คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ ปาลวัฒน์วิไชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659-1660/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทิปไม่ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน หากนายจ้างไม่ได้จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน
เงินทิปที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าของจำเลยคือเงินที่พนักงานบริการได้รับจากผู้ใช้บริการโดยตรง จำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จำเลยยอมให้พนักงานบริการแต่ละคนรับไปเองได้โดยตรง มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของคำว่าค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659-1660/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทิปไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน หากนายจ้างไม่ได้จ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงาน
เงินทิปที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าของจำเลยคือเงินที่พนักงานบริการได้รับจากผู้ใช้บริการโดยตรง จำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จำเลยยอมให้พนักงานบริการแต่ละคนรับไปเองได้โดยตรง มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของคำว่าค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างชั่วคราว: เกณฑ์การนับระยะเวลาทำงานหลังเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างประจำ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 75 วรรคแรก มิได้หมายความว่าเมื่อลูกจ้างชั่วคราวทำงานติดต่อกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วจะมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันเริ่มเข้าทำงาน แต่หมายความว่าลูกจ้างจะมีฐานะเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไปโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวจำเลยรวม 154 วัน จึงออกจากงาน แสดงว่าโจทก์ทำงานในฐานะลูกจ้างประจำยังไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างชั่วคราว: ต้องทำงานต่อเนื่องหลังเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างประจำครบ 120 วัน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 75 วรรคแรก มิได้หมายความว่าเมื่อลูกจ้างชั่วคราวทำงานติดต่อกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วจะมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันเริ่มเข้าทำงานแต่หมายความว่าลูกจ้างจะมีฐานะเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไปโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวจำเลยรวม 154 วันจึงออกจากงานแสดงว่าโจทก์ทำงานในฐานะลูกจ้างประจำยังไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบลาออกสมบูรณ์ แม้ไม่มีวันที่ ยื่นจริง ถือลาออกโดยสมัครใจ ไม่เป็นการเลิกจ้าง
ใบลาออกจากงานไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าไม่ลงวันที่แล้วจะเป็นใบลาที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับว่าได้ยื่นใบลาออกจริง ก็ย่อมเป็นการลาออกที่สมบูรณ์มิใช่นายจ้างให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบลาออกไม่จำเป็นต้องลงวันที่ให้สมบูรณ์ การลาออกด้วยความสมัครใจ มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ใบลาออกจากงานไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าไม่ลงวันที่แล้วจะเป็นใบลาที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับว่าได้ยื่นใบลาออกจริง ก็ย่อมเป็นการลาออกที่สมบูรณ์มิใช่นายจ้างให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของผู้เสียหายระงับ
คดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความได้ก่อนคดีถึงที่สุดนั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว โจทก์มิได้แถลงคัดค้าน ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกผู้เสียหายมาเพื่อสอบถาม ผู้เสียหายก็ไม่มา ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้เสียหายก็จับไม่ได้ ในที่สุดศาลชั้นต้นจึงไต่สวนพยานจำเลย จำเลยนำพยานมาสืบยืนยันว่าจำเลยได้ชำระเงินให้ผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ลงชื่อในคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์จริงเมื่อผู้เสียหายไม่ยอมมาศาลและปฏิเสธว่าตนมิได้ลงชื่อในคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ข้อเท็จจริงก็ต้องฟังว่าผู้เสียหายได้ลงชื่อในคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ตามที่จำเลยนำมายื่นต่อศาลจริงเมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาขาดไปตามกฎหมาย
คดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความได้ก่อนคดีถึงที่สุดนั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว โจทก์มิได้แถลงคัดค้าน ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกผู้เสียหายมาเพื่อสอบถาม ผู้เสียหายก็ไม่มา ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้เสียหายก็จับไม่ได้ ในที่สุดศาลชั้นต้นจึงไต่สวนพยานจำเลย จำเลยนำพยานมาสืบยืนยันว่าจำเลยได้ชำระเงินให้ผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ลงชื่อในคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์จริงเมื่อผู้เสียหายไม่ยอมมาศาลและปฎิเสธว่าตนมิได้ลงชื่อในคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ข้อเท็จจริงก็ต้องฟังว่าผู้เสียหายได้ลงชื่อในคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ตามที่จำเลยนำมายื่นต่อศาลจริงเมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1605/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ลูกจ้างเคยถูกลงโทษทางวินัยก็ยังได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 หามีข้อความแสดงว่าลูกจ้างซึ่งเคยถูกลงโทษทางวินัยมาแล้วจะมิได้รับความคุ้มครองจากบทบัญญัตินี้ไม่ ฉะนั้น แม้ลูกจ้างจะเคยถูกลงโทษทางวินัยมาแล้ว หากถูกเลิกจ้างโดยมีพฤติการณ์แสดงว่าไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างก็ย่อมได้รับความคุ้มครองจากบทบัญญัตินี้เช่นเดียวกัน
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์อ้างว่า เพราะผู้บังคับบัญชาไม่อาจไว้วางใจในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ต่อไปได้ตามข้อบังคับขององค์การจำเลย ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ซึ่งไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จึงมีผลลบล้างเฉพาะคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยเท่านั้น ส่วนข้อบังคับขององค์การจำเลยยังคงใช้บังคับได้อยู่ตามเดิม ไม่ถูกกระทบกระเทือนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1605/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ลูกจ้างเคยถูกลงโทษทางวินัย ศาลคุ้มครองได้ หากการเลิกจ้างไม่มีเหตุผล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 หามีข้อความแสดงว่าลูกจ้างซึ่งเคยถูกลงโทษทางวินัยมาแล้ว จะมิได้รับความคุ้มครองจากบทบัญญัตินี้ไม่ ฉะนั้น แม้ลูกจ้างจะเคยถูกลงโทษทางวินัยมาแล้ว หากถูกเลิกจ้างโดยมีพฤติการณ์แสดงว่าไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างก็ย่อมได้รับความคุ้มครองจากบทบัญญัตินี้เช่นเดียวกัน
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์อ้างว่า เพราะผู้บังคับบัญชาไม่อาจไว้วางใจในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ต่อไปได้ตามข้อบังคับขององค์การจำเลย ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุซึ่งไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จึงมีผลลบล้างเฉพาะคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยเท่านั้น ส่วนข้อบังคับขององค์การจำเลยยังคงใช้บังคับได้อยู่ตามเดิม ไม่ถูกกระทบกระเทือนด้วย
of 42