พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลทางเศรษฐกิจ, ความคุ้มครองมาตรา 123, และการพิจารณาข้อเท็จจริงเฉพาะกรณี
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทในเครือเดียวกับโจทก์ที่ 2เมื่อปรากฏว่าสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 2 เท่านั้น มิได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ลูกจ้างของโจทก์ที่ 1จึงมิใช่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123แม้โจทก์ที่ 1 จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะด้วยก็ตาม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างในภาวะขาดทุนและการคุ้มครองตามมาตรา 123 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทในเครือเดียวกับโจทก์ที่ 2 เมื่อปรากฏว่าสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 2 เท่านั้น มิได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 แม้โจทก์ที่ 1 จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอลูมิเนียมและโลหะด้วยก็ตาม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างมิได้ เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของนายจ้างประสบภาวะขาดทุนตลอดมา ย่อมมีเหตุเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ กรณีมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อที่ดินก่อนมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม ไม่ยันบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามคำให้การว่าสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ จ. ระบุว่าจะให้โอกาสจำเลยได้ซื้อที่ดินก่อนผู้อื่นเมื่อสิ้นอายุสัญญาเช่าแล้ว ไม่ได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อกัน ก็ยังรับรองตามข้อตกลงเดิม ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น จะใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ ถึงโจทก์จะทราบดีว่ามีข้อตกลงดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ จ. มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่เป็นโมฆะ หาก จ. จะต้องรับผิดต่อจำเลยอย่างไร ก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาคดีไปเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063-3073/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นรายการค่าใช้จ่ายเลือกตั้งภายในกำหนด: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว
ฎีกาโจทก์อ้างว่าจำเลยยื่นรายการค่าใช้จ่ายไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดเป็นการยื่นที่ไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายจึงต้องมีความผิดฐานไม่ยื่นรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งภายในกำหนดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ยื่นภายในกำหนดแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืม - สัญญาขายฝากไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม แม้จะอ้างเป็นเจตนาเดิม ศาลไม่รับวินิจฉัยหากมิได้ยกประเด็นในชั้นต้น
ฎีกาโจทก์ที่ว่าสัญญาขายฝากตามฟ้องเป็นสัญญาที่ทำขึ้นอำพรางสัญญากู้เงินจึงใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามเจตนาเดิมได้นั้น โจทก์มิได้ยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นบรรยายเป็นประเด็นไว้ในฟ้อง และศาลชั้นต้นมิได้ตั้งประเด็นวินิจฉัยมา จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานในการขายฝากที่ดิน หาใช่เป็นหลักฐานในการกู้ยืมไม่ โจทก์จะเอาสัญญาขายฝากมาฟ้องอ้างว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตาม 653 ไม่ได้
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานในการขายฝากที่ดิน หาใช่เป็นหลักฐานในการกู้ยืมไม่ โจทก์จะเอาสัญญาขายฝากมาฟ้องอ้างว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตาม 653 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นต้น
ฎีกาโจทก์ที่ว่าสัญญาขายฝากตามฟ้องเป็นสัญญาที่ทำขึ้นอำพรางสัญญากู้เงิน จึงใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามเจตนาเดิมได้นั้น โจทก์มิได้ยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นบรรยายเป็นประเด็นไว้ในฟ้องและศาลชั้นต้นก็มิได้ตั้งประเด็นวินิจฉัยมา จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานในการขายฝากที่ดินหาใช่เป็นหลักฐานในการกู้ยืมไม่ โจทก์จะเอาสัญญาขายฝากมาฟ้องอ้างว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ไม่ได้
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานในการขายฝากที่ดินหาใช่เป็นหลักฐานในการกู้ยืมไม่ โจทก์จะเอาสัญญาขายฝากมาฟ้องอ้างว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988-2993/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อนเป็นข้อตกลงตัดสินคดีหลังได้ หากผลเป็นไปตามที่ตกลง จำเลยชนะโดยไม่ต้องสืบพยาน
การที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่าข้อเท็จจริงในคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้และตกลงท้ากันว่า ถ้าศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี จำเลยก็ชนะคดีทุกประเด็นนั้นเป็นเรื่องขอให้ถือเอาผลคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อนเป็นข้อสำคัญที่จะให้โจทก์หรือจำเลยแพ้คดีหาใช่ถือเอาผลคำวินิจฉัยในประเด็นข้อใดข้อหนึ่งเป็นข้อแพ้ชนะไม่ ฉะนั้น เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไว้แน่นอน และที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาจ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย เป็นการพิพากษานอกประเด็น ผลก็คือโจทก์แพ้คดีโดยศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง จึงตรงตามคำท้าแล้วจำเลยย่อมชนะคดีโดยไม่จำต้องสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988-2993/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อนมีผลผูกพันคดีหลังตามข้อตกลงท้าทาย หากผลเป็นไปตามที่ตกลง
