คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ ปาลวัฒน์วิไชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะราชการส่วนกลาง, เกษียณอายุ, การเลิกจ้าง และสิทธิค่าชดเชยของลูกจ้าง
องค์การฟอกหนังของกระทรวงกลาโหม ไม่เป็นราชการส่วนกลางอันไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การที่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้นเป็นการกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุของพนักงานไว้เป็นการทั่วไป ไม่เป็นการผูกพันว่าจะจ้างกันเป็นระยะเวลานานเท่าใด จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เมื่อนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างประจำพ้นจากตำแหน่งไปฐานะที่เป็นลูกจ้างประจำก็สิ้นสุดลง แม้นายจ้างจะมีคำสั่งจ้างใหม่อีกในทันทีไว้ในฐานะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนก็ไม่ใช่ลูกจ้างประจำอีกต่อไปแล้ว จึงเป็นการเลิกจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ไม่ใช่เหตุยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย และการคำนวณดอกเบี้ย
ตามบทบัญญัติของกฎหมายก็ดี ระเบียบของจำเลยก็ดีที่ให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิได้กำหนดให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติพนักงานของจำเลยเป็นการทั่วไป พนักงานของจำเลยจึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำนาญแตกต่างกับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ถึงหากคำนวณแล้วจะมีจำนวนมากกว่าค่าชดเชย แต่ก็มีความประสงค์ในการจ่ายและวิธีการคำนวณแตกต่างกัน จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากค่าชดเชย
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเป็นการเกินคำขอของโจทก์ ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ระบุมาในคำฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเพียง 2 ปี 5 เดือนไม่ถึงวันฟ้อง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระแก่โจทก์เสร็จจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงปรับเงินเดือนตามมติรัฐบาล: ไม่ผูกพันตามจำนวนที่รัฐบาลกำหนด
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนนายจ้างกับผู้แทนลูกจ้างมีความว่า การที่พนักงานขอให้ปรับเงินเดือนขึ้นอีก 20เปอร์เซ็นต์ นั้น เรื่องนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาให้แก่ข้าราชการอยู่ และในการนี้ก็จะพิจารณาปรับปรุงให้แก่รัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งบริษัทของนายจ้างด้วย และจะมีผลใช้บังคับในระยะเวลาพร้อมกัน ข้อตกลงดังนี้หมายความเพียงแต่ว่ารัฐบาลซึ่งเป็นนายจ้างจะปรับปรุงเงินเดือนให้เพียงใดนั้น ไม่มีการระบุไว้แน่ชัดเป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะพิจารณา จะถือว่าบริษัทนายจ้างได้ตกลงรับเป็นข้อผูกพันว่า เมื่อรัฐบาลปรับปรุงเงินเดือนให้แก่ข้าราชการแล้ว จะปรับปรุงเงินเดือนให้ลูกจ้างขึ้นจากเดิม 20 เปอร์เซ็นต์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2112/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ vs. จ้างแรงงาน: การตอกเสาเข็มด้วยปั้นจั่นของตนเอง
การที่จำเลยจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มของจำเลยด้วยปั้นจั่นของโจทก์ ตกลงค่าจ้างตอกเป็นรายต้น โดยโจทก์จำเลยมุ่งถึงผลสำเร็จของการตอกเสาเข็มเป็นสำคัญ โจทก์หาต้องทำงานตอกเสาเข็มภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ มิใช่จ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง
การที่จำเลยไม่มาศาลแรงงานในวันสืบพยาน ไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197วรรคสองซึ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเนื่องจากมาทำงานสายหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่านาฬิกาของจำเลยเร็วไปก็ดี จำเลยยอมให้มาสายได้ก็ดี หานอกประเด็นไม่ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์นำสืบต่างไปจากเอกสารที่ลงไว้ว่าโจทก์มาทำงานสาย จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับฟัง เป็นปัญหาว่าควรเชื่อฟังพยานหลักฐานโจทก์หรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา54
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างที่มิได้บอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวเพราะโจทก์มาทำงานสายและจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่า โจทก์มาทำงานสายซึ่งจำเลยมีหนังสือเตือนแล้วหรือไม่ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างที่ไม่บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าและค่าชดเชย เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาท หาใช่ประเด็นข้อพิพาทไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ โดยนำเอาผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทมากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทด้วย แต่ไม่ครบถ้วน ก็ไม่ทำให้ประเด็นข้อพิพาทเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุเป็น 'การเลิกจ้าง' ต้องจ่ายค่าชดเชย โรงงานยาสูบไม่อยู่ในข้อยกเว้น
