พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้คบหากันฉันสามีภรรยา และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามเจตนาผู้ตาย
ทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา เป็นของผู้ร้องกับผู้ตายร่วมกันผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมีสิทธิร้องขอให้ตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องจะเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์แก่กองมรดกและเจตนาของเจ้ามรดกด้วย เมื่อผู้ตายได้ทำหนังสือตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดกไว้ ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่สาวร่วมมารดากับผู้ตาย เคยมีเรื่องทะเลาะกันกับผู้ตายจนไม่พูดจากัน จึงควรตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดก
ศาลจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์แก่กองมรดกและเจตนาของเจ้ามรดกด้วย เมื่อผู้ตายได้ทำหนังสือตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดกไว้ ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่สาวร่วมมารดากับผู้ตาย เคยมีเรื่องทะเลาะกันกับผู้ตายจนไม่พูดจากัน จึงควรตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด สถานประกอบกิจการมีสิทธิปฏิเสธและไม่จัดประชุมได้
โรงงานกระดาษบางปะอิน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ถือได้ว่าเป็นสถานประกอบกิจการเดียวมีลูกจ้าง 574 คน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 46(4) ย่อมมีคณะกรรมการลูกจ้างได้สิบเอ็ดคน เมื่อปรากฏว่าโรงงานกระดาษบางปะอินมีคณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งรวมยี่สิบสองคน จึงเกินกว่าจำนวนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 46(4) กำหนด จำเลยจึงชอบที่จะปฏิเสธไม่รับรองคณะกรรมการลูกจ้างและไม่จัดให้มีการประชุมหารือกับ คณะกรรมการลูกจ้างเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด สถานประกอบการมีสิทธิปฏิเสธและไม่จัดประชุม
โรงงานกระดาษบางปะอิน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ถือได้ว่าเป็นสถานประกอบกิจการเดียวมีลูกจ้าง 574 คน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 46 (4) ย่อมมีคณะกรรมการลูกจ้างได้สิบเอ็ดคน เมื่อปรากฏว่าโรงงานกระดาษบางปะอินมีคณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งรวมยี่สิบสองคน จึงเกินกว่าจำนวนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 46 (4) กำหนด จำเลยจึงชอบที่จะ ปฏิเสธไม่รับรองคณะกรรมการลูกจ้างและไม่จัดให้มีการประชุมหารือกับ คณะกรรมการลูกจ้างเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3306/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การพิสูจน์การลาพักผ่อนเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาค่าชดเชย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ความจริงโจทก์ไม่ได้ไปทำงานเพราะได้ขอลาพักผ่อนประจำปีต่อจำเลยแล้ว ดังนี้ข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องมีว่า โจทก์ได้ขอลาพักผ่อนประจำปีต่อจำเลยแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปทำงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรดังนั้นการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากถูกขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัยจึงต้องขาดงานไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการชี้ขาดตัดสินคดีนอกฟ้องนอกประเด็นและเมื่อศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ขอลาพักผ่อนประจำปีต่อจำเลยแล้วหรือไม่ จึงไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายไปทีเดียวได้จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงคดีอาญา ไม่ถือเป็นการเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้ จึงไม่เพิกถอนได้
ลูกหนี้โอนขายที่ดินให้ผู้คัดค้านเพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เป็นการกระทำเพื่อตัวเอง มุ่งหมายจะให้หลุดพ้น จากการถูกเจ้าหนี้ดำเนินคดีอาญาในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ไม่ปรากฏว่ามุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ทั้งผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาท มาก็มิใช่เจ้าหนี้ของลูกหนี้ที่จะได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงคดีอาญา ไม่ถือว่าเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้อื่น จึงไม่เพิกถอนได้
ลูกหนี้โอนขายที่ดินให้ผู้คัดค้านเพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เป็นการกระทำเพื่อตัวเอง มุ่งหมายจะให้หลุดพ้น จากการถูกเจ้าหนี้ดำเนินคดีอาญาในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ไม่ปรากฏว่ามุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ทั้งผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาท มาก็มิใช่เจ้าหนี้ของลูกหนี้ที่จะได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134-3135/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายจ้าง: ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลก็เป็นนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
นายจ้างตามคำนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 นอกจากหมายความถึงผู้ที่รับเอาลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งในคดีนี้ได้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของโรงงานกระดาษกาญจนบุรีแล้ว ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลยังหมายความถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นด้วย เมื่อผู้อำนวยการโรงงานกระดาษจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ แม้จะมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการกำหนดค่าเสียหายแทนการรับทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3004/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยอื่นใดจากการรับเงินค่าชดเชยและโบนัส: ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการสละสิทธิสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
แบบฟอร์มของเอกสารซึ่งลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและโบนัสมีรายการเกี่ยวกับเงินประเภทต่างๆ ที่ลูกจ้างได้รับ 10ข้อ ข้อ 1 ถึงข้อ 7 ระบุประเภทของเงินต่างๆ ข้อ8 ถึงข้อ 10 ว่างเว้นไว้ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินประเภทใด แสดงว่านอกจากเงิน 7 ประเภทแล้วยังมีเงินประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจจะได้รับตามสิทธิและตามกฎหมายซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในแบบฟอร์มนั้น เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ชัดว่า ลูกจ้างไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงินอื่นใดจากนายจ้างทั้งสิ้นนอกจากค่าชดเชยและเงินโบนัสที่ได้รับไปแล้ว ย่อมหมายถึงว่าลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้างด้วย