คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 39 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซ้ำซ้อน: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเดิม แม้ฟ้องคดีใหม่ภายหลัง
คดีก่อนผู้เสียหายฟ้องจำเลยที่ 1 ให้คดีนี้ในข้อหาบุกรุก ความผิดต่อเสรีภาพ และทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ต่อมาพนักงานอัยการได้นำการกระทำอันเดียวกันกับคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาบุกรุก แม้คดีก่อนศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืน คดีถึงที่สุดหลักจากที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีนี้ก็ตาม ก็ถือได้ว่าสำหรับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธิของพนักงานอัยการที่นำคดีนี้มาฟ้องจึงระงับไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำก่อให้เกิดความผิดนั้น ๆ หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษจำเลยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1275/2509)
แม้จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็ตาม แต่ก็ย่อมได้รับผลตามคำพิพากษา เพราะคำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ว่าการกระทำของจำเลยกับพวกไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกศาลจึงต้องยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดกรรมเดียว แม้แยกฐานความผิดได้ ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
ในคดีความผิดครั้งเดียวและกรรมเดียวกัน เมื่ออัยการโจทก์ได้ฟ้องจำเลยและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ผู้เสียหายจะฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวนั้นอีกไม่ได้ แม้ว่าการกระทำหรือกรรมนั้นจะแบ่งแยกความผิดออกได้เป็นหลายฐาน หรือเป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดที่ยอมความกันได้ก็ตาม เพราะคำว่า "ในความผิด" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มีความหมายถึงการกระทำอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน มิได้หมายถึงฐานความผิด