไปหักจ่ายค่าชดเชยนายจ้าง
ระเบียบของจำเลยกำหนดให้หักเงินรายได้จากค่าขนส่งสินค้าส่วนที่เป็นของกรรมกรไว้เป็นเงินบำรุงความสุข เพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จพิเศษให้แก่กรรมกรเมื่อถึงแก่กรรม ลาออกหรือถูกให้ออก จำเลยจะจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของจำเลยได้ในกรณีที่มีการหักรายจ่ายจากกองเงินบำรุงความสุขเท่านั้น เงินบำรุงความสุขเป็นเงินของกรรมกร ไม่ใช่เงินของจำเลย และเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชย เมื่อค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายมิใช่รายจ่ายที่จำเลยจะพึงใช้สิทธิหักได้จากเงินบำเหน็จพิเศษจำเลยก็จะลดจำนวนบำเหน็จพิเศษตามสิทธิที่กรรมกรจะได้รับลงเพราะเหตุที่จำเลยจะต้องนำไปจ่ายเป็นค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยนำโบนัสและส่วนแบ่งกำไรมาพิจารณาประกอบ
แม้ศาลจะวินิจฉัยว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องโบนัสและส่วนแบ่งกำไรเมื่อถูกเลิกจ้างก็ตาม แต่เมื่อการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำโบนัสและส่วนแบ่งกำไรมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 49 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลใช้เกณฑ์โบนัส/ส่วนแบ่งกำไรคำนวณค่าเสียหายได้ แม้ลูกจ้างไม่มีสิทธิโดยตรง
แม้ศาลจะวินิจฉัยว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องโบนัสและส่วนแบ่งกำไรเมื่อถูกเลิกจ้างก็ตาม แต่เมื่อการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำโบนัสและส่วนแบ่งกำไรมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 49 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจัดการมรดก: ทายาทมีสิทธิฟ้องภายใน 5 ปีนับจากจัดการมรดกสิ้นสุด
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โดยจำเลยอ้างว่าไม่มีพินัยกรรมถ้าปรากฏว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมก็เป็นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1603 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตาม มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้ ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไม่เกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม มาตรา 1733วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจัดการมรดก: ทายาทมีสิทธิฟ้องภายใน 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุด
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โดยจำเลยอ้างว่าไม่มีพินัยกรรมถ้าปรากฏว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมก็เป็นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1603 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตาม มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้ ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไม่เกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม มาตรา 1733 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการทำงานและสิทธิประโยชน์ทดแทน: การเรียนภาษาอังกฤษนอกเหนือหน้าที่งาน ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
ผู้ตายเป็นลูกจ้างบริษัท ท. มีหน้าที่รับ-ส่งเอกสาร การที่ ผู้ตายไปเรียนภาษาอังกฤษโดยบริษัท ท. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ซึ่งมิใช่การอันเป็นวัตถุประสงค์ของบริษัท ท. แต่เป็นเพียงการส่งเสริมให้ผู้ตายมีความรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น เพื่อประโยชน์ของผู้ตายในการติดต่อกับลูกค้า ถือไม่ได้ว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานให้แก่บริษัท ท. เมื่อผู้ตายประสบอันตรายถึงชีวิตระหว่างเดินทางไปเรียนภาษาอังกฤษ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มเติมหลังศาลสั่งรับทำงานเดิม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน หากไม่รับก็ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างจากจำเลย ซึ่งประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีทั้งสองเนื่องจากมูลฐานเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การเรียกร้องค่าจ้างช่วงเลิกจ้าง แม้คดีก่อนไม่ได้ฟ้อง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน หากไม่รับก็ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างจากจำเลย ซึ่งประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีทั้งสองเนื่องจากมูลฐานเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ให้เช่ารถไม่ต้องรับผิดในละเมิดจากผู้เช่า หากการให้เช่าไม่ขัดกฎหมายควบคุมการขนส่ง
กฎกระทรวงฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 ข้อ 8(5) ที่กำหนดให้ผู้รับอนุญาตให้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกินเจ็ดคนในท้องที่กรุงเทพมหานคร ต้องไม่ยินยอมให้ผู้ขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทจำกัดหรือสมาชิกของสหกรณ์หรือบุคคลอื่นเช่ารถของบริษัทจำกัดหรือสหกรณ์ไปหารายได้นั้นมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อควบคุมการประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบุคคลภายนอก หากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการฝ่าฝืนกฎกระทรวงโดยนำรถของตนไปให้บุคคลอื่นเช่าหารายได้ ก็อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรืออาจถูกนายทะเบียนยานพาหนะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการเท่านั้น ผู้รับอนุญาตให้ประกอบการหาจำต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้เช่าได้กระทำขึ้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพกพาอาวุธปืนโดยไม่มีเหตุจำเป็นและความรับผิดชอบต่อทรัพย์สิน
จำเลยเก็บปืนและเงิน 70,000 บาท ไว้ในลิ้นชักรถ เมื่อจำเลยนั่งรถไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไป และการที่จำเลยขับรถไปส่งผู้เสียหายกับพวกแล้วพากันไปนั่งดื่มสุราและเบียร์ โดยทิ้งเงินไว้ในรถซึ่งจอดอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 5-6 วา แสดงว่าจำเลยมิได้ห่วงใยเกี่ยวกับความปลอดภัยของทรัพย์สิน การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
of 73