คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ ปาลวัฒน์วิไชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างและฐานคำนวณค่าชดเชย: เงินช่วยเหลือต่างๆ ทางทะเลและค่าครองชีพถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำโดยให้ทำงานที่เรือขุดแร่ในทะเล โดยจำเลยให้เงินเพิ่มพิเศษทางทะเลแก่โจทก์จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธความข้อนี้และปรากฏว่าเงินเพิ่มพิเศษนี้เป็นการช่วยเหลือพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานประจำในทะเล แสดงว่าเป็นเงินซึ่งจ่ายเพิ่มให้แก่ค่าจ้างปกติเพราะเหตุที่ต้องไปปฏิบัติงานประจำอยู่ในทะเลจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน นับว่าเป็น "ค่าจ้าง"แม้จำเลยจะให้การว่า เงินเพิ่มพิเศษนี้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับในขณะปฏิบัติงานอยู่เท่านั้นและคู่ความรับกันว่านอกจากคนงานในเรือขุดยังมีคนงานปฏิบัติหน้าที่อยู่บนบก คนงานในเรือขุดอาจถูกย้ายมาปฏิบัติหน้าที่บนบกได้ก็ตาม ก็ไม่ลบล้างข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นคนงานจำพวกที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ในทะเลนั่นเอง และเงินเพิ่มพิเศษค่าทำงานรอบกลางคืนอันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำงานในเรือขุด จำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธเช่นกันจึงต้องนำเงินทั้งสองประเภทนี้ไปรวมกับค่าจ้างปกติเพื่อใช้เป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
แม้ตามข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่า เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นการจ่ายเพื่อสวัสดิการนอกเหนือจากค่าจ้างปกติ และตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ว่า เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการครองชีพในปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็ตาม การที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นย่อมทำให้จำเลยแลเห็นได้เองว่าค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นไม่สมดุลย์กับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเงินที่จ่ายเพิ่มให้นี้จึงเป็นเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานด้วยเช่นกัน จึงต้องถือว่าเป็นค่าจ้าง
ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยจัดเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านอยู่ในประเภท "สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น" บริษัทจำเลยมีคนงานประมาณ 250 คน มีคนงานมีที่พักอยู่ในบริษัทจำเลย 6 ถึง8 คน ไม่ได้รับค่าเช่าบ้านคนงานอื่นได้ค่าเช่าบ้าน แสดงว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะผูกมัดจิตใจลูกจ้างให้ทำงานอยู่กับจำเลยนาน ๆ และเพื่อไม่ให้ลูกจ้างต้องเป็นกังวลในเรื่องที่พักอาศัย จำเลยจึงรับภาระในสวัสดิการด้านที่พักอาศัยให้ เมื่อจำเลยไม่สามารถจัดที่พักอาศัยให้ได้จึงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านให้ และเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านที่ลูกจ้างได้รับเป็นจำนวนที่แน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือน ผู้ที่มีบ้านของตนเองเช่นโจทก์ก็ได้ด้วยดังนี้ไม่อาจถือว่าเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างฐานคำนวณค่าชดเชย: เงินเพิ่มพิเศษทางทะเล, ค่าครองชีพ, เงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้าน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำโดยให้ทำงานที่เรือขุดแร่ในทะเล โดยจำเลยให้เงินเพิ่มพิเศษทางทะเลแก่โจทก์ จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธความข้อนี้และปรากฏว่าเงินเพิ่มพิเศษนี้เป็นการช่วยเหลือพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานประจำในทะเล แสดงว่าเป็นเงินซึ่งจ่ายเพิ่มให้แก่ค่าจ้างปกติเพราะเหตุที่ต้องไปปฏิบัติงานประจำอยู่ในทะเลจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน นับว่าเป็น 'ค่าจ้าง' แม้จำเลยจะให้การว่า เงินเพิ่มพิเศษนี้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับในขณะปฏิบัติงานอยู่เท่านั้นและคู่ความรับกันว่านอกจากคนงานในเรือขุดยังมีคนงานปฏิบัติหน้าที่อยู่บนบก คนงานในเรือขุดอาจถูกย้ายมาปฏิบัติหน้าที่บนบกได้ก็ตาม ก็ไม่ลบล้างข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นคนงานจำพวกที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ในทะเลนั่นเอง และเงินเพิ่มพิเศษค่าทำงานรอบกลางคืนอันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำงานในเรือขุด จำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธเช่นกันจึงต้องนำเงินทั้งสองประเภทนี้ไปรวมกับค่าจ้างปกติเพื่อใช้เป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
แม้ตามข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่า เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นการจ่ายเพื่อสวัสดิการนอกเหนือจากค่าจ้างปกติ และตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ว่า เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการครองชีพในปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็ตาม การที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นย่อมทำให้จำเลยแลเห็นได้เองว่าค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นไม่สมดุลย์กับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเงินที่จ่ายเพิ่มให้นี้จึงเป็นเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานด้วยเช่นกัน จึงต้องถือว่าเป็นค่าจ้าง
ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยจัดเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านอยู่ในประเภท 'สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น' บริษัทจำเลยมีคนงานประมาณ 250 คน มีคนงานมีที่พักอยู่ในบริษัทจำเลย 6 ถึง 8 คน ไม่ได้รับค่าเช่าบ้านคนงานอื่นได้ค่าเช่าบ้าน แสดงว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะผูกมัดจิตใจลูกจ้างให้ทำงานอยู่กับจำเลยนาน ๆ และเพื่อไม่ให้ลูกจ้างต้องเป็นกังวลในเรื่องที่พักอาศัย จำเลยจึงรับภาระในสวัสดิการด้านที่พักอาศัยให้ เมื่อจำเลยไม่สามารถจัดที่พักอาศัยให้ได้จึงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านให้ และเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านที่ลูกจ้างได้รับเป็นจำนวนที่แน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือน ผู้ที่มีบ้านของตนเองเช่นโจทก์ก็ได้ด้วยดังนี้ไม่อาจถือว่าเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจ่ายเงินบำเหน็จควบคู่กับค่าชดเชยตามระเบียบและกฎหมายแรงงาน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยมีว่า