คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุสิต วราโห

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,197 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นในสินค้าโดยมีเจตนาทำให้เข้าใจผิดว่าสินค้าเป็นของผู้อื่น
จำเลยเอาเครื่องหมายในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้กับกางเกงยีนที่จำเลยผลิต โดยไม่ได้ระบุชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ผลิตไว้ด้วย แม้โจทก์ร่วมจะไม่ได้ผลิตกางเกงยีนออกจำหน่าย แต่ในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวเป็นชื่อห้าง ประทับเครื่องหมายที่สินค้าที่โจทก์ร่วมรับมาจำหน่ายและทำการโฆษณาเครื่องหมายทางหนังสือพิมพ์ตลอดมา เมื่อบุคคลทั่วไปเห็นเครื่องหมายดังกล่าวก็ต้องเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมจึงแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยว่าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่ากางเกงยีนของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นในสินค้าของตนเองโดยมีเจตนาทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยเอาเครื่องหมายในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้กับกางเกงยีนที่จำเลยผลิต โดยไม่ได้ระบุชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ผลิตไว้ด้วย แม้โจทก์ร่วมจะไม่ได้ผลิตกางเกงยีนออกจำหน่าย แต่ในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวเป็นชื่อห้าง ประทับเครื่องหมายที่สินค้าที่โจทก์ร่วมรับมาจำหน่ายและทำการโฆษณาเครื่องหมายทางหนังสือพิมพ์ตลอดมา เมื่อบุคคลทั่วไปเห็นเครื่องหมายดังกล่าวก็ต้องเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม จึงแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยว่าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่ากางเกงยีนของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้ และความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
หนี้ตามเช็คพิพาท โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีรวมเข้าด้วย แต่หนี้ดังกล่าวเกิดจากมูลหนี้เดิมที่ห้างจำเลยที่ 1 ซื้ออาหารสัตว์ไปจากโจทก์แล้วค้างชำระ และห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวในเงินที่ค้างชำระนั้นรวมเข้าไปด้วย กรณีมิใช่เป็นเรื่องการกู้ยืมเงิน จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้ล้มละลายได้
ห้างจำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารฯ โดยระบุผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินไว้คือ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ลงลายมือชื่อร่วมกัน 2 คน พร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทพร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ด้วย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดได้นั้น จะต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ มาตรา 9 หรือมาตรา 10 หากไม่ได้ความจริงตามมาตราดังกล่าว หรือจำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้องเมื่อเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.16 เป็นพยานเอกสารที่อาจแสดงได้ว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี และเมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานนั้นตามมาตรา 87 (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านั้นได้ แม้จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้อีกฝ่ายหนึ่งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม
เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยที่นำสืบมามีเหตุผลเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด แม้จำเลยที่ 4 จะไม่มีทรัพย์สินเลย แต่เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กรณีก็มีเหตุไม่ควรให้จำเลยที่ 4 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีล้มละลายต้องทำในศาลชั้นต้น แม้คดียังไม่ถึงที่สุดก็ไม่อาจทำในชั้นอุทธรณ์ได้
การถอนฟ้องคดีล้มละลายจะกระทำได้เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้นดังนั้นคดีล้มละลายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว แม้คดียังไม่ถึงที่สุด โดยมีอุทธรณ์ต่อมา โจทก์ก็จะขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีล้มละลายทำได้เฉพาะศาลชั้นต้น แม้มีอุทธรณ์ค้าง
การถอนฟ้องคดีล้มละลายจะกระทำได้เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว แม้คดียังไม่ถึงที่สุดโดยมีอุทธรณ์ต่อมา โจทก์ก็จะขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีล้มละลายทำได้เฉพาะศาลชั้นต้น แม้คดียังไม่ถึงที่สุด
การถอนฟ้อง คดีล้มละลายจะกระทำได้ เฉพาะ ในศาลชั้นต้นเท่านั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว แม้คดียังไม่ถึงที่สุดโดย มีอุทธรณ์ต่อโจทก์ก็จะขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีล้มละลายทำได้เฉพาะศาลชั้นต้น แม้คดียังไม่ถึงที่สุด
การถอนฟ้องคดีล้มละลายจะกระทำได้เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้นดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว แม้คดียังไม่ถึงที่สุดโดยมีอุทธรณ์ต่อมา โจทก์ก็จะขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย ไม่อาจอ้างอนุโลมมาตรา 179, 180 ป.วิ.พ.
ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วจะยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้ เมื่อล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 2 เดือน ตามบทบัญญัติมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามมาตรา 179,180 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาอนุโลมใช้ได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาอนุโลม
ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว จะยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 2 เดือน ตามบทบัญญัติมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น หาอาจทำได้ไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นฟ้องการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 179,180 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาอนุโลมใช้ได้อีก.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ค่าภาษีของลูกหนี้ล้มละลายที่กระทำโดยไม่สุจริต และการคืนเงินให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่กรมสรรพากรผู้คัดค้านรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้แล้วได้ยอมรับชำระหนี้ค่าภาษีและอากรแสตมป์ของบริษัทลูกหนี้โดยการผ่อนชำระ จึงเป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริต เมื่อการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการ ขอให้ล้มละลายศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้การตกลงชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้อจำกัดอำนาจศาลที่จะสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวไม่
เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้าน ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้คัดค้านจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้คัดค้านคืนเงินดังกล่าวตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
การที่ผู้คัดค้านต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอน ซึ่งเป็นไปโดยผลของคำพิพากษากรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.
of 120