การที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่าข้อเท็จจริงในคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้และตกลงท้ากันว่า ถ้าศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี จำเลยก็ชนะคดีทุกประเด็นนั้นเป็นเรื่องขอให้ถือเอาผลคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อนเป็นข้อสำคัญที่จะให้โจทก์หรือจำเลยแพ้คดีหาใช่ถือเอาผลคำวินิจฉัยในประเด็นข้อใดข้อหนึ่งเป็นข้อแพ้ชนะไม่ ฉะนั้น เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไว้แน่นอน และที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาจ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย เป็นการพิพากษานอกประเด็น ผลก็คือโจทก์แพ้คดีโดยศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง จึงตรงตามคำท้าแล้วจำเลยย่อมชนะคดีโดยไม่จำต้องสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ และการจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ
แม้จำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารที่ระบุเพิ่มเติมให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่ศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการถามค้านพยานบุคคลของจำเลยไปเพื่อให้โจทก์ได้ตรวจสอบเอกสารที่จำเลยระบุเพิ่มเติมก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใดทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87 (2) การที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์เป็นผู้แนะนำรายชื่อบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย และได้รับค่านายหน้าจากบริษัทต่างประเทศเป็นการตอบแทนทุกครั้งที่มีการซื้อขายแม้ลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์ไม่มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้า ก็เห็นได้ว่าการที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้เนื่องจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการขายสินค้า เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าโจทก์เป็นผู้แนะนำบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ต้องการซื้อสินค้า จากนั้นลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้เกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
การที่โจทก์เป็นผู้แนะนำรายชื่อบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย และได้รับค่านายหน้าจากบริษัทต่างประเทศเป็นการตอบแทนทุกครั้งที่มีการซื้อขายแม้ลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์ไม่มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้า ก็เห็นได้ว่าการที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้เนื่องจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการขายสินค้า เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าโจทก์เป็นผู้แนะนำบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ต้องการซื้อสินค้า จากนั้นลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้เกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากหน้าที่เป็นตัวแทน/นายหน้าต่างประเทศ และข้อยกเว้นตามข้อตกลงภาษีซ้อน
แม้จำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารที่ระบุเพิ่มเติมให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90แต่ศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการถามค้านพยานบุคคลของจำเลยไปเพื่อให้โจทก์ได้ตรวจสอบเอกสารที่จำเลยระบุเพิ่มเติมก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใดทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2) การที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์เป็นผู้แนะนำรายชื่อบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย และได้รับค่านายหน้าจากบริษัทต่างประเทศเป็นการตอบแทนทุกครั้งที่มีการซื้อขายแม้ลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์ไม่มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้า ก็เห็นได้ว่าการที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้เนื่องจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการขายสินค้า เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าโจทก์เป็นผู้แนะนำบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ต้องการซื้อสินค้า จากนั้นลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้เกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
การที่โจทก์เป็นผู้แนะนำรายชื่อบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย และได้รับค่านายหน้าจากบริษัทต่างประเทศเป็นการตอบแทนทุกครั้งที่มีการซื้อขายแม้ลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์ไม่มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้า ก็เห็นได้ว่าการที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้เนื่องจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการขายสินค้า เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าโจทก์เป็นผู้แนะนำบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ต้องการซื้อสินค้า จากนั้นลูกค้าจะติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้เกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร