คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ ปาลวัฒน์วิไชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3004/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากการรับเงินชดเชยและโบนัส
แบบฟอร์มของเอกสารซึ่งลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและโบนัสมีรายการเกี่ยวกับเงินประเภทต่างๆ ที่ลูกจ้างได้รับ 10 ข้อ ข้อ 1 ถึงข้อ 7 ระบุประเภทของเงินต่างๆ ข้อ 8 ถึงข้อ 10 ว่างเว้นไว้ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินประเภทใด แสดงว่านอกจากเงิน 7 ประเภทแล้วยังมีเงินประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจจะได้รับตามสิทธิและตามกฎหมายซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในแบบฟอร์มนั้น เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ชัดว่า ลูกจ้างไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงินอื่นใดจากนายจ้างทั้งสิ้นนอกจากค่าชดเชยและเงินโบนัสที่ได้รับไปแล้ว ย่อมหมายถึงว่าลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง นายจ้างไม่อาจออกระเบียบตัดสิทธิลูกจ้างได้
ค่าชดเชยเป็นเงินที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้าง หากนายจ้างไม่ปฏิบัติย่อมมีความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ข้อ 8 นายจ้างจึงจะออกระเบียบข้อบังคับใดๆ ในทางตัดสิทธิในการที่จะได้รับค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้จำเลยจะมีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับใช้กับพนักงานของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยกำหนดในระเบียบว่า การเลิกจ้างพนักงานมีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยหรือสิทธิตามกฎหมายแรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งและปรากฏว่าจำเลยเพียงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ เท่ากับตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ระเบียบดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ, อายุความฟ้อง, ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง, คำพิพากษาทางอาญาไม่ผูกพันทางแพ่ง
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถโดยเช่าซื้อมาจากผู้อื่นเมื่อโจทก์นำสืบเชื่อได้ว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ทะเบียนรถโอนเป็นชื่อโจทก์แล้วรถย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าซ่อมตัวรถของโจทก์ที่เสียหายเพราะการละเมิดได้
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแต่ชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นไว้ และจำเลยมิได้คัดค้าน จำเลยจะยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 5 เป็นคดีอาญาฐานขับรถยนต์โดยประมาทผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 เป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแต่โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารปรับอากาศที่ได้รับความเสียหายไม่อยู่ในฐานะที่พนักงานอัยการจะฟ้องจำเลยที่ 5 แทนโจทก์คำพิพากษาทางอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ ศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินสมทบและค่าจ้างค้างชำระของลูกจ้าง แม้มีการทุจริต แต่จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงเงินดังกล่าว
กฎและข้อบังคับของจำเลยข้อ 9 ที่กำหนดว่าคณะผู้บริหารมีอำนาจที่จะตัดสินเกี่ยวกับข้อพิพาทหรือปัญหาซึ่งอาจเกิดจากโครงสร้างหรือผลของข้อบังคับนี้หรือในข้อที่เกี่ยวกับการบริหารบัญชีนี้หมายความว่า อำนาจตัดสินของคณะผู้บริหารตามกฎและข้อบังคับดังกล่าวต้องเป็นเรื่องอันเกิดจากโครงสร้าง ผลของข้อบังคับและการบริหารบัญชีเท่านั้น หามีอำนาจที่จะตัดสินให้งดจ่ายเงินสมทบแก่สมาชิกในกรณีสมาชิกทุจริตต่อหน้าที่เบียดบังยักยอกเงินของจำเลยไม่
บทบัญญัติเรื่องบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชำระหนี้ไม่
สิทธิของจำเลยที่จะเรียกเงินที่โจทก์เบียดบังยักยอกไปคืนมิได้เกี่ยวกับเงินค่าจ้างค้างชำระ เงินสะสมและเงินสมทบที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์แต่อย่างใดจำเลยจึงหามีสิทธิยึดหน่วงไม่
การที่กฎและข้อบังคับของจำเลย ข้อ 27 กำหนดว่าบริษัทย่อมทรงไว้ซึ่งบุริมสิทธิลำดับแรกและทั้งสิ้นในเงินจำนวนที่เป็นเครดิตของสมาชิกแต่ละคนในบัญชีนี้เพื่อนำมาชดใช้แก่บรรดาการสูญเสีย ราคา ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่บริษัทอาจได้รับไม่ว่าในเวลาใดเนื่องจากความผิดของสมาชิกนั้นหรือสำหรับหนี้สินใดๆ ที่สมาชิกนั้นต้องชำระให้แก่บริษัทนั้น หมายความว่าจำเลยมีสิทธิที่จะหักเงินสะสมและเงินสมทบในบัญชีของโจทก์ไว้ชำระหนี้แก่จำเลยได้หากหนี้นั้นมีจำนวนแน่นอนและไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำนวนเงินที่โจทก์ยักยอกไปมีจำนวนแน่นอนนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การจ้างงานผ่านหัวหน้างาน ไม่ถือเป็นลูกจ้างโดยตรง
บริษัทจำเลยประกอบกิจการขนถ่ายสินค้าบนเรือเดินทะเล การตกลงให้มีการขนถ่ายสินค้าเป็นการตกลงระหว่างจำเลยกับหัวหน้าใหญ่ ซึ่งจะไปบอกหัวหน้าสายซึ่งมีกรรมกรอยู่ในสายของตนมาทำงาน การควบคุมการทำงานหรือสั่งการใดๆ ย่อมอยู่ที่หัวหน้าใหญ่และหัวหน้าสาย จำเลยกับกรรมกรไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน ตั้งแต่การจ้าง การจ่ายค่าจ้าง และการควบคุมการทำงาน โจทก์ซึ่งเป็นกรรมกรขนถ่ายสินค้าจึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ การส่งมอบหรือชำระเงินไม่ถือเป็นสัญญาผูกพัน
