คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุสิต วราโห

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,197 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลาย และการคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ลูกหนี้ชำระค่าภาษีและอากรแสตมป์ตามข้อตกลงผ่อนผันของกรมสรรพากรในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยกรมสรรพากรรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้นั้น เป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริต แม้การตกลงชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
เมื่อศาลสั่งเพิกถอน ก็เท่ากับการรับชำระหนี้ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้กรมสรรพากรต้องคืนเงินที่รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ แต่เป็นการคืนโดยผลของคำพิพากษา กรมสรรพากรจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ค่าภาษีของลูกหนี้ล้มละลายที่กระทำโดยไม่สุจริต และการคืนเงินให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่กรมสรรพากรผู้คัดค้านรู้ถึงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้แล้วได้ยอมรับชำระหนี้ค่าภาษีและอากรแสตมป์ของบริษัทลูกหนี้โดยการผ่อนชำระ จึงเป็นการรับชำระหนี้โดยไม่สุจริต เมื่อการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการ ขอให้ล้มละลายศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 แม้การตกลงชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายก็ตาม ก็หาใช่เป็นข้อจำกัดอำนาจศาลที่จะสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวไม่
เมื่อศาลสั่งเพิกถอนการชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้าน ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้คัดค้านจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะลาภมิควรได้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้คัดค้านคืนเงินดังกล่าวตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
การที่ผู้คัดค้านต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอน ซึ่งเป็นไปโดยผลของคำพิพากษากรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้คัดค้านยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจอ้างอายุความเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ได้
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าหนี้นำหนี้ที่ขาดอายุความแล้วมายื่นขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมมีอำนาจที่จะอ้างเอาอายุความมาเป็นมูลยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอ้างอายุความเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าหนี้นำหนี้ที่ขาดอายุความแล้วมายื่นขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมมีอำนาจที่จะอ้างเอาอายุความมาเป็นมูลยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 แม้จำเลยจะฎีกาอ้างอิงข้อกฎหมายมาประกอบ แต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับจำเลยอื่น หรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การพิสูจน์เจตนาและบทบาทในการกระทำความผิดร่วม
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 แม้จำเลยจะฎีกาอ้างอิงข้อกฎหมายมาประกอบ แต่เป็นข้อกฎหมายที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับจำเลยอื่นหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้เถียงดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับการร่วมกระทำความผิด
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘ แม้จำเลยจะฎีกาอ้างอิงข้อกฎหมายมาประกอบ แต่เป็นข้อกฎหมายที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับจำเลยอื่นหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามฎีกาเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างฉ้อโกงประชาชนกับฉ้อโกงทั่วไป และผลกระทบของอายุความ
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่ องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่ พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ ตัวแทนของจำเลยได้ ติดต่อ กับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ ๑๐ ตำแหน่ง เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๓ คงเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงตาม มาตรา ๓๔๑ ซึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน ๓ เดือน นับ แต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๖ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม มาตรา ๓๔๑ ดังกล่าวซึ่ง เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ ๒ ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ ๒ ให้รับผลตาม คำพิพากษาด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง-อายุความ-การหลอกลวงหางาน-ไม่ถึงขั้นฉ้อโกงประชาชน
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ตัวแทนของจำเลยได้ติดต่อกับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตามมาตรา 341 ดังกล่าวซึ่งเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ให้รับผลตามคำพิพากษาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างฉ้อโกงประชาชนกับฉ้อโกงทั่วไป และอายุความ
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่ องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่ พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ ตัวแทนของจำเลยได้ ติดต่อ กับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่ง เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงตาม มาตรา 341 ซึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับ แต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม มาตรา 341 ดังกล่าวซึ่ง เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 ให้รับผลตาม คำพิพากษาด้วย.
of 120