พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568-2569/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นการแก้ไขโทษเล็กน้อยและฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 279, 285 ลงโทษจำเลยตามมาตรา 285 ซึ่งเป็นบทหนัก จำคุกจำเลยสำนวนละ 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ประกอบด้วยมาตรา 279 จำคุกจำเลยสำนวนละ 3 เดือน เป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้บทมาตราแห่งความผิด เพียงแต่ปรับบทกฎหมายที่ลงโทษให้ถูกต้อง ทั้งโทษเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้แล้วก็ให้จำคุกจำเลยสำนวนละไม่เกิน 5 ปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คู่ความต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่ไม่ชอบตามกฎหมาย ทำให้ผู้รับโอนไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ย.เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นที่ดินมือเปล่า การที่ ว. ซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว อ้างว่าได้ซื้อจาก ย. ตามสัญญาซื้อขายซึ่งไม่เป็นความจริงและขอออกโฉนดโดย ย. มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ว. ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่เจ้าพนักงานออกให้ เพราะเป็นการออกโฉนดตามหนังสือสัญญาขายที่ดินที่ไม่ชอบ และออกทับที่ดินซึ่ง ย.มีสิทธิครอบครองอยู่ก่อน การที่ ว. โอนที่ดินที่ตนไม่มีกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ขึ้นมาเป็นของโจทก์ผู้รับโอน โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยมิชอบ เจ้าของเดิมไม่ได้กรรมสิทธิ์ โอนให้ผู้อื่นก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
ย.เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นที่ดินมือเปล่าการที่ว. ซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวอ้างว่าได้ซื้อจาก ย. ตามสัญญาซื้อขายซึ่งไม่เป็นความจริงและขอออกโฉนดโดย ย. มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ว. ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่เจ้าพนักงานออกให้ เพราะเป็นการออกโฉนดตามหนังสือสัญญาขายที่ดินที่ไม่ชอบ และออกทับที่ดินซึ่ง ย.มีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนการที่ว. โอนที่ดินที่ตนไม่มีกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ขึ้นมาเป็นของโจทก์ผู้รับโอน โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่: ศาลฎีกาวินิจฉัยฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ระบุที่อยู่ต่างแขวง และอำนาจฟ้องมีอยู่เนื่องจากกรรมสิทธิ์โอนแล้ว
แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธวงศ์เขตสัมพันธวงศ์ แต่บรรยายฟ้องว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธ์วงศ์ ซึ่งต่างแขวงกันก็ ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทกันนี้เดิมจำเลยเช่าจาก ฉ. แล้วต่อมาได้ ซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 พร้อมกับตึกแถวพิพาท จาก ฉ. ดังนี้ เห็นได้ว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่จำเลย เช่าจาก ฉ. มีอยู่ห้องเดียวคือที่ปลูกอยู่บนที่ดิน โฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ฟ้องขับไล่นั่นเอง ทั้ง จำเลยยังได้อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 และตึกแถวเลขที่ 60 ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ประกอบ คำให้การของจำเลยอีกด้วย จำเลยจึงเข้าใจฟ้องได้ดีว่า ตึกแถวพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ซื้อ จาก ฉ. ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธ์วงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ จึงไม่เป็นการเกินคำขอ
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ.ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสดฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การ ซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้ โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอม ดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ.ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสดฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การ ซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้ โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอม ดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่: แม้ฟ้องระบุที่อยู่ไม่ตรงกับโฉนด แต่จำเลยเข้าใจที่ตั้งทรัพย์สิน และโจทก์มีกรรมสิทธิ์ถูกต้อง
แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ แต่บรรยายฟ้องว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธ์วงศ์ ซึ่งต่างแขวงกันก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทกันนี้เดิมจำเลยเช่าจาก ฉ. แล้วต่อมาได้ซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 พร้อมกับตึกแถวพิพาทจาก ฉ. ดังนี้ เห็นได้ว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่จำเลยเช่าจาก ฉ. มีอยู่ห้องเดียวคือที่ปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ฟ้องขับไล่นั่นเอง ทั้งจำเลยยังได้อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 และตึกแถวเลขที่ 60 ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ประกอบคำให้การของจำเลยอีกด้วย จำเลยจึงเข้าใจฟ้องได้ดีว่าตึกแถวพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ซื้อจาก ฉ. ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธ์วงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ จึงไม่เป็นการเกินคำขอ
