พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องเงินทดแทน จำเลยไม่มีอำนาจสั่งให้ชดใช้
พนักงานเงินทดแทนมิได้สอบสวนหรือมีคำสั่งในกรณีที่ ป. ยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทนจากนายจ้างเกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใด เพราะไม่มีผู้ใดกล่าวอ้างว่าโจทก์ต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนรายนี้ด้วย โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ จำเลยซึ่งเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งเงินทดแทนของพนักงานเงินทดแทนจึงไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายหรือไม่จ่ายเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองบานประตูไม้สักเพื่อการค้าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้จะใช้ในการรับเหมา
แม้มาตรา5 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จะบัญญัติให้คัดสำเนาประกาศปิดตามสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องก็เป็นเพียงกำหนดวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติในการประกาศเท่านั้นหาใช่บทบัญญัติอันเป็นองค์ประกอบความผิดไม่จึงไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องมาด้วย หากจำเลยเห็นว่ายังไม่ได้มีการปิดประกาศตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งจะใช้บังคับจำเลยไม่ได้ ก็ชอบที่จะยกขึ้นต่อสู้ให้เป็นประเด็นแต่จำเลยมิได้ต่อสู้เช่นนั้นคงต่อสู้ว่าจำเลยมีบานประตูไม้สักไว้ในความครอบครองโดยชอบ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าบานประตูไม้สักเป็นเครื่องใช้ซึ่งอยู่ในข่ายควบคุมประกาศดังกล่าว จำเลยมิได้หลงต่อสู้ประการใด ฟ้องของโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
บานประตูไม้สักมีสภาพเป็นเครื่องใช้ แม้จะเหลือจากการรับเหมาก่อสร้างก็ยังคงมีสภาพเป็นเครื่องใช้อยู่เช่นเดิม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าประเภทรับเหมาก่อสร้างแม้จะมีบานประตูไม้สักไว้ใช้ในการรับเหมาก่อสร้าง ก็เป็นการมีไว้ในความครอบครองเพื่อการค้าเช่นเดียวกัน หาจำเป็นต้องมีไว้เพื่อขายโดยตรงไม่
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ซึ่งมีบานประตูไม้สักไว้ในครอบครองเพื่อการค้าจำเลยในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ลงมือกระทำการย่อมจะต้องรับผิดในทางอาญาด้วย คดีนี้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในฐานะตัวการผู้ร่วมกระทำผิดมิได้ลงโทษจำคุกในฐานะที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล จึงไม่ขัดกับมาตรา 7 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บานประตูไม้สักมีสภาพเป็นเครื่องใช้ แม้จะเหลือจากการรับเหมาก่อสร้างก็ยังคงมีสภาพเป็นเครื่องใช้อยู่เช่นเดิม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าประเภทรับเหมาก่อสร้างแม้จะมีบานประตูไม้สักไว้ใช้ในการรับเหมาก่อสร้าง ก็เป็นการมีไว้ในความครอบครองเพื่อการค้าเช่นเดียวกัน หาจำเป็นต้องมีไว้เพื่อขายโดยตรงไม่
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ซึ่งมีบานประตูไม้สักไว้ในครอบครองเพื่อการค้าจำเลยในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ลงมือกระทำการย่อมจะต้องรับผิดในทางอาญาด้วย คดีนี้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในฐานะตัวการผู้ร่วมกระทำผิดมิได้ลงโทษจำคุกในฐานะที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล จึงไม่ขัดกับมาตรา 7 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง เงินโบนัสไม่เป็นค่าจ้างในการคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ลักษณะการจ่ายเงินค่าครองชีพซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างพื้นฐานมีลักษณะเป็นการจ่ายประจำและแน่นอนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง แม้จะจ่ายเพื่อช่วยเหลือในภาวะเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพสูงขึ้นก็ตามเงินค่าครองชีพก็เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และไม่ใช่เงินประเภทเดียวกันกับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งไม่ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ดังนั้น เงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนด้วย
ส่วนเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสนั้น คณะกรรมการบริษัทนายจ้างจะไม่อนุมัติให้จ่ายในปีใดก็ได้ ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสบทบกองทุนเงินทดแทน
ส่วนเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสนั้น คณะกรรมการบริษัทนายจ้างจะไม่อนุมัติให้จ่ายในปีใดก็ได้ ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสบทบกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ส่วนเงินโบนัสไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ลักษณะการจ่ายเงินค่าครองชีพซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างพื้นฐาน มีลักษณะเป็นการจ่ายประจำและแน่นอนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง แม้จะจ่ายเพื่อช่วยเหลือในภาวะเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพสูงขึ้นก็ตาม เงินค่าครองชีพก็เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และไม่ใช่เงินประเภทเดียวกันกับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งไม่ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ดังนั้น เงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนด้วย
ส่วนเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสนั้น คณะกรรมการบริษัทนายจ้างจะไม่อนุมัติให้จ่ายในปีใดก็ได้ ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสม เงินรางวัลประจำปีจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสบทบกองทุนเงินทดแทน
ส่วนเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสนั้น คณะกรรมการบริษัทนายจ้างจะไม่อนุมัติให้จ่ายในปีใดก็ได้ ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสม เงินรางวัลประจำปีจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสบทบกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งสินสมรสซ้ำหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. ม.148