การที่ระเบียบของจำเลยกำหนดให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิใช่เป็นการกำหนดว่าให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์ จึงหาทำให้การจ้างนั้นเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไม่
แม้ระเบียบของจำเลยและพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ จะกำหนดไว้ว่า พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งก็ตาม ก็หมายความถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเพราะเหตุดังกล่าวออกจากงานนั่นเอง ฉะนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุจึงเป็นการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46มีหลักการให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และในวรรคสามยกเว้นไว้ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน กับกรณีเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานแสดงว่ามิได้ประสงค์ให้ยกเว้นถึงการเลิกจ้างที่ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าทั่วไปทุกกรณี จึงจะถือว่าการที่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าเหมือนกับกรณีดังกล่าวและไม่อยู่ในขอบเขตแห่งเจตนารมณ์ที่จะให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเช่นเดียวกันหาได้ไม่
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มิได้เป็นส่วนราชการของกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งสังกัดกระทรวงการคลังจึงมิใช่ราชการส่วนกลาง หาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ บังคับไม่ ฉะนั้น กระทรวงการคลังในฐานะเป็นนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานยาสูบฯ ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์ จึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ประกาศฯ ดังกล่าวบังคับแก่กระทรวงการคลังในฐานะเป็นราชการส่วนกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีแรงงาน: อำนาจฟ้องไม่ตกแม้ศาลแรงงานยังไม่ตั้ง, ไม่เกินขอบเขตมอบหมาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนลูกจ้าง ซึ่งทำไว้ก่อนตั้งศาลแรงงาน ผู้รับมอบอำนาจนำมาฟ้องคดีต่อศาลแรงงานก็ได้ และฟ้องเรียกค่าจ้าง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องบินไปกลับตามสัญญาได้ เมื่อจำเลยมิได้พิสูจน์ให้เห็นว่าผู้มอบอำนาจตายไร้ความสามารถหรือล้มละลาย ก็ไม่มีเหตุที่จะไม่รับฟังใบมอบอำนาจนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงโทษทางวินัยของลูกจ้างผู้บังคับบัญชาทำให้ขาดคุณสมบัติเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน
ประกาศคณะกรรมการกำหนดระเบียบวินัยพนักงานของนายจ้างโจทก์ได้กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดวางโทษตามข้อ 2 ว่า 2.1 โทษสถานเบา ก.ตักเตือนด้วยวาจา ข.มีหนังสือตำหนิโทษโจทก์เป็นพนักงานที่มีอำนาจลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา คือ ก.ตักเตือนด้วยวาจา ข.ทำหนังสือตำหนิโทษ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชามีอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 95 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นจัดตั้งขึ้นก็เป็นการขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานจำเลยจึงชอบที่จะไม่จดทะเบียนกรรมการให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพ-โบนัส: การคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน - ค่าจ้าง vs. เงินรางวัล
เมื่อนายจ้างมีนโยบายและระเบียบที่จะเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น การที่นายจ้างจ่ายเงินค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นจึงแสดงว่าเป็นการเพิ่มค่าจ้างให้สูงขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังได้ความว่า ภายหลังต่อมานายจ้างก็รวมเงินค่าครองชีพเข้าเป็นค่าจ้างปกติ แสดงให้เห็นว่านายจ้างประสงค์ให้เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง แต่ที่ได้แยกจ่ายออกจากค่าจ้างปกติก็โดยหวังว่าจะทำให้ไม่ต้องนำมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินอื่นเท่านั้น ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ตามระเบียบของบริษัทนายจ้างบริษัทจะไม่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสในปีใดก็ได้ มิได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกปี ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
เพียงแต่จำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมแรงงานจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการคืนเงินสมทบที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนซึ่งมีฐานะเป็นกองสังกัดกรมจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเกินมาแก่โจทก์ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465-1466/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเกลื่อนกลืน: การจ่ายเงินบำเหน็จทดแทนค่าชดเชยเมื่อจำนวนเงินบำเหน็จสูงกว่า
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย และค่าชดเชยนั้นมีจำนวนต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับ จำเลยจึงจ่ายเงินบำเหน็จอันมีค่าชดเชยเกลื่อนกลืนอยู่ด้วยให้แก่โจทก์ กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์แล้ว
of 42