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ. ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสด ฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ. ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสด ฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2334/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขับรถ: การพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง ศาลต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้จำเลยจะขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง ขับชิดขวา ไม่เปิดโคมไฟใหญ่ และไม่ให้สัญญาณ ถ้าโจทก์ไม่ขับรถยนต์ล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามาชนรถยนต์ที่จำเลยขับในเส้นทางเดินรถของจำเลย ก็ไม่เป็นเหตุให้ชนกันได้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
คำพิพากษาในคดีอาญาจะผูกพันแต่คู่ความเท่านั้น เมื่อจำเลยในคดีแพ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญา ศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
คำพิพากษาในคดีอาญาจะผูกพันแต่คู่ความเท่านั้น เมื่อจำเลยในคดีแพ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญา ศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอน: สิทธิในการรับค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีความว่า "เริ่ม 1 เมษายน 2525 เป็นเวลา 1 ปีหรือมากกว่า ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเมื่อสิ้นสุดการจ้าง งานปีแรก" นั้น มิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน เพราะจะจ้างอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่จ้างต่อไปอีกก็ได้ หรือเมื่อครบ 1 ปี แล้วอาจตกลงจ้างกันต่อไปเกินกว่า 1 ปีก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอน ค่าชดเชยยังคงต้องจ่าย
สัญญาจ้างที่มีความว่า 'เริ่ม 1 เมษายน 2525 เป็นเวลา 1 ปี หรือมากกว่า ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเมื่อสิ้นสุดการจ้างงานปีแรก' นั้น มิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนเพราะจะจ้างอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่จ้างต่อไปอีกก็ได้ หรือเมื่อครบ 1 ปีแล้วอาจตกลงจ้างกันต่อไปเกินกว่า 1 ปีก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยมติที่ประชุม และผลกระทบต่อการแต่งตั้งเจ้าอาวาส การใช้บังคับย้อนหลัง
โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2506) ข้อ 6 และข้อ 22 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมโดยชอบตามมาตรา 23 ต่อมาได้มีมติของที่ประชุมมหาเถรสมาคมตีความในข้อ 23 กำหนดคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 6 และข้อ 22 โดยข้อความตามข้อ 23 ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาจะต้องตีความ การตีความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มหาเถรสมาคมแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส อันเป็นการตรากฎมหาเถรสมาคมเพิ่มเติม ต้องประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ เมื่อปรากฏว่าเพิ่งจะลงประกาศภายหลังจากที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยชอบแล้ว จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้เพราะจะเป็นการใช้บังคับย้อนหลัง ดังนั้นการที่จำเลยมีคำสั่งว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นเจ้าอาวาสเป็นโมฆะเพราะขาดคุณสมบัติตามมติตีความของที่ประชุมมหาเถรสมาคมดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยที่ประชุมมหาเถรสมาคม การใช้บังคับย้อนหลัง และผลกระทบต่อการแต่งตั้งเจ้าอาวาส
โจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2506) ข้อ 6 และข้อ 22 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแหลมโดยชอบตามมาตรา 23 ต่อมาได้มีมติของที่ประชุมมหาเถรสมาคมตีความในข้อ 23 กำหนดคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 6 และข้อ 22 โดยข้อความตามข้อ 23 ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาจะต้องตีความ การตีความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มหาเถรสมาคมแก้ไขกฎมหาเถรสมาคมโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติของพระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส อันเป็นการตรากฎมหาเถรสมาคมเพิ่มเติม ต้องประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ เมื่อปรากฏว่าเพิ่งจะลงประกาศภายหลังจากที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยชอบแล้ว จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้เพราะจะเป็นการใช้บังคับย้อนหลัง ดังนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นเจ้าอาวาสเป็นโมฆะเพราะขาดคุณสมบัติตามมติตีความของที่ประชุมมหาเถรสมาคมดังกล่าวจึงเป็นการมิชอบ