พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
จำเลยมีข้อบังคับให้จ่ายบำเหน็จเมื่อพนักงานมีอายุงานครบ5 ปี หรือกว่านั้นแต่ค่าชดเชยนั้นลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันก็มีสิทธิได้รับแล้ว การคำนวณบำเหน็จก็อาศัยค่าจ้างสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีของอายุงานและตัวประกอบอื่นอีก และ ยังจ่ายให้ในกรณีลาออกและถึงแก่กรรมอีกด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะเป็นการสงเคราะห์ตอบแทนการที่ลูกจ้างทำงานด้วยดีจนออกจากงานหรือถึงแก่กรรมถือได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มิใช่ค่าชดเชย ดังนั้น การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันให้เงินบำเหน็จนี้เป็นค่าชดเชย จึงเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อตกลงนั้นจึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529-2530/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยคุ้มครองลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และประเด็นอายุความดอกเบี้ยที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ค่าชดเชย เป็นบทบัญญัติส่วนหนึ่งของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ที่ใช้บังคับแก่องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ หาใช่มุ่งหมายจะคุ้มครองเฉพาะแต่ลูกจ้างของเอกชนเท่านั้นไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1568/2523)
จำเลยให้การแต่เพียงว่า "ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์" ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การแต่เพียงว่า "ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์" ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529-2530/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยองค์กรของรัฐ: สิทธิลูกจ้าง, อายุความดอกเบี้ย, ศาลรับวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ยกขึ้น
ค่าชดเชย เป็นบทบัญญัติส่วนหนึ่งของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ที่ใช้บังคับแก่องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ หาใช่มุ่งหมายจะคุ้มครองเฉพาะแต่ลูกจ้างของเอกชนเท่านั้นไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1568/2523)
จำเลยให้การแต่เพียงว่า 'ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์' ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การแต่เพียงว่า 'ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์' ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกคืนเงินค่าชดเชยศาลแรงงานต้องมีข้อโต้แย้งสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้การประปานครหลวงจำเลยจ่ายค่าชดเชย จำเลยให้การว่าได้จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์ซึ่งถือว่าเป็นค่าชดเชยให้โจทก์ไปแล้ว และฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเงินดังกล่าวดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ 6 อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา8(1)
การเสนอคำฟ้องแย้งนั้น ผู้เสนอต้องแสดงให้เห็นว่าตนมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา55 การยืนยันว่าเงินกองทุนสงเคราะห์ที่จ่ายไปนั้นเป็นค่าชดเชย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์คืนเงินดังกล่าว คดีไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องแย้ง
การเสนอคำฟ้องแย้งนั้น ผู้เสนอต้องแสดงให้เห็นว่าตนมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา55 การยืนยันว่าเงินกองทุนสงเคราะห์ที่จ่ายไปนั้นเป็นค่าชดเชย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์คืนเงินดังกล่าว คดีไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488-2492/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งค่าชดเชยและการพิสูจน์วัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรของกิจการประปานครหลวง
ฟ้องแย้งว่าจำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์ประเภท 2 ให้แก่โจทก์แล้วโดยตามข้อบังคับของจำเลยให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยด้วย ต่อมาจำเลยทราบว่าข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์ ขอให้บังคับโจทก์คืนเงินดังกล่าวที่รับไปให้แก่จำเลย ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าชดเชยตามคำฟ้องเดิม จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
กิจการของการประปานครหลวงเป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไร ไม่ได้รับยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่จะไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
กิจการของการประปานครหลวงเป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไร ไม่ได้รับยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่จะไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415-2420/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานช่วงและลูกจ้างมีกำหนดเวลา: จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากเลิกจ้างตามกำหนดสัญญา
