คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล สว่างเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368-2375/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่นัดหยุดงานและปิดกั้นโรงงาน: การเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและคืนเงินประกัน
เมื่อการกระทำของโจทก์ที่นัดหยุดงานแล้วปิดกั้นประตูโรงงานของจำเลยเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การที่จำเลยมิได้เลิกจ้างทันทีจนเวลาล่วงเลยมาปีเศษและที่จำเลยพิจารณาลูกจ้างอื่นรวมทั้งโจทก์ที่เข้าทำงานตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า ลูกจ้างคนใดประพฤติตัวดีก็ไม่เลิกจ้าง คงเลิกจ้างเฉพาะผู้ที่มิได้กลับตัวประพฤติตนให้ดีขึ้นนั้นเป็นเพียงเหตุประกอบการพิจารณาที่จะอภัยแก่การกระทำของลูกจ้างและโจทก์ที่ปิดกั้นประตูโรงงานหรือไม่เท่านั้น และเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับพวกก็คือเหตุที่ร่วมกันปิดกั้นประตูโรงงานนั่นเองจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสละสิทธิเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์กระทำผิดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงไม่ต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์แต่จำเลยเพียงนำสืบว่าโจทก์ร่วมกันปิดกั้นประตูโรงงานของจำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยเสียหายอย่างไรเป็นจำนวนเงินเท่าใด จำเลยจึงต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: การพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างโรคประจำตัวและสภาพแวดล้อมการทำงาน
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ผู้ตายเป็นลูกจ้างได้ประสบอันตรายถึงแก่ความตายและเรียกเงินทดแทนแยกเป็นค่าทดแทนและค่าทำศพ เท่ากับโจทก์อ้างสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว ส่วนจำนวนที่เรียกร้องจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะวินิจฉัยต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โรคหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็น ผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงดังนี้ เมื่อผู้ตายเดินตรวจสต๊อกในโชว์รูมแล้วลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายโดยมีบาดแผลบริเวณแก้มขวาเพียงเล็กน้อย ประกอบทั้งการตรวจพิสูจน์ของแพทย์ว่าสาเหตุของการตายเกิดจากหัวใจวาย และปรากฏว่าผู้ตายเป็นโรคหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่จะประสบอันตรายเพราะเกิดภาวะหัวใจวายโดยฉับพลันมีขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: การพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานและโรคประจำตัว
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ผู้ตายเป็นลูกจ้างได้ประสบอันตรายถึงแก่ความตายและเรียกเงินทดแทนแยกเป็นค่าทดแทนและค่าทำศพเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว ส่วนจำนวนที่เรียกร้องจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะวินิจฉัยต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โรคหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็น ผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงดังนี้ เมื่อผู้ตายเดินตรวจสต๊อกในโชว์รูมแล้วลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายโดยมีบาดแผลบริเวณแก้มขวาเพียงเล็กน้อย ประกอบทั้งการตรวจพิสูจน์ของแพทย์ว่าสาเหตุของ การตายเกิดจากหัวใจวาย และปรากฏว่าผู้ตายเป็นโรคหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่จะประสบอันตรายเพราะเกิดภาวะหัวใจวายโดยฉับพลันมีขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองมรดกแทนกันและการไม่ขาดอายุความในคดีที่ดินมือเปล่า
เจ้ามรดกยังไม่ได้ยกที่ดินตามฟ้องให้แก่ทายาทเป็นส่วนสัดเพียงแต่แบ่งที่ดินให้อยู่อาศัยและทำกินกันเท่านั้น เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินตามฟ้องจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทการที่ทายาทแยกกันครอบครองอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองมรดกแทนซึ่งกันและกัน แม้ที่ดินมรดกจะเป็นที่ดินมือเปล่าและโจทก์ทราบการตายของเจ้ามรดกเกินกว่าหนึ่งปี หรือโจทก์มิได้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดีซึ่งทายาทอื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ขอแบ่งมรดกรายนี้ คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองมรดก: การครอบครองแทนกันของทายาททำให้คดีไม่ขาดอายุความ แม้เป็นที่ดินมือเปล่า
เจ้ามรดกยังไม่ได้ยกที่ดินตามฟ้องให้แก่ทายาทเป็นส่วนสัดเพียงแต่แบ่งที่ดินให้อยู่อาศัยและทำกินกันเท่านั้น เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินตามฟ้องจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท การที่ทายาทแยกกันครอบครองอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองมรดกแทนซึ่งกันและกัน แม้ที่ดินมรดกจะเป็นที่ดินมือเปล่าและโจทก์ทราบการตายของเจ้ามรดกเกินกว่าหนึ่งปี หรือโจทก์มิได้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดีซึ่งทายาทอื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 ขอแบ่งมรดกรายนี้ คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องชั่งผิดอัตราเพื่อเอารัดเอาเปรียบในการค้า เป็นความผิดทางอาญาที่ศาลไม่รอการลงโทษ
