พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีกรรมการลงชื่อครบถ้วนตามที่จดทะเบียน มิเช่นนั้นไม่ผูกพันเจ้าหนี้
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทโจทก์ว่า ส. หรือ ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ จ. หรือ อ. รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์แม้เอกสารสัญญาที่ทำขึ้นจะมีข้อความเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ แต่ในช่อง "ผู้รับสัญญา" ในเอกสารดังกล่าวมีก.กรรมการของโจทก์ลงชื่อเพียงผู้เดียวไม่ครบจำนวนตามที่จดทะเบียนไว้เอกสารดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงนามไม่ครบถ้วน ทำให้สัญญาแปลงหนี้ไม่ผูกพันเจ้าหนี้
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทโจทก์ว่า ส. หรือ ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ จ. หรือ อ. รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์แม้เอกสารสัญญาที่ทำขึ้นจะมีข้อความเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ แต่ในช่อง 'ผู้รับสัญญา' ในเอกสารดังกล่าวมีก.กรรมการของโจทก์ลงชื่อเพียงผู้เดียวไม่ครบจำนวนตามที่จดทะเบียนไว้เอกสารดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ: มีผลผูกพันและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุลูกจ้างได้ทำข้อตกลงกับนายจ้างเป็นหนังสือว่า ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยและเงินผลประโยชน์เนื่องจากการปลดเกษียณจากนายจ้างแล้วลูกจ้างรับรองว่าจะไม่ใช้สิทธิเรียกเงินอื่นใดจากนายจ้างอีกต่อไป ดังนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่หมายความว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากนายจ้างทุกประเภทซึ่งรวมทั้งเงินบำเหน็จที่ยังขาดอยู่ด้วย ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินบำเหน็จที่ยังขาดจากนายจ้างอีกต่อไป
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ: มีผลผูกพันลูกจ้าง
เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุลูกจ้างได้ทำข้อตกลงกับนายจ้างเป็นหนังสือว่า ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยและเงินผลประโยชน์เนื่องจากการปลดเกษียณจากนายจ้างแล้วลูกจ้างรับรองว่าจะไม่ใช้สิทธิเรียกเงินอื่นใดจากนายจ้างอีกต่อไป ดังนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่หมายความว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากนายจ้างทุกประเภทซึ่งรวมทั้งเงินบำเหน็จที่ยังขาดอยู่ด้วย ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินบำเหน็จที่ยังขาดจากนายจ้างอีกต่อไป
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและอำนาจการมอบอำนาจในคดีแรงงาน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
แม้ผู้ที่จะกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลย แต่วันเดียวกับที่ ว. กรรมการของจำเลยลงชื่อในคำให้การ แต่ผู้เดียวโดยมิได้มีตราสำคัญประทับนั้น จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้มาชี้แจงให้ถ้อยคำและต่อสู้คดีแทนจำเลยด้วยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องอำนาจผู้ยื่นคำให้การได้
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของ พ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของ พ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบและละเลยหน้าที่
แม้ผู้ที่จะกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ต้องมีกรรมการ 2คนลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลย แต่วันเดียวกับที่ว. กรรมการของจำเลยลงชื่อในคำให้การ แต่ผู้เดียวโดยมิได้มีตราสำคัญประทับนั้น จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้พ. เป็นผู้มาชี้แจงให้ถ้อยคำและต่อสู้คดีแทนจำเลยด้วยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องอำนาจผู้ยื่นคำให้การได้
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของพ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของพ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: คดีค่าเลี้ยงดูที่อ้างเหตุต่างกัน ศาลไม่รับฎีกา
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงดูตามหนังสือสัญญาเช่นเดียวกับคดีนี้ แต่ขณะฟ้องโจทก์ยังพักอยู่ในบ้านพิพาท ศาลวินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์ยังพักอยู่ในบ้านพิพาท โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาพิพากษายกฟ้อง ส่วนขณะฟ้องคดีนี้โจทก์อ้างว่าไม่ได้พักอยู่ในบ้านพิพาทแล้วจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างเหตุขึ้นใหม่ แม้โจทก์จำเลยจะเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีเดิมฟ้องโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงดูเป็นเงิน 13,075 บาทกับให้จำเลยชำระต่อไปเป็นรายเดือนจนตลอดชีวิตของโจทก์เป็นคดีที่จำนวนทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 20,000 บาท และเป็นการฟ้องตามสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงนี้ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงดูเป็นเงิน 13,075 บาทกับให้จำเลยชำระต่อไปเป็นรายเดือนจนตลอดชีวิตของโจทก์เป็นคดีที่จำนวนทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 20,000 บาท และเป็นการฟ้องตามสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงนี้ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง: จำเลยต้องพิสูจน์สถานะตัวแทน และข้อเท็จจริงการประพฤติชั่วร้ายแรงตามกฎข้อบังคับ
จำเลยเพียงให้การว่าโจทก์ปิดประกาศข้อความโดยมีเจตนาที่จะให้ อ. ผู้จัดการโรงงานซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบว่า อ. เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างไม่ติดใจสืบพยานและข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า อ. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเท่านั้น ไม่ได้ความว่าได้รับมอบหมายให้กระทำการหรือมีอำนาจหน้าที่อย่างใด บ้างอันจะถือว่าเป็นตัวแทนของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าอ. เป็นตัวแทนของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบและถึงแม้อ. จะเป็นตัวแทนของจำเลย ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับอ. เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยให้การไว้ด้วยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเป็นความผิดตามข้อบังคับของโจทก์ด้วย จำเลยจึงอาจเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ และศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาปัญหาดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทนเชิด แม้ไม่ใช่ลูกจ้างโดยตรง ศาลยกฟ้องเนื่องจากจำเลยที่ 2 มิใช่นายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้คดีเดิมศาลจะพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมิใช่นายจ้างของโจทก์ตามความหมายของกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้รับผิดในฐานะตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์แบ่งรายได้ระหว่างคนขับแท็กซี่กับเจ้าของกิจการ ไม่เป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
จำเลยเป็นผู้ผูกขาดกิจการรถแท็กซี่ประจำโรงแรมมีบุคคลนำรถเข้ามาร่วมพร้อมทั้งพนักงานขับรถ ถ้าไม่มีพนักงานขับรถจำเลยจะจัดหาให้ พนักงานขับรถจะต้องจ่ายค่าจอดรถให้จำเลย และต้องจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงค่าน้ำมันหล่อลื่น ค่าซ่อมและค่าบำรุงรักษารถคนละครึ่งกับจำเลยพนักงานขับรถมีรายได้จากผู้ใช้บริการรถที่ตนขับซึ่งจำเลยจะเป็นผู้เก็บรวบรวมไว้เมื่อหักค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงกันแล้วจำเลยจึงจัดแบ่งให้ทุกต้นเดือนโดยจำเลยมีสิทธิได้รับ 70 เปอร์เซ็นต์ พนักงานขับรถมีสิทธิได้รับ30 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้ เงินที่พนักงานขับรถมีสิทธิจะได้รับมิใช่เงินของจำเลยมีลักษณะต่างไปจากค่าจ้างซึ่งเป็นเงินของนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง และความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับพนักงานขับรถก็มิใช่ความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน