คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ ปาลวัฒน์วิไชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ไม่ใช่ทายาทเจ้ามรดก ไม่อาจยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้
จำเลยมิใช่ทายาทของเจ้ามรดกจะยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ไม่ใช่ทายาท ไม่อาจยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้
จำเลยมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก จะยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ถูกยักยอก การซื้อขายโดยสุจริต และสิทธิในการเรียกร้องค่าทรัพย์สินส่วนแบ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันพิพาทพร้อมตัวถังและอุปกรณ์ตามฟ้องหรือไม่คดีย่อมมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันพิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของที่แท้จริงหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อมาจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ขายมิใช่เจ้าของที่แท้จริง แม้โจทก์จะรับซื้อไว้โดยสุจริตโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ผู้เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 การที่เจ้าของและเจ้าพนักงานยึดรถยนต์บรรทุกคันพิพาทคืนจากโจทก์ จึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งไม่มีตัวถัง แต่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น ตัวรถยนต์บรรทุกถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันนั้นแต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์บรรทุกทั้งคันอันเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์เป็นของตนทั้งหมด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งคือค่าต่อตัวถังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ได้มาโดยไม่สุจริต และสิทธิในการเรียกร้องค่าต่อตัวถัง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันพิพาทพร้อมตัวถังและอุปกรณ์ตามฟ้องหรือไม่คดีย่อมมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันพิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของที่แท้จริงหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อมาจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ขายมิใช่เจ้าของที่แท้จริง แม้โจทก์จะรับซื้อไว้โดยสุจริตโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนผู้เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 การที่เจ้าของและเจ้าพนักงานยึดรถยนต์บรรทุกคันพิพาทคืนจากโจทก์ จึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งไม่มีตัวถัง แต่โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น ตัวรถยนต์บรรทุกถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันนั้นแต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์บรรทุกทั้งคันอันเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์เป็นของตนทั้งหมดแต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งคือค่าต่อตัวถังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์บ้านที่เป็นส่วนควบของที่ดินที่ขายไปแล้ว ทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ขายที่ดินรวมทั้งที่ปลูกบ้านพิพาทไปแล้วก่อนฟ้องคดีนี้ ต้องถือว่าบ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบย่อมโอนไปด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ ในบ้านพิพาทแล้ว จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องและการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นหัวหน้าคนงานได้บอกให้คนงานเก็บเครื่องมือและหยุดงานประท้วงจำเลยเพราะไม่พอใจที่จำเลยไล่ลูกจ้างบางคนออกจากงาน เมื่อการนัดหยุดงานดังกล่าวยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยจึงเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 การกระทำของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้าง ได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องและการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ทำให้ไม่อาจเรียกร้องค่าชดเชยได้
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นหัวหน้าคนงานได้บอกให้คนงานเก็บเครื่องมือและหยุดงานประท้วงจำเลยเพราะไม่พอใจที่จำเลยไล่ลูกจ้างบางคนออกจากงาน เมื่อการนัดหยุดงานดังกล่าวยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยจึงเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 การกระทำของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้าง ได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีค่าชดเชย: แม้กฎหมายเกี่ยวข้องความสงบเรียบร้อย ก็ไม่อาจฟ้องซ้ำได้หากเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า การที่โจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ามิใช่เป็นกรณีเลิกจ้างคดีถึงที่สุด แล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เรียกค่าชดเชยโดยอาศัยเหตุว่า เป็นการเลิกจ้างอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ เพราะแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานจะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ก็มิใช่กรณีที่ยกเว้นให้ฟ้องซ้ำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาพักร้อนไม่เป็นไปตามระเบียบ และการละทิ้งหน้าที่ ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จ โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกำหนดว่า ลูกจ้างจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โจทก์ลาหยุดพักผ่อนแล้วไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2524 แต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติ ถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาพักร้อนที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ และการเลิกจ้างลูกจ้างที่สมเหตุผล
โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จ โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกำหนดว่า ลูกจ้างจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โจทก์ลาหยุดพักผ่อนแล้วไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2524 แต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(4)
of 42