จำเลยมีอาชีพรับซื้อขายข้าวโพด ซึ่งต้องใช้เครื่องชั่งเป็นประจำ การใช้เครื่องชั่งแต่ละครั้ง จำเลยเอาเปรียบครั้งละ 2 หรือ 2.5 กิโลกรัม การซื้อขายแต่ละคราวผู้ติดต่อค้าขายกับจำเลยอาจเสียหายเป็นจำนวนมากปกติการค้าขายผู้ค้าขายย่อมได้ผลกำไรจากการซื้อถูกขายแพงอยู่แล้วการที่จำเลยยังเอาเปรียบในการค้าด้วยการมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา จึงไม่มีเหตุอันควรปรานีศาลไม่รอการลงโทษจำคุกให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มิใช่การซื้อขายหุ้นตามปกติ แต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษ จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง กำหนด
แม้การซื้อขายหุ้นตามฟ้องจะเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคากว่าห้าร้อยบาทซึ่งกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสอง แต่บทกฎหมายดังกล่าวบังคับเพื่อความสมบูรณ์ขอสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างจำเลยซึ่งเป็นตัวการกับโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทน
ประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงินฯ ลงวันที่ 14 เมษายน 2520 ข้อ 1 เป็นระเบียบหรือข้อบังคับที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ถือปฏิบัติ หากสมาชิกใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับ ทั้งการที่โจทก์ออกเงินทดรองซื้อหุ้นให้จำเลยแล้วเรียกร้องให้จำเลยชดใช้คืนก็มิใช่เป็นการพนันขันต่อ แม้จะมีข้อตกลงซื้อขายหลักทรัพย์บางประการขัดกับประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวแทนจับตัวการเสียไป
พยานที่ระบุเพิ่มเติมส่วนใหญ่เป็นพยานที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลวินิจฉัยได้เอง และบางส่วนเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ ศาลไม่รับพยานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบการโอนหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 และข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทน
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มิใช่การซื้อขายหุ้นตามปกติแต่เป็นการซื้อขายหุ้นในกรณีพิเศษ จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง กำหนด
แม้การซื้อขายหุ้นตามฟ้องจะเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคากว่าห้าร้อยบาทซึ่งกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและการตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสองแต่บทกฎหมายดังกล่าวบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นมิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างจำเลยซึ่งเป็นตัวการกับโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทน ประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดอัตราส่วนการให้กู้ยืมเงินฯ ลงวันที่ 14 เมษายน2520 ข้อ 1 เป็นระเบียบหรือข้อบังคับที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ถือปฏิบัติหากสมาชิกใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับทั้งการที่โจทก์ออกเงินทดรองซื้อหุ้นให้จำเลยแล้วเรียกร้องให้จำเลยชดใช้คืนก็มิใช่เป็นการพนันขันต่อแม้จะมีข้อตกลงซื้อขายหลักทรัพย์บางประการขัดกับประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวแทนกับตัวการเสียไป พยานที่ระบุเพิ่มเติมส่วนใหญ่เป็นพยานที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลวินิจฉัยได้เองและบางส่วนเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบศาลไม่รับพยานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกรรมการและผู้รับมอบอำนาจในคดีฉ้อโกง
บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล และเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3จะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการสาขาของจำเลยที่ 1 ที่กรุงเทพมหานครด้วยอีก ตำแหน่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจการ ดำเนินกิจการของสาขากรุงเทพมหานครให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 โดยระบุว่า ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งมีอำนาจ ดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 แสดงว่าผู้รับมอบอำนาจต่างมีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยเอกเทศประกอบกับการสั่งซื้อขายหุ้นโจทก์สั่งกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 โดยตรง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการกระทำใด ๆ ที่โจทก์อ้างว่าเป็นการฉ้อโกงโจทก์ และไม่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของสาขาจำเลยที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจดำเนินงานสาขา ทำให้กรรมการไม่ต้องรับผิดชอบการฉ้อโกง หากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง
บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล และเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการสาขาของจำเลยที่ 1 ที่กรุงเทพมหานครด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจการดำเนินกิจการของสาขากรุงเทพมหานครให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 โดยระบุว่า ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งมีอำนาจ ดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 แสดงว่าผู้รับมอบอำนาจต่างมีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยเอกเทศประกอบกับการสั่งซื้อขายหุ้นโจทก์สั่งกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 โดยตรงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการกระทำใด ๆที่โจทก์อ้างว่าเป็นการฉ้อโกงโจทก์ และ ไม่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของสาขาจำเลยที่ 1 ที่ กรุงเทพมหานคร จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
of 73