คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล สว่างเนตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาเหตุของเครื่องจักรเสีย และการตีความความผิดร้ายแรงตามระเบียบบริษัท
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปเป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การมิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุร้ายแรงตามระเบียบ หากพฤติการณ์ไม่ถึงขั้นร้ายแรง การเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป เป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่ เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ มิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาเพื่ออบรม/สัมมนาของลูกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน นายจ้างต้องพิจารณาสิทธิการลาตามข้อตกลงร่วมกัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าผู้ร้องอนุญาตให้สมาชิกสหภาพแรงงานไปประชุมหรือสัมมนาได้ เพียงแต่ต้องขอลาต่อผู้ร้องล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจะเริ่มลางานในวันที่ 29 สิงหาคม 2526 เพื่อไปร่วมสัมมนา คำว่าล่วงหน้าย่อมแปลได้ว่าล่วงหน้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2526 มิใช่แจ้งในวันดังกล่าวอันเป็นวันเริ่มลางาน ที่ผู้ร้องไม่อนุญาตให้ลาและถือว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่เป็นการชอบแล้ว การที่ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ไปร่วมสัมมนานั้น เมื่อมีหนังสือกรมแรงงานชี้แจงผู้ร้องว่าการสัมมนาอาจเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง ประกอบทั้งสหภาพแรงงานได้คัดเลือกผู้คัดค้านให้เป็นผู้เข้าสัมมนา นับเป็นเหตุสมควรที่ผู้คัดค้านจะหาทางเข้าร่วมสัมมนา ถือไม่ได้ว่าการละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรเพียงแต่ผู้คัดค้านมิได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบการลาเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาเพื่อเข้าร่วมสัมมนาของสมาชิกสหภาพแรงงาน นายจ้างต้องพิจารณาเหตุผลสมควร แม้จะไม่ได้ลาตามระเบียบ
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าผู้ร้องอนุญาตให้สมาชิกสหภาพแรงงานไปประชุมหรือสัมมนาได้ เพียงแต่ต้องขอลาต่อผู้ร้องล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจะเริ่มลางานในวันที่ 29 สิงหาคม 2526 เพื่อไปร่วมสัมมนา คำว่าล่วงหน้าย่อมแปลได้ว่าล่วงหน้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2526 มิใช่แจ้งในวันดังกล่าวอันเป็นวันเริ่มลางาน ที่ผู้ร้องไม่อนุญาตให้ลาและถือว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่เป็นการชอบแล้ว
การที่ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ไปร่วมสัมมนานั้น เมื่อมีหนังสือกรมแรงงานชี้แจงผู้ร้องว่าการสัมมนาอาจเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างประกอบทั้งสหภาพแรงงานได้คัดเลือกผู้คัดค้านให้เป็นผู้เข้าสัมมนา นับเป็นเหตุสมควรที่ผู้คัดค้านจะหาทางเข้าร่วมสัมมนา ถือไม่ได้ว่าการละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพียงแต่ผู้คัดค้านมิได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบการลาเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชย การเปลี่ยนแปลงระเบียบ และหลักเกณฑ์การจ่ายที่แตกต่างกัน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเมื่อมีข้อบังคับขององค์กรใช้บังคับแล้ว ถือเป็นสิทธิแยกจากระเบียบเดิม
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918-1919/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังศาลตัดสินเรื่องค่าชดเชยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
หลังจากถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จ่ายไม่ถูกต้องจากจำเลยศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพิ่มและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31 เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ เป็นการฟ้องโดยอาศัยเหตุจากการเลิกจ้างของจำเลยเป็นมูล ซึ่งเหตุนี้โจทก์อาจยกขึ้นได้เมื่อฟ้องจำเลยในคดีก่อนแต่มิได้ ฟ้องรวมไปในคราวเดียวกันกลับยกขึ้นฟ้องในภายหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้คิดดอกเบี้ยทบต้นขัดต่อกฎหมาย แม้มีข้อตกลงในสัญญา
สัญญากู้เงินข้อ 2 ระบุไว้ความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะส่งชำระดอกเบี้ยภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน ไม่ให้ผิดนัด ถ้าผิดนัดยอมให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้น ถือเป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยเข้าแล้วนี้ต่อไปทุกคราว ตามอัตราและกำหนดชำระที่กล่าวแล้ว นั้น เป็นข้อตกลงที่ให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเดือนใด ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งก่อน ข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ผู้ให้กู้มีวัตถุประสงค์รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เป็นสัญญากู้เงินกันตามธรรมดาโดยจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เพียงฝ่ายเดียว ไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบกันแม้โจทก์จะทำทะเบียนสัญญากู้เงินไว้ทะเบียนดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพียงเพื่อประสงค์จะทราบว่า จำเลยที่ 1กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแล้วเพียงใดกับยังค้างชำระอีกเท่าใด มิใช่เป็นการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เงินที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
สัญญากู้เงินข้อ 2 ระบุไว้ความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะส่งชำระดอกเบี้ยภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน ไม่ให้ผิดนัด ถ้าผิดนัดยอมให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้น ถือเป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยเข้าแล้วนี้ต่อไปทุกคราว ตามอัตราและกำหนดชำระที่กล่าวแล้ว นั้น เป็นข้อตกลงที่ให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเดือนใด ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งก่อนข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ตกเป็นโมฆะ โจทก์ผู้ให้กู้มีวัตถุประสงค์รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงินสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เป็นสัญญากู้เงินกันตามธรรมดา โดยจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เพียงฝ่ายเดียว ไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบกันแม้โจทก์จะทำทะเบียนสัญญากู้เงินไว้ทะเบียนดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพียงเพื่อประสงค์จะทราบว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแล้วเพียงใด กับยังค้างชำระอีกเท่าใด มิใช่เป็นการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเงินและเศรษฐกิจของรัฐ ไม่แสวงหากำไร
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางในการปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐดำเนินกิจการควบคุมการเงินและการคลังของรัฐให้ถูกต้อง เหมาะสมและมีเสถียรภาพ ธุรกิจที่ธนาคารนี้ประกอบก็กระทำไปในฐานะธนาคารกลาง มิได้เป็นการแข่งขันกับ ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น หากจะมีกำไรบ้างก็ เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นถือไม่ได้ว่ามีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจจึงได้รับยกเว้นมิต้อง อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
of 73