พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,197 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์ไปกลับ-ซ่อนตัวบ่งชี้เจตนา
จำเลยเคยกล่าวคำอาฆาตผู้ตายไว้เนื่องจากจำเลยซื้อ สลากกินรวบจากผู้ตายถูก รางวัล 20,000 บาท แต่ ผู้ตายจ่ายเพียง 1,000 บาทวันเกิดเหตุ ป. ชวนผู้ตายไปซื้อ สุรา จำเลยอาสาจะไปกับผู้ตายผู้ตายไม่ยอมไปด้วย จำเลยว่าถ้า ไปก็เรียบร้อย เมื่อ ป. คนเดียวไปซื้อ สุรา ผู้ตายกับจำเลยเกิดโต้เถียง กันอย่างรุนแรง มีผู้เข้ามาห้าม จำเลยกลับไปที่บ้านซึ่ง อยู่ห่างไปประมาณ 500 เมตร เอาปืนลูกซองสั้นแล้วย้อนกลับมาที่บ้าน ป. ลอด ใต้ถุน บ้านเข้าไปและยิงผู้ตาย ดังนี้ ระยะทางไปกลับจากบ้าน ป. กับบ้านจำเลยประมาณ1 กิโลเมตร จำเลยย่อมมีโอกาสคิดทบทวนว่าสมควรจะฆ่าผู้ตายหรือไม่พฤติการณ์ที่จำเลยลอด ใต้ถุน บ้านเข้าไปยิงผู้ตายก็เพื่อปกปิดมิให้ผู้อื่นเห็น การกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าผู้ตายโดย ไตร่ตรอง ไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจากความโกรธแค้นเรื่องเงินรางวัล สลากกินรวบ ศาลยืนตามคำพิพากษา
จำเลยเคยกล่าวคำอาฆาตผู้ตายไว้เนื่องจากจำเลยซื้อ สลากกินรวบจากผู้ตายถูก รางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท แต่ ผู้ตายจ่ายเพียง ๑,๐๐๐ บาทวันเกิดเหตุ ป. ชวนผู้ตายไปซื้อ สุรา จำเลยอาสาจะไปกับผู้ตายผู้ตายไม่ยอมไปด้วย จำเลยว่าถ้า ไปก็เรียบร้อย เมื่อ ป. คนเดียวไปซื้อ สุรา ผู้ตายกับจำเลยเกิดโต้เถียง กันอย่างรุนแรง มีผู้เข้ามาห้าม จำเลยกลับไปที่บ้านซึ่ง อยู่ห่างไปประมาณ ๕๐๐ เมตร เอาปืนลูกซองสั้นแล้วย้อนกลับมาที่บ้าน ป. ลอด ใต้ถุน บ้านเข้าไปและยิงผู้ตาย ดังนี้ ระยะทางไปกลับจากบ้าน ป. กับบ้านจำเลยประมาณ๑ กิโลเมตร จำเลยย่อมมีโอกาสคิดทบทวนว่าสมควรจะฆ่าผู้ตายหรือไม่พฤติการณ์ที่จำเลยลอด ใต้ถุน บ้านเข้าไปยิงผู้ตายก็เพื่อปกปิดมิให้ผู้อื่นเห็น การกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าผู้ตายโดย ไตร่ตรอง ไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินสินบนนำจับของผูแจ้งเบาะแส แม้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด และเหตุผลที่กรมศุลกากรชะลอการจ่ายเงิน
โจทก์เป็นผู้แจ้งความนำจับของกลาง และการจับกุมดังกล่าวเป็นผลสำเร็จก็เนื่องจากการแจ้งความของโจทก์ อันเข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบของกรมศุลกากรจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ. 2517 ที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ แม้โจทก์เป็นลูกจ้างของเจ้าของของกลางและรู้เห็นในการกระทำผิดนั้นก็มิได้เป็นข้อห้ามหรือข้อยกเว้นตามระเบียบดังกล่าวที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นเหตุเพื่อปฏิเสธการจ่ายเงินสินบนนำจับในกรณีนี้ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินสินบนตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 102 ตรี แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสินบนนำจับไว้ตามข้อ 4,5 และให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการจ่ายเงินสินบนไว้ในข้อ 10 ว่า ในกรณีที่เห็นสมควรอธิบดีกรมศุลกากรจะรอการจ่ายเงินสินบนและรางวัลทั้งหมดหรือบางส่วนไว้พลางก่อนก็ได้ เมื่อการขายของกลางรายนี้มีกรณีพิพาทและมีการฟ้องกรมศุลกากรเป็นจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เห็นได้ว่าเงินค่าขายของกลางมีปัญหาที่ยังไม่ยุติไม่แน่ว่าคดีดังกล่าวกรมศุลกากรจะแพ้หรือชนะ ทั้งการจ่ายเงินสินบนตามกฎหมายและระเบียบของจำเลยจะต้องจ่ายจากเงินของกลางนั้นเอง ดังนี้ ที่จำเลยยังไม่จ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีเหตุอันสมควรซึ่งอาจยกขึ้นอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของจำเลย โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสินบน.(ที่มา-ส่งเสริม)
ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 102 ตรี แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสินบนนำจับไว้ตามข้อ 4,5 และให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการจ่ายเงินสินบนไว้ในข้อ 10 ว่า ในกรณีที่เห็นสมควรอธิบดีกรมศุลกากรจะรอการจ่ายเงินสินบนและรางวัลทั้งหมดหรือบางส่วนไว้พลางก่อนก็ได้ เมื่อการขายของกลางรายนี้มีกรณีพิพาทและมีการฟ้องกรมศุลกากรเป็นจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เห็นได้ว่าเงินค่าขายของกลางมีปัญหาที่ยังไม่ยุติไม่แน่ว่าคดีดังกล่าวกรมศุลกากรจะแพ้หรือชนะ ทั้งการจ่ายเงินสินบนตามกฎหมายและระเบียบของจำเลยจะต้องจ่ายจากเงินของกลางนั้นเอง ดังนี้ ที่จำเลยยังไม่จ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีเหตุอันสมควรซึ่งอาจยกขึ้นอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของจำเลย โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสินบน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินสินบนนำจับของเจ้าหน้าที่ แม้จะเกี่ยวข้องกับเจ้าของของกลาง และการมีข้อพิพาทเกี่ยวกับของกลาง
โจทก์เป็นผู้แจ้งความนำจับของกลาง และการจับกุมดังกล่าวเป็นผลสำเร็จก็เนื่องจากการแจ้งความของโจทก์ อันเข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ. 2517ที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ แม้โจทก์เป็นลูกจ้างของเจ้าของของกลางและรู้เห็นในการกระทำผิดนั้น ก็มิได้เป็นข้อห้ามหรือข้อยกเว้นตามระเบียบดังกล่าว ที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นเหตุเพื่อปฏิเสธการจ่ายเงินสินบนนำจับในกรณีนี้ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินสินบนตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 102 ตรีแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสินบนนำจับไว้ตามข้อ 4,5 และให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการจ่ายเงินสินบนไว้ในข้อ 10 ว่า ในกรณีที่เห็นสมควรอธิบดีกรมศุลกากรจะรอการจ่ายเงินสินบนและรางวัลทั้งหมดหรือบางส่วนไว้พลางก่อนก็ได้ เมื่อการขายของกลางรายนี้มีกรณีพิพาทและมีการฟ้องกรมศุลกากรเป็นจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เห็นได้ว่าเงินค่าขายของกลางมีปัญหาที่ยังไม่ยุติไม่แน่ว่าคดีดังกล่าวกรมศุลกากรจะแพ้หรือชนะ ทั้งการจ่ายเงินสินบนตามกฎหมายและระเบียบของจำเลยจะต้องจ่ายจากเงินของกลางนั้นเอง ที่จำเลยยังไม่จ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงมีเหตุอันสมควรซึ่งอาจยกขึ้นอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของจำเลย โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสินบน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์การกลับไปเอาปืนและลอดใต้ถุนบ้านแสดงเจตนา
จำเลยเคยกล่าวคำอาฆาตผู้ตายไว้เนื่องจากจำเลยซื้อสลากกินรวบจากผู้ตายถูกรางวัล 20,000 บาท แต่ผู้ตายจ่ายเพียง 1,000 บาทวันเกิดเหตุ ป. ชวนผู้ตายไปซื้อสุรา จำเลยอาสาจะไปกับผู้ตายผู้ตายไม่ยอมไปด้วย จำเลยว่าถ้าไปก็เรียบร้อย เมื่อ ป. คนเดียวไปซื้อสุรา ผู้ตายกับจำเลยเกิดโต้เถียงกันอย่างรุนแรง มีผู้เข้ามาห้าม จำเลยกลับไปที่บ้านซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 500 เมตรเอาปืนลูกซองสั้นย้อนกลับมาที่บ้าน ป. ลอดใต้ถุนบ้านเข้าไปและยิงผู้ตาย ดังนี้ ระยะทางไปกลับจากบ้าน ป.กับบ้านจำเลยประมาณ 1 กิโลเมตร จำเลยย่อมมีโอกาสคิดทบทวนว่าสมควรจะฆ่าผู้ตายหรือไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยลอดใต้ถุนบ้านเข้าไปยิงผู้ตายก็เพื่อปกปิดมิให้ผู้อื่นเห็น การกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: ศาลพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้และสถานะทางธุรกิจของลูกหนี้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยเป็นลูกค้ากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางครั้งเป็นจำนวนถึง16,700,000 บาท แสดงว่าโจทก์เชื่อว่าจำเลยมีความสามารถในการประกอบธุรกิจหากำไรมาใช้หนี้โจทก์ได้ ทั้งบางครั้งจำเลยสามารถนำเงินเข้ามาหักบัญชีได้เป็นจำนวนถึง 4,900,000 บาท จนกระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 