ถ้าลูกจ้างได้รับเงินชดเชยอยู่แล้วไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ ถ้าเงินชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จให้จ่ายเงินบำเหน็จเท่ากับส่วนที่ต่ำกว่าระเบียบ ดังนี้มิได้หมายความว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ จำเลยต้องจ่ายเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่เกินกว่าค่าชดเชยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานต้องสุจริตและมีเหตุผลเพียงพอตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ลูกจ้างเป็นกรรมการสหภาพแรงงานเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อนายจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างใช้บังคับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเช่นนี้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น แม้แต่จะยุบงานเพื่อตัดรายจ่ายก็ต้องมีความจำเป็นเพียงพอ กรณีมีพฤติการณ์น่าสงสัยว่าลูกจ้างมีอิทธิพลเหนือคนงานนายจ้างจึงอาจคิดกำจัดเสีย แปลได้ในตัวว่านายจ้างเลิกจ้างโดยไม่สุจริต จึงไม่เป็นปัญหาต้องวินิจฉัยข้อที่นายจ้างประสบภาวะขาดทุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างป่วยจนหมดสมรรถภาพ นายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะป่วยหมดสมรรถภาพในการทำงาน โดยมิได้กระทำผิด อยู่ในความหมายของเลิกจ้างตามข้อ 46 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผู้ขนส่งสินค้าต่างชาติในไทย: อำนาจฟ้อง, ส่วนได้เสีย, ข้อจำกัดความรับผิด
โจทก์ใส่ชื่อจำเลยในตอนต้นของคำฟ้องว่า'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ' ตามชื่อที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวให้ทราบชัดแล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ด.กับบริษัทอ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล อยู่ในประเทศเดนมาร์ก. และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า 'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ' เป็นจำเลยดังนี้ แม้ 'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ' จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลย ได้
บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์และได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ แม้ตามใบตราส่งจะระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับสินค้า แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าหากวินาศภัยมีขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยนั้น บริษัท ย. จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อธนาคารประการใดเลยแล้ว ก็ต้องถือว่าบริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้
ข้อความจำกัดความรับผิดในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้จากผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศ, ส่วนได้เสียในประกันภัย, และข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่ง
โจทก์ใส่ชื่อจำเลยในตอนต้นของคำฟ้องว่า"สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ" ตามชื่อที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวให้ทราบชัดแล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ด. กับบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล อยู่ในประเทศเดนมาร์ก. และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า "สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ " เป็นจำเลยดังนี้ แม้ "สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ " จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลย ได้
บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์และได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ แม้ตามใบตราส่งจะระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับสินค้า แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าหากวินาศภัยมีขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยนั้น บริษัท ย. จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อธนาคารประการใดเลยแล้ว ก็ต้องถือว่าบริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้
ข้อความจำกัดความรับผิดในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้จากผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างแรงงาน: การพิสูจน์ความผิดและสิทธิในการรับค่าชดเชย กรณีไม่ชัดเจนว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อ
เมื่อกรณีฟังไม่ได้ชัดว่าจำเลยเลิกจ้างเพราะโจทก์ทำผิดตาม ข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานโจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลยผู้เป็นนายจ้าง ส่วนค่าเสียหายที่ยังไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์จะต้องรับผิดทั้งหมดหรือไม่ จึงยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะนำมาหักจากค่าชดเชยได้ ในชั้นนี้จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนก่อน ส่วนหนี้ที่โจทก์ติดค้างต้องว่ากล่าวกันต่างหาก
อุทธรณ์ที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270-1271/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดสืบพยานและภาระการพิสูจน์ในคดีแรงงาน: ศาลมิพักต้องไต่สวนเหตุจำเป็นหากโจทก์ไม่มีพยานสนับสนุนข้ออ้าง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายโจทก์ขอเลื่อนอ้างว่าพยานติดธุระ และแถลงด้วยว่า หากนัดหน้าโจทก์ไม่มีพยานมาศาลอีกยอมให้ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลื่อนไป ครั้นถึงวันสืบพยานโจทก์ในนัดต่อมา โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยโดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ดังนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดซึ่งจะต้องจำหน่ายคดีตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนไม่มีเหตุที่จะต้องไต่สวนคำร้องที่อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ตามมาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและการสืบสิทธิในค่าชดเชยของทายาท
ระเบียบของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานพ้นจากหน้าที่เมื่ออายุ 60 ปี แต่ก็อาจต่ออายุการทำงานให้ได้ มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง แต่เป็นเรื่องคุณสมบัติของลูกจ้าง เมื่อจำเลยให้พนักงานออกจากงานตามระเบียบนั้น จึงอยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้
of 42