คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ ปาลวัฒน์วิไชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การอุทธรณ์เฉพาะเหตุผลโดยไม่โต้แย้งผลคำพิพากษา
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่าเห็นด้วย กับผลของคำพิพากษา แต่ไม่เห็นด้วยในเหตุผลที่ศาลแรงงานกลางอ้าง เป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ทั้งมิได้อ้างว่าผลแห่งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางทำให้จำเลยเสียสิทธิ หรือมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยประการใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การอุทธรณ์เฉพาะเหตุผล ศาลยกอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่าเห็นด้วย กับผลของคำพิพากษา แต่ไม่เห็นด้วยในเหตุผลที่ศาลแรงงานกลางอ้าง เป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ทั้งมิได้อ้างว่าผลแห่งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางทำให้จำเลยเสียสิทธิ หรือมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยประการใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นต่างกันหากศาลเดิมยังไม่ได้วินิจฉัยถึงการผิดสัญญา
คดีเดิมโจทก์ฟ้องเกี่ยวกับสัญญาแบ่งผลประโยชน์ตึกแถวพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยอ้างว่าโจทก์นำสืบพยานหลักฐานได้ไม่สมตามฟ้องและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยผิดสัญญาอย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัย พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ ในคดีเดิมศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะเหตุโจทก์มิได้บรรยายฟ้อง ถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ ไหนอย่างไร หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาดังกล่าว หรือไม่ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญา อย่างไร ซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อน กรณีจึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นต่างกัน แม้สัญญาเดิมคล้ายกัน ศาลไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องเกี่ยวกับสัญญาแบ่งผลประโยชน์ตึกแถวพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยอ้างว่าโจทก์นำสืบพยานหลักฐานได้ไม่สมตามฟ้องและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยผิดสัญญาอย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัย พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ ในคดี เดิมศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะเหตุโจทก์มิได้บรรยายฟ้อง ถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ ไหนอย่างไร หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาดังกล่าว หรือไม่ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญา อย่างไร ซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อน กรณีจึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2373/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการแทงทำร้าย ผู้เสียหายถูกแทงด้านหลังหลายครั้ง บาดเจ็บสาหัส
จำเลยใช้มีดปลายแหลมยาวประมาณ 6 นิ้ว แทงผู้เสียหายขณะหันหลังให้ จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะเลือกแทง และแทงที่ใกล้สะบักซ้ายถึง 2 แผล อันเล็งเห็นได้ว่าอาจถูกอวัยวะสำคัญภายในถึงตายได้ บาดแผลดังกล่าวทำให้มีเลือดและลมในช่องปอด ต้องเจาะเอาเลือดออกเมื่อผู้เสียหายหันกลับมา จำเลยยังจ้วงแทงอีก 2 ครั้ง หากไม่ยกข้อศอกขึ้นรับก็คงจะถูกแทงที่หน้าอกอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญแห่งร่างกาย ดังนี้จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้าง แม้จะยังไม่ได้มอบหมายงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าครองชีพตามข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเมื่อนายจ้างตกลงเปิดงาน กำหนดว่านายจ้างจะให้ประโยชน์ ค่าจ้างและสวัสดิการแก่ ลูกจ้างที่กลับเข้าทำงานเช่นที่ลูกจ้างเคยได้รับ ไม่มี ข้อใดให้อำนาจนายจ้างที่จะยังไม่ให้ลูกจ้างบางส่วนเข้าทำ งาน นายจ้างจึงไม่มีอำนาจที่จะไม่ให้ประโยชน์ดังกล่าว แก่ลูกจ้างที่ได้รายงานตัวต่อนายจ้างเพื่อเข้าทำงานแล้วแต่ นายจ้างยังไม่เรียกเข้าทำงาน