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามโครงการสำรวจที่ดินเพื่อเวนคืนโดยครั้งแรกคาดว่างานตามโครงการจะเสร็จภายใน 8 เดือน แต่เมื่องานไม่เสร็จ การจ้างโจทก์จึงกระทำเป็นช่วง ๆ ติดต่อกันมา เมื่อช่วงสุดท้ายสัญญาจ้างสิ้นสุดลง จำเลยก็เลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จึงเป็นการตกลงจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนทุกช่วง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และจำเลยเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การพิจารณาประเภทสัญญาจ้างจากลักษณะงานและวิธีการจ่ายค่าจ้าง
การที่จำเลยต้องการจะปลูกบ้านจึงติดต่อให้โจทก์ปลูกให้ตามแบบที่จำเลยต้องการ จำเลยเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุก่อสร้างโจทก์เป็นผู้จัดหาคนงานและเครื่องมือ แต่จะให้ผู้ใดมาทำงานต้องให้จำเลยยินยอมด้วย โดยโจทก์คิดค่าจ้างสำหรับโจทก์และคนงานอื่นเป็นรายวันนั้นแม้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยไว้ว่าจะทำงานจนกว่าปลูกบ้านเสร็จ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตกลงกันให้ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ส่วนการที่โจทก์รับค่าจ้างจากจำเลยเป็นงวดๆเพียงคนเดียว ก็เป็นเพียงการรับค่าจ้างรายวันแทนผู้ร่วมงานแต่ละคนซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของโจทก์เป็นคราวๆไปเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ควบคุมแนะนำโจทก์ในการปลูกบ้านเพราะไม่มีความรู้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรับจ้างของโจทก์เป็นการจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้น มิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้น แม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้น มิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้น แม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: ลักษณะสำคัญคือการจ่ายค่าจ้างรายวัน ไม่ผูกพันผลสำเร็จของงาน
การที่จำเลยต้องการจะปลูกบ้านจึงติดต่อให้โจทก์ปลูกให้ตามแบบที่จำเลยต้องการ จำเลยเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุก่อสร้างโจทก์เป็นผู้จัดหาคนงานและเครื่องมือ แต่จะให้ผู้ใดมาทำงานต้องให้จำเลยยินยอมด้วย โดยโจทก์คิดค่าจ้างสำหรับโจทก์และคนงานอื่นเป็นรายวันนั้นแม้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยไว้ว่าจะทำงานจนกว่าปลูกบ้านเสร็จ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตกลงกันให้ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ส่วนการที่โจทก์รับค่าจ้างจากจำเลยเป็นงวดๆเพียงคนเดียว ก็เป็นเพียงการรับค่าจ้างรายวันแทนผู้ร่วมงานแต่ละคนซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของโจทก์เป็นคราวๆไปเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ควบคุมแนะนำโจทก์ในการปลูกบ้านเพราะไม่มีความรู้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรับจ้างของโจทก์เป็นการจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้นมิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้นแม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้นมิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้นแม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้ละเมิด: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้อย่างเดียวกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 อยู่แล้วว่ามูลหนี้ละเมิดระงับหรือไม่ แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
บันทึกที่สถานีตำรวจมีข้อตกลงว่า ฝ่ายจำเลยที่ 2 ยอมใช้ค่าเสียหายตามที่ฝ่ายโจทก์เรียกร้องทั้งสิ้นเป็นเงิน35,268.60 บาท คู่กรณีไม่ติดใจที่จะฟ้องร้องกันในทางแพ่ง อาญา ถ้าหากผิดสัญญาคู่กรณีจะฟ้องกันเองในทางแพ่ง ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ แล้วจำเลยที่ 2 และผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จึงมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับสิ้นไป โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองตามมูลหนี้ละเมิดอีกไม่ได้ชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
บันทึกที่สถานีตำรวจมีข้อตกลงว่า ฝ่ายจำเลยที่ 2 ยอมใช้ค่าเสียหายตามที่ฝ่ายโจทก์เรียกร้องทั้งสิ้นเป็นเงิน35,268.60 บาท คู่กรณีไม่ติดใจที่จะฟ้องร้องกันในทางแพ่ง อาญา ถ้าหากผิดสัญญาคู่กรณีจะฟ้องกันเองในทางแพ่ง ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ แล้วจำเลยที่ 2 และผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จึงมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับสิ้นไป โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองตามมูลหนี้ละเมิดอีกไม่ได้ชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วันก่อนฟ้องศาล
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121(1) ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และต้องยื่น ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่อาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางในกรณีนี้ต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย