พบผลลัพธ์ทั้งหมด 728 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นบริษัทกับสถานะนายจ้าง-ลูกจ้างต่อเนื่อง อายุงานนับต่อเนื่อง
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้น มีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่ จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า 'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้น จากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้อง นับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงตัวผู้ถือหุ้นและการดำเนินกิจการต่อเนื่อง: สถานะนายจ้าง-ลูกจ้างยังคงเดิม
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1 เช่ามาจากผู้อื่น จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่
จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่
จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นและการสืบตำแหน่งนายจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1เช่ามาจากผู้อื่น. จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง. บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่. จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล. ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน. แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม. แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา. จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย.จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การรับสารภาพต้องชัดเจนถึงเจตนาทุจริต การสอบสวนต้องถูกต้องตามข้อบังคับ
ประเด็นที่ศาลแรงงานกำหนดไว้เป็นเพียงการกำหนดว่าข้อพิพาทมีอย่างไรบ้างเท่านั้น หาจำต้องวินิจฉัยประเด็นเรียงลำดับไปไม่ ศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้ว่า การวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนจะเป็นผลให้คดีไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป ก็ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ตัดตั๋วให้ผู้โดยสารขาดไป 2 ใบ เมื่อพนักงานตรวจการของจำเลยตรวจพบ โจทก์ให้การต่อผู้บังคับบัญชารับว่าเป็นความจริง และกล่าวด้วยว่าโจทก์รีบมากจึงลืมไป โจทก์ขอยอมรับว่าได้ทำผิดจริง จำเลยจึงมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่โดยไม่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับ เพราะถือว่าเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งด้วยเหตุโจทก์ให้การรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้ การที่โจทก์อ้างว่าลืม ก็เท่ากับเป็นการอ้างว่ามิได้มีเจตนาทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้การรับสารภาพแล้ว ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวหา เมื่อจำเลยด่วนลงโทษโจทก์โดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบังคับ จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ตัดตั๋วให้ผู้โดยสารขาดไป 2 ใบ เมื่อพนักงานตรวจการของจำเลยตรวจพบ โจทก์ให้การต่อผู้บังคับบัญชารับว่าเป็นความจริง และกล่าวด้วยว่าโจทก์รีบมากจึงลืมไป โจทก์ขอยอมรับว่าได้ทำผิดจริง จำเลยจึงมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่โดยไม่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับ เพราะถือว่าเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งด้วยเหตุโจทก์ให้การรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้ การที่โจทก์อ้างว่าลืม ก็เท่ากับเป็นการอ้างว่ามิได้มีเจตนาทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้การรับสารภาพแล้ว ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวหา เมื่อจำเลยด่วนลงโทษโจทก์โดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบังคับ จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การรับสารภาพต้องมีเจตนาทุจริต การสอบสวนก่อนลงโทษ
ประเด็นที่ศาลแรงงานกำหนดไว้เป็นเพียงการกำหนดว่าข้อพิพาทมีอย่างไรบ้างเท่านั้น หาจำต้องวินิจฉัยประเด็นเรียงลำดับไปไม่ ศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้ว่า การวินิจฉัย ประเด็นข้อใดก่อนจะเป็นผลให้คดีไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น ต่อไป ก็ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ตัดตั๋วให้ผู้โดยสารขาดไป 2 ใบ เมื่อพนักงานตรวจการของจำเลยตรวจพบ โจทก์ให้การต่อผู้บังคับบัญชา รับว่าเป็นความจริง และกล่าวด้วยว่าโจทก์รีบมากจึงลืมไป โจทก์ขอยอมรับว่าได้ทำผิดจริง จำเลยจึงมีคำสั่งไล่ โจทก์ออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่โดยไม่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับ เพราะถือว่าเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งด้วยเหตุโจทก์ให้การรับสารภาพเป็น