โจทก์จำเลยเคยมีคดีฟ้องร้องพิพาทกันเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้แบ่งสินสมรสตามที่คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกัน และคดีถึงที่สุดไปแล้วการที่โจทก์กลับมาฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยอีก ไม่ว่าทรัพย์ในคดีนี้จะเป็นทรัพย์รายเดียวกันกับคดีก่อนหรือต่างรายกัน ก็ยังเป็นการฟ้องร้องในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอยู่นั่นเอง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. ม.148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิในที่ดินภายหลัง
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ต่อศาลและศาลได้ พิพากษาตามยอมแล้ว ว่าจำเลยจะออกจากห้องพิพาทภายในกำหนด สองปี เมื่อครบกำหนดจำเลยไม่ยอมออกไป ถือว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะอยู่ใน ห้องพิพาทต่อไป ส่วนการที่จำเลยได้รับอนุมัติจากกรมการศาสนาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ห้องพิพาทตั้งอยู่ให้เช่าที่ดินได้นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะกล่าวอ้างมา เพื่อไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ต่อศาลและศาลได้ พิพากษาตามยอมแล้ว ว่าจำเลยจะออกจากห้องพิพาทภายในกำหนดสองปี เมื่อครบกำหนดจำเลยไม่ยอมออกไป ถือว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะอยู่ในห้องพิพาทต่อไป ส่วนการที่จำเลยได้รับอนุมัติจากกรมการศาสนาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ห้องพิพาทตั้งอยู่ให้เช่าที่ดินได้นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะกล่าวอ้างมาเพื่อไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานลูกจ้างมิใช่การเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาพักงาน
การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง โจทก์จำเลยยังคงเป็นลูกจ้างนายจ้างกันอยู่ตามสัญญาจ้าง การพักงานเป็นเพียงนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานอาจเป็นเพราะเกรงว่าจะทำให้งานของนายจ้างเสียหาย จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างตลอดเวลาที่สั่งพักงานนั้น และเงินนี้เป็นค่าจ้างมิใช่ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างระหว่างถูกพักงานเป็นเงิน 22,403 บาท เมื่อได้ความว่าค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกพักงานเป็นเงิน 23,343.73 บาท ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน 23,343.33 บาทตามความเป็นธรรมที่โจทก์ควรจะได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างระหว่างถูกพักงานเป็นเงิน 22,403 บาท เมื่อได้ความว่าค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกพักงานเป็นเงิน 23,343.73 บาท ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน 23,343.33 บาทตามความเป็นธรรมที่โจทก์ควรจะได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานลูกจ้างมิใช่การเลิกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาพักงาน
การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้างโจทก์จำเลยยังคงเป็นลูกจ้างนายจ้างกันอยู่ตามสัญญาจ้างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานอาจเป็นเพราะเกรงว่าจะทำให้งานของนายจ้างเสียหาย จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างตลอดเวลาที่สั่งพักงานนั้น และเงินนี้เป็นค่าจ้างมิใช่ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างระหว่างถูกพักงานเป็นเงิน 22,403 บาทเมื่อได้ความว่าค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกพักงานเป็นเงิน 23,343.33 บาท ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน 23,343.33 บาทตามความเป็นธรรมที่โจทก์ควรจะได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างระหว่างถูกพักงานเป็นเงิน 22,403 บาทเมื่อได้ความว่าค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกพักงานเป็นเงิน 23,343.33 บาท ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน 23,343.33 บาทตามความเป็นธรรมที่โจทก์ควรจะได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าโมฆะ แต่สิทธิโอนการครอบครองยังคงมีผลบังคับได้
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าที่ทำเป็นหนังสือ แต่ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และตกเป็นโมฆะ อีกทั้งจะนำสืบว่าผู้ขายจะไปยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วจดทะเบียนโอนให้ผู้ซื้อหาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเอกสารต้องห้ามตามกฎหมาย
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าซึ่งตกเป็นโมฆะ เมื่อปรากฏข้อความในสัญญาว่าผู้ขายยอมมอบที่ดินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อในวันทำสัญญา กรณีย่อมเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าคู่สัญญาได้รู้ว่าการซื้อขายไม่สมบูรณ์ ก็คงจะตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นสัญญาโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทนผู้ซื้อจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้ส่งมอบการครอบครองที่ดินที่ซื้อขาย เพื่อโอนการครอบครองให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาได้ แต่จะบังคับให้โอนที่ดินโดยทำเป็นหนังสือและจำทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาได้ไม่
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าซึ่งตกเป็นโมฆะ เมื่อปรากฏข้อความในสัญญาว่าผู้ขายยอมมอบที่ดินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อในวันทำสัญญา กรณีย่อมเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าคู่สัญญาได้รู้ว่าการซื้อขายไม่สมบูรณ์ ก็คงจะตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นสัญญาโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทนผู้ซื้อจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้ส่งมอบการครอบครองที่ดินที่ซื้อขาย เพื่อโอนการครอบครองให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาได้ แต่จะบังคับให้โอนที่ดินโดยทำเป็นหนังสือและจำทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาได้ไม่