โจทก์จำเลยเจรจาซื้อขายกระดาษโดยตกลงกันว่าจะต้องมีการทำสัญญาซื้อขาย โจทก์พิมพ์สัญญาหมาย จ.56 มาให้จำเลยลงนาม แต่จำเลยขอแก้รายละเอียดเป็นสัญญาหมาย จ.57สัญญาตัวจริงจึงเป็นสัญญาหมาย จ.57 สัญญาหมาย จ.56ซึ่งโจทก์นำมาฟ้องเป็นเพียงร่างที่จำเลยไม่ได้ลงนามเป็นคู่สัญญา จึงถือว่าไม่มีการทำสัญญาหมาย จ.56 ที่โจทก์อ้างมาเป็นหลักแห่งข้อหา โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาที่นำมาฟ้องนั้นไม่ได้
แม้กฎหมายจะกำหนดวิธีการซื้อขายไว้หลายอย่างก็ตามเมื่อคู่สัญญาตกลงจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการส่งมอบหรือชำระราคาบางส่วนมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยสมบูรณ์หาได้ไม่
(อ้างฎีกาที่ 1541/2509 และ 520/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือ การส่งมอบ/ชำระราคาก่อนทำสัญญาไม่ถือเป็นข้อตกลงซื้อขายที่สมบูรณ์
โจทก์จำเลยเจรจาซื้อขายกระดาษโดยตกลงกันว่าจะต้องมีการทำสัญญาซื้อขาย โจทก์พิมพ์สัญญาหมาย จ.56 มาให้จำเลยลงนาม แต่จำเลยขอแก้รายละเอียดเป็นสัญญาหมาย จ.57 สัญญาตัวจริงจึงเป็นสัญญาหมาย จ.57 สัญญาหมาย จ.56 ซึ่งโจทก์นำมาฟ้องเป็นเพียงร่างที่จำเลยไม่ได้ลงนามเป็นคู่สัญญา จึงถือว่าไม่มีการทำสัญญาหมาย จ.56 ที่โจทก์อ้างมาเป็นหลักแห่งข้อหา โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาที่นำมาฟ้องนั้นไม่ได้
แม้กฎหมายจะกำหนดวิธีการซื้อขายไว้หลายอย่างก็ตามเมื่อคู่สัญญาตกลงจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือสัญญา จะนำเอาวิธีอื่นเช่นการส่งมอบหรือชำระราคาบางส่วนมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อขายกันแล้วโดยสมบูรณ์หาได้ไม่
(อ้างฎีกาที่ 1541/2509 และ 520/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าชดเชย และการไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน
ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยพนักงานกำหนดว่า พนักงานต้องสุภาพ เรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาฯ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายระเบียบและแบบธรรมเนียมของจำเลย ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงในการปฏิบัติงาน ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตนเว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำและให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนทราบในโอกาสแรก การที่โจทก์พูดกับเพื่อนร่วมงานว่า ถ้าโจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงาน งานชิ้นแรกที่จะทำคือขับไล่ผู้อำนวยการออก ถ้าโจทก์ออกจะต้องมีคนตายนั้นเป็นการพูดไม่สุภาพ และเป็นการแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวแต่ไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันจำเลยจะไล่ออกปลดออกตามข้อบังคับของจำเลยได้ เมื่อจำเลยปลดโจทก์ออกจากงานย่อมเป็นการเลิกจ้าง กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46, 47
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือนการเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างกระทำผิดวินัย แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นไล่ออก
ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยพนักงานกำหนดว่า พนักงานต้องสุภาพ เรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาฯ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายระเบียบและแบบธรรมเนียมของจำเลย ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง ในการปฏิบัติงาน ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตนเว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำและให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนทราบในโอกาสแรก การที่โจทก์พูดกับเพื่อนร่วมงานว่า ถ้าโจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงาน งานชิ้นแรกที่จะทำคือขับไล่ผู้อำนวยการออก ถ้าโจทก์ออกจะต้องมีคนตายนั้น เป็นการพูดไม่สุภาพ และเป็นการแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว แต่ไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันจำเลยจะไล่ออก ปลดออกตามข้อบังคับของจำเลยได้ เมื่อจำเลยปลดโจทก์ออกจากงานย่อมเป็นการเลิกจ้าง กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 46,47
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือน การเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800-2801/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าเสียหายระหว่างถูกเลิกจ้าง: ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายแม้สั่งให้กลับเข้าทำงาน
การที่ลูกจ้างข่มขู่นายจ้าง ถือว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ลูกจ้างเสียหายนายจ้างต้องรับผิดในค่าเสียหายของลูกจ้างในระหว่างที่นายจ้างเลิกจ้าง ศาลมีอำนาจให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างเลิกจ้าง ในเมื่อศาลได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปแล้ว
of 42