จำเลยนำเงินเข้าหักบัญชีเป็นจำนวนถึง 4,453,159.05 บาท คงเหลือเงินที่เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเพียง 761,028.32 บาท ซึ่งจำเลยเคยเป็นหนี้มีจำนวนมากกว่าจำนวนที่โจทก์ฟ้องหลายเท่า จำเลยยังสามารถชำระหนี้ได้และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นอีก ทั้งจำเลยก็ยังประกอบธุรกิจการค้าเหมือนเดิม แม้โจทก์จะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8(9) ก็เป็นแต่เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้นศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้จึงยังไม่พอถือว่าจำเลยสมควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ แม้มีเหตุตามกฎหมายก็ต้องดูข้อเท็จจริงประกอบ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยเป็นลูกค้ากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางครั้งเป็นจำนวนถึง16,700,000 บาท แสดงว่าโจทก์เชื่อว่าจำเลยมีความสามารถในการประกอบธุรกิจหากำไรมาใช้หนี้โจทก์ได้ ทั้งปรากฏว่าบางครั้งจำเลยสามารถนำเงินเข้ามาหักบัญชีได้เป็นจำนวนถึง 4,900,000บาท จนกระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 จำเลยนำเงินเข้าหักบัญชีเป็นจำนวนถึง 4,453,159.05 บาท คงเหลือเงินที่เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเพียง 761,028.32 บาท ซึ่งจำเลยเคยเป็นหนี้มีจำนวนมากกว่าจำนวนที่โจทก์ฟ้องหลายเท่า จำเลยยังสามารถชำระหนี้ได้และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นอีก ทั้งจำเลยก็ยังประกอบธุรกิจการค้าเหมือนเดิมดังนี้ แม้โจทก์จะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ก็เป็นแต่เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้นส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้จึงยังไม่พอถือว่าจำเลยสมควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษาล้มละลายควบคู่การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่ และผลของการเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลย แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอน เนื่องจากคดีล้มละลายจะต้องกระทำโดยเร่งด่วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 13และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดยให้พิจารณาใหม่ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ ดำเนินคดีมาตาม ขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลย แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้น ที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดี ล้มละลายต่อไปตาม ขั้นตอนเนื่องจากคดีล้มละลายจะต้อง กระทำโดย เร่งด่วนตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 13 และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดย ให้พิจารณาใหม่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วย ตาม บทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 62.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย แม้มีการขอพิจารณาใหม่
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๖๑ เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ ดำเนินคดีมาตาม ขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลย แม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้น ที่ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๑๕๓ จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดี ล้มละลายต่อไปตาม ขั้นตอนเนื่องจากคดีล้มละลายจะต้อง กระทำโดย เร่งด่วนตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา ๑๓ และ ๑๕๓ หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดย ให้พิจารณาใหม่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๙ ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๑๕๓ และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วย ตาม บทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๖๒.