พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการทำงาน: การกระทำที่นอกเหนือจากขอบเขตหน้าที่ ไม่ถือเป็นประสบอันตราย
การที่ลูกจ้างทำความสะอาดรถจักรดีเซลตามหน้าที่แล้วไปนั่งพัก แล้วนำเสื้อที่สวมไปตากที่ราวตากผ้านั้น มิใช่ผลธรรมดาที่คนงานที่ทำงานเช่นลูกจ้างผู้นี้จะต้องทำเช่นนั้น ดังนั้น เมื่อม้ายาวที่ลูกจ้างเดินไปพลิกตะแคงจนลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กาย จึงมิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่การงานของลูกจ้าง ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการทำงาน: เหตุการณ์นอกเหนือขอบเขตหน้าที่ ไม่ถือเป็นการประสบอันตราย
การที่ลูกจ้างทำความสะอาดรถจักรดีเซลตามหน้าที่แล้วไปนั่งพัก แล้วนำเสื้อที่สวมไปตากที่ราวตากผ้านั้น มิใช่ผลธรรมดาที่คนงานที่ทำงานเช่นลูกจ้างผู้นี้จะต้องทำเช่นนั้น ดังนั้น เมื่อม้ายาวที่ลูกจ้างเดินไปพลิกตะแคงจนลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กาย จึงมิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่การงานของลูกจ้าง ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความ แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง ก็มีผลผูกพัน โดยพิจารณาตามปกติประเพณี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดี และโจทก์ได้ทำการงานสำเร็จแล้ว แม้จะมิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้าง ก็มีสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องจ่ายสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น และการคิดจำนวนสินจ้างในกรณีดังกล่าว จำเป็นต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความ แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง ก็มีผลผูกพัน จ่ายค่าจ้างตามสุจริตและปกติประเพณี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดี และโจทก์ได้ทำการงานสำเร็จแล้ว แม้จะมิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้าง ก็มีสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องจ่ายสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น และการคิดจำนวนสินจ้างในกรณีดังกล่าว จำเป็นต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คแทนบริษัท: ไม่ถือเป็นความรับผิดส่วนตัว
จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดและเป็นผู้ทรงเช็คที่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทลงบนลายมือชื่อสลักหลังเช็คดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการแสดงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยทางผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 อันอาจกล่าวได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง และเห็นเจตนาได้โดยชัดแจ้งว่ากระทำในนามจำเลยที่ 2 แม้มิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงนามสลักหลังเช็คแทนบริษัทจำกัด ไม่ทำให้เกิดความรับผิดส่วนตัว
จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดและเป็นผู้ทรงเช็คที่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทลงบนลายมือชื่อสลักหลังเช็คดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการแสดงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยทางผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 อันอาจกล่าวได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง และเห็นเจตนาได้โดยชัดแจ้งว่ากระทำในนามจำเลยที่ 2 แม้มิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2จำเลยที่ 3 ก็หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด: การตรวจเอกสารบริษัท vs. การตรวจสอบบัญชีและกิจการ
การที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเข้าไปตรวจดูเอกสารต่างๆของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1207 นั้นหมายถึงให้เข้าไปตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับการจดบันทึกรายงานการประชุมและข้อมติทั้งหมดเท่านั้นไม่ได้หมายถึงให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิตรวจบัญชีของบริษัทหรือมีสิทธิเข้าตรวจกิจการของบริษัทแต่อย่างใดผู้ถือหุ้นจึงมิอาจเข้าไปในบริษัทเพื่อตรวจสอบบัญชีและตรวจกิจการโดยลำพังได้ดังนั้นเมื่อคนยามเฝ้าประตูไม่ยอมให้ผู้ถือหุ้นเข้าไปในบริษัทตามคำสั่งของกรรมการผู้จัดการโดยมิได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ถือหุ้นกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายเสรีภาพชื่อเสียงหรือทรัพย์สินอันเป็นการข่มขืนใจผู้ถือหุ้นกรรมการผู้จัดการจึงหามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การระบุรายละเอียดการกระทำความผิดที่เพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
บรรยายฟ้องว่า จำเลยดำรงตำแหน่งผู้จัดการร้านสหกรณ์หัวหินจำกัดได้ครอบครองดูแลกิจการทั้งปวงและตัวเงินสดของร้านจำเลยได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ (สินค้าต่าง ๆ) ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องเป็นเงิน50,500.25 บาท และยักยอกเงินสด 111,000 บาท ของร้านไป เป็นของจำเลยโดยทุจริต ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและรู้ถึงความเสียเปรียบของเจ้าหนี้
การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2และ ที่ 3โดยไม่โอนขายให้โจทก์ก่อนตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นการทำนิติกรรมทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน - สัญญาประนีประนอมยอมความ - เจ้าหนี้เสียเปรียบ - มาตรา 237
การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 โดยไม่โอนขายให้โจทก์ก่อนตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นการทำนิติกรรมทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้