พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเงินและเศรษฐกิจของรัฐ ไม่แสวงหากำไร
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางในการปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐดำเนินกิจการควบคุมการเงินและการคลังของรัฐให้ถูกต้อง เหมาะสมและมีเสถียรภาพ ธุรกิจที่ธนาคารนี้ประกอบก็กระทำไปในฐานะธนาคารกลาง มิได้เป็นการแข่งขันกับ ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น หากจะมีกำไรบ้างก็ เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นถือไม่ได้ว่ามีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจจึงได้รับยกเว้นมิต้อง อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟัง ทำให้จำเลยที่เคยชนะคดีต้องแพ้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้โจทก์เพียง 1,738.50 บาทโดยฟังข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่ามีการ ชำระหนี้แล้ว30,000 บาท ซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยชนะคดีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้หนี้เต็มจำนวนตามฟ้องซึ่ง เป็นเงินจำนวนมาก ทั้งเป็นการแก้ข้อสำคัญที่จำเลยชนะ ในศาลชั้นต้นให้แพ้ทั้งหมดจึงเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เปลี่ยนแปลงผลแพ้ชนะคดีเดิม และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้โจทก์เพียง 1,738.50 บาทโดยฟังข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่ามีการ ชำระหนี้แล้ว30,000 บาท ซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยชนะคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้หนี้เต็มจำนวนตามฟ้องซึ่ง เป็นเงินจำนวนมากทั้งเป็นการแก้ข้อสำคัญที่จำเลยชนะ ในศาลชั้นต้นให้แพ้ทั้งหมด จึงเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่ารื้อถอนอาคารต่อเติมหลังโอนสิทธิ เจ้าของเดิมไม่ต้องรับผิดหากกฎหมายใหม่บังคับใช้
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ทำการต่อเติมอาคารดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หลังจากจำเลยถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้วจึงได้ขายอาคารพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 และให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แทน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับให้รื้ออาคารส่วนที่ต่อเติม ดังนี้ต้องใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับ ซึ่งมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้รื้อ เจ้าของอาคารต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไม่ใช่เจ้าของอาคารพิพาทแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเจ้าของอาคารและการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารหลังมีการยกเลิกกฎหมายเดิม ผู้โอนสิทธิไม่ต้องรับผิดค่ารื้อถอน
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ทำการต่อเติมอาคารดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หลังจากจำเลยถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้วจึงได้ขายอาคารพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 และให้ใช้ พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แทน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับให้รื้ออาคารส่วนที่ต่อเติม ดังนี้ต้องใช้พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับ ซึ่งมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้รื้อ เจ้าของอาคารต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไม่ใช่เจ้าของอาคารพิพาทแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจัดการสินสมรส: ศาลแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ได้ แม้ไม่มีความยินยอมจากสามีตั้งแต่แรก
แม้การฟ้องคดีเรื่องขับไล่ออกจากที่ดินจะถือเป็นเรื่องจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477และโจทก์เป็นหญิงมีสามี ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ก็ไม่มีผลถึงกับจะต้องยกฟ้อง เพราะเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 การที่โจทก์ยื่นหนังสือยินยอมอนุญาตให้ฟ้องคดีของสามี และศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ เป็นเรื่องศาลให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ และไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องระบุอ้างหนังสือดังกล่าวไว้ในบัญชีพยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 อีก ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวและวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากลูกจ้าง และการไม่มีส่วนรับผิดในความเสียหายโดยตรง
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ขับรถของโจทก์ไปชนกับรถของบุคคลภายนอก แม้รถยนต์ชนกันครั้งนี้จะเกิดจากจำเลยทำละเมิดและรถยนต์ที่จำเลยขับซึ่งเป็นของโจทก์มีสภาพบกพร่องห้ามล้อไม่ดี แต่โจทก์ก็ไม่ใช่คู่กรณีผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยจึงไม่ใช่เรื่องโจทก์เป็นผู้เสียหายและมีส่วนทำผิดก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งจะต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442,223 เพื่อเฉลี่ยความรับผิดตามข้อต่อสู้ของจำเลยกรณีนี้เป็นเรื่องโจทก์ต้องร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,426 เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายและพิพากษาให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์เพียงบางส่วนจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องชำระค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายให้บุคคลภายนอกไปเต็มจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อค่าเสียหายจากอุบัติเหตุของลูกจ้าง และสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ขับรถของโจทก์ไปชนกับรถของบุคคลภายนอก แม้รถยนต์ชนกันครั้งนี้จะเกิดจากจำเลยทำละเมิดและรถยนต์ที่จำเลยขับซึ่งเป็นของโจทก์มีสภาพบกพร่องห้ามล้อไม่ดีแต่โจทก์ก็ไม่ใช่คู่กรณีผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยจึงไม่ใช่เรื่องโจทก์เป็นผู้เสียหายและมีส่วนทำผิดก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งจะต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442, 223เพื่อเฉลี่ยความรับผิดตามข้อต่อสู้ของจำเลยกรณีนี้เป็นเรื่องโจทก์ต้องร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแล้วใช้สิทธิ ไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425, 426 เท่านั้นที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความ เสียหายและพิพากษาให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์เพียงบางส่วนจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องชำระค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายให้บุคคลภายนอกไปเต็มจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับเงินบำเหน็จ เริ่มนับจากวันที่จำเลยอนุญาตให้ลาออก ไม่ใช่วันยื่นใบลาออก
ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ต้องยื่นขอรับเงินภายใน 120 วัน นับแต่วันออกจากงานจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิที่จะ เรียกร้องเงินบำเหน็จจากจำเลยได้แล้ว คือวันที่จำเลยอนุญาต ให้โจทก์ลาออกจากงานเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ ยื่นใบลาออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับเงินบำเหน็จ เริ่มนับจากวันที่จำเลยอนุญาตให้ลาออก ไม่ใช่วันที่ยื่นใบลาออก
ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จต้องยื่นขอรับเงินภายใน 120 วัน นับแต่วันออกจากงาน จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จจากจำเลยได้แล้ว คือวันที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากงานเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ยื่นใบลาออก