แม้โดยทั่วไปนายจ้างอาจจะไม่มอบงานให้ลูกจ้างทำได้เพราะไม่เป็นที่เสียหายแก่ ลูกจ้าง แต่นายจ้างหามีสิทธิที่จะยกเหตุที่ลูกจ้างไม่ ทำงานเพราะนายจ้างไม่มอบงานให้ทำมาปฏิเสธไม่ให้ ประโยชน์แก่ลูกจ้างได้ไม่ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าครองชีพ ให้แก่ลูกจ้างที่อยู่ระหว่างรอคำสั่งเรียกกลับเข้าทำงาน ด้วย และแม้นายจ้างจะมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขในการ จ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างได้ก็ตาม นายจ้างก็หามีอำนาจ กำหนดเงื่อนไขการจ่ายค่าครองชีพให้ขัดกับบันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวแล้วไม่
การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องและนายจ้างปิดงาน ถ้าต่าง ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว หาอาจอ้างเป็นความผิดของฝ่ายใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้าง แม้จะยังไม่มอบหมายงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าครองชีพตามตกลง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเมื่อนายจ้างตกลงเปิดงาน กำหนดว่านายจ้างจะให้ประโยชน์ ค่าจ้างและสวัสดิการแก่ ลูกจ้างที่กลับเข้าทำงานเช่นที่ลูกจ้างเคยได้รับ ไม่มีข้อใดให้อำนาจนายจ้างที่จะยังไม่ให้ลูกจ้างบางส่วนเข้าทำงาน นายจ้างจึงไม่มีอำนาจที่จะไม่ให้ประโยชน์ดังกล่าว แก่ลูกจ้างที่ได้รายงานตัวต่อนายจ้างเพื่อเข้าทำงานแล้วแต่ นายจ้างยังไม่เรียกเข้าทำงาน แม้โดยทั่วไปนายจ้างอาจจะไม่มอบงานให้ลูกจ้างทำได้เพราะไม่เป็นที่เสียหายแก่ ลูกจ้าง แต่นายจ้างหามีสิทธิที่จะยกเหตุที่ลูกจ้างไม่ ทำงานเพราะนายจ้างไม่มอบงานให้ทำมาปฏิเสธไม่ให้ ประโยชน์แก่ลูกจ้างได้ไม่นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าครองชีพ ให้แก่ลูกจ้างที่อยู่ระหว่างรอคำสั่งเรียกกลับเข้าทำงาน ด้วย และแม้นายจ้างจะมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขในการ จ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างได้ก็ตามนายจ้างก็หามีอำนาจ กำหนดเงื่อนไขการจ่ายค่าครองชีพให้ขัดกับบันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวแล้วไม่
การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องและนายจ้างปิดงาน ถ้าต่างได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว หาอาจอ้างเป็นความผิดของฝ่ายใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานคำนวณเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง: เงินเดือนหลังลดขั้นวินัย
ข้อบังคับของนายจ้างว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานได้กำหนดการคำนวณเงินสงเคราะห์ โดยถือหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเกณฑ์คำนวณ เมื่อลูกจ้างถูกลงโทษทางวินัยลดขั้นอัตราเงินเดือน แล้วถูกสั่งให้ออกจากงานฐานหย่อนความสามารถ เงินเดือนเดือนสุดท้ายของลูกจ้างที่นำมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสงเคราะห์ก็ต้องถือตามเงินเดือนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับภายหลังลดขั้นอัตราเงินเดือนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานคำนวณเงินสงเคราะห์: เงินเดือนหลังลดขั้นวินัย
ข้อบังคับของนายจ้างว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานได้กำหนดการคำนวณเงินสงเคราะห์โดยถือหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเกณฑ์คำนวณ เมื่อลูกจ้างถูกลงโทษทางวินัยลดขั้นอัตราเงินเดือนแล้วถูกสั่งให้ออกจากงานฐานหย่อนความสามารถ เงินเดือนเดือนสุดท้ายของลูกจ้างที่นำมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสงเคราะห์ก็ต้องถือตามเงินเดือนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับภายหลังลดขั้นอัตราเงินเดือนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาล และการจำกัดสิทธิในการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
คำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาจำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่มิได้โต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานต่อไป จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
ปัญหาว่าเช็คพิพาทมีมูลหนี้ต่อกันหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
of 42