หนังสือต่อผู้บังคับบัญชา ดังนี้ การที่โจทก์อ้างว่าลืม ก็เท่ากับเป็นการอ้างว่ามิได้มีเจตนาทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้การรับสารภาพแล้ว ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวหา เมื่อจำเลยด่วนลงโทษโจทก์โดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบังคับ จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ตัดตั๋วให้ผู้โดยสารขาดไป 2 ใบ เมื่อพนักงานตรวจการของจำเลยตรวจพบ โจทก์ให้การต่อผู้บังคับบัญชา รับว่าเป็นความจริง และกล่าวด้วยว่าโจทก์รีบมากจึงลืมไป โจทก์ขอยอมรับว่าได้ทำผิดจริง จำเลยจึงมีคำสั่งไล่ โจทก์ออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่โดยไม่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับ เพราะถือว่าเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งด้วยเหตุโจทก์ให้การรับสารภาพเป็น หนังสือต่อผู้บังคับบัญชา ดังนี้ การที่โจทก์อ้างว่าลืม ก็เท่ากับเป็นการอ้างว่ามิได้มีเจตนาทุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้การรับสารภาพแล้ว ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวหา เมื่อจำเลยด่วนลงโทษโจทก์โดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบังคับ จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายระงับเมื่ออัยการฟ้องและมีคำพิพากษาแล้ว
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2525ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 12 กรกฎาคม 2525 ครั้นวันที่ 10มิถุนายน 2525 อัยการฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกัน แต่ขอให้ลงโทษตาม มาตรา 391 จำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 33 ก็ต่อเมื่อปรากฏต่อศาลโดยศาลรู้เองหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมีคำพิพากษาว่าอัยการและผู้เสียหายต่างฟ้องเรื่องเดียวกันหรือต่างศาลกัน เมื่อศาลไม่รู้ดังกล่าว และการกระทำความผิดของจำเลยตามที่ผู้เสียหายฟ้องได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ สิทธิของผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากป่วยและการบอกกล่าวเลิกจ้างที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
การที่จำเลยให้โจทก์ลาออกแต่โจทก์ไม่ยอม อาจเป็นเพราะโจทก์ยังเสียดายตำแหน่งและค่าจ้างแม้จะเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์โดยไม่ได้รับผลงานเท่าที่ควรก็เนื่องจากสมรรถภาพในการทำงานของโจทก์ลดน้อยถอยลงเพราะความบกพร่องของร่างกายและสมองถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์ไม่ยอมลาออกเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 นั้นต้องเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างอย่างเป็นกิจจะลักษณะและต้องกำหนดวันที่จะเลิกจ้างไว้ด้วยการที่จำเลยบอกโจทก์เพียงว่าจะเลิกจ้างโจทก์เท่านั้นยังไม่ชอบด้วยมาตรา 582
การบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 นั้นต้องเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างอย่างเป็นกิจจะลักษณะและต้องกำหนดวันที่จะเลิกจ้างไว้ด้วยการที่จำเลยบอกโจทก์เพียงว่าจะเลิกจ้างโจทก์เท่านั้นยังไม่ชอบด้วยมาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย-บอกกล่าวล่วงหน้าไม่ชัดเจน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าว
การที่จำเลยให้โจทก์ลาออกแต่โจทก์ไม่ยอม อาจเป็นเพราะโจทก์ยังเสียดายตำแหน่งและค่าจ้าง แม้จะเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์โดยไม่ได้รับผลงานเท่าที่ควรก็เนื่องจากสมรรถภาพในการทำงานของโจทก์ลดน้อยถอยลงเพราะความบกพร่องของร่างกายและสมอง ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์ไม่ยอมลาออกเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 นั้น ต้องเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างอย่างเป็นกิจจะลักษณะและต้องกำหนดวันที่จะเลิกจ้างไว้ด้วย การที่จำเลยบอกโจทก์เพียงว่าจะเลิกจ้างโจทก์เท่านั้นยังไม่ชอบด้วยมาตรา 582
การบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 นั้น ต้องเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างอย่างเป็นกิจจะลักษณะและต้องกำหนดวันที่จะเลิกจ้างไว้ด้วย การที่จำเลยบอกโจทก์เพียงว่าจะเลิกจ้างโจทก์เท่านั้นยังไม่ชอบด้วยมาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในละเมิดที่เกิดจากการทำงาน โจทก์ไม่ต้องแจ้งค่าเสียหายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้าง จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิด ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ก่อนฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง: ไม่ต้องบอกกล่าวค่าเสียหายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ก่อนฟ้องคดี