พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,197 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4514/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ศาลต้องมีกฎหมายรองรับ กรณีไม่มีกฎหมายให้สิทธิ ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ได้ ต่อเมื่อมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนมารดาผู้ร้องออกจากการเป็นตัวแทน เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องในอันที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างจ่ายในศาลตกเป็นของแผ่นดิน หากผู้มีสิทธิไม่เรียกรับภายใน 5 ปี แม้เป็นเงินชำระหนี้ตามคำบังคับ
เงินค้างจ่ายในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323 หมายถึงเงินทั้งหมดที่มีผู้นำมาวางไว้ในคดีและค้างจ่ายอยู่ในศาล มิได้จำกัดเฉพาะแต่เงินที่จำเลยนำมาวางศาลก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 135 เท่านั้น การที่จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำบังคับศาลชั้นต้นที่ออกคำบังคับนั้นมีอำนาจที่จะรับเงินไว้ได้เพราะเป็นศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาล เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การโฆษณาซ้ำโดยความผิดพลาดของโรงพิมพ์ไม่ถือเป็นวันเริ่มต้น
การโฆษณาประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์ซึ่งมิใช่เป็นการโฆษณาตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หากแต่เป็นการกระทำโดยพลการและด้วยความบกพร่องของโรงพิมพ์เองนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการโฆษณาประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4357/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ศาลพิจารณาความสุจริตและราคาซื้อขายที่แท้จริง
การโอนทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในระหว่าง 3 ปีก่อนล้มละลาย พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา114 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องแสดงให้ศาลพอใจว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านจึงจะต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมให้เพิกถอนการโอนได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องนำสืบแสดงความไม่สุจริตของผู้รับโอนเมื่อปรากฏว่า ส. บิดาผู้คัดค้านกับจำเลยผู้ล้มละลายได้ติดต่อการค้ากันมานานถึง 10 ปี และที่ดินทั้ง 4 โฉนดที่ขายให้แก่ผู้คัดค้านมีรายการจดทะเบียนติดจำนองมาตลอด ดังนี้ ส. และผู้คัดค้านย่อมอยู่ในฐานะรู้ดีว่าจำเลยเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัวอยู่แล้ว ฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านรับโอนไว้โดยสุจริตศาลมีอำนาจเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองมีผลบังคับ แม้จะยังไม่ได้รับเงินกู้ เหตุผลคือเป็นการประกันหนี้ที่มีอยู่แล้วและที่จะเกิดขึ้น
สัญญาจำนองระบุว่าเป็นการประกันหนี้ประเภทต่าง ๆ บรรดาที่จำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาจำนองดังกล่าวหรือที่จะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ซึ่งขณะที่ทำสัญญาจำนองนั้นจำเลยก็ยังมีหนี้เกี่ยวค้างเจ้าหนี้อยู่ สัญญาจำนองดังกล่าวย่อมมีผลบังคับ แม้จำเลยจะมิได้รับเงินจากเจ้าหนี้ตามสัญญาจำนอง ก็หามีผลให้สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินของสุขาภิบาล: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายเฉพาะเจาะจงในแต่ละกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเบียดบังเงินของสุขาภิบาลรวม 9 ครั้ง รวมเป็นเงิน 90,000 บาทเศษ ทางพิจารณากลับปรากฏว่า นอกจากเงินของสุขาภิบาลจะขาดบัญชีไป 9 รายการตามฟ้องโจทก์แล้วยังมีเงินเกินบัญชีอีก 24 รายการ เป็นจำนวนเงิน 70,000 บาทเศษ คงเหลือเงินที่ขาดบัญชีไปเพียง 24,843.97 บาทเท่านั้น โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำนวนเงินที่ขาดบัญชีนี้จำเลยได้เบียดบังไปจากสุขาภิบาลตามฟ้องโจทก์ข้อใด เป็นจำนวนเท่าใดจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดทุกกรรมตามฟ้องโจทก์ คงลงโทษจำเลยได้เพียงกระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินของสุขาภิบาล: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายให้ชัดเจน ศาลลงโทษเฉพาะส่วนที่พิสูจน์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเบียดบังเงินของสุขาภิบาลรวม 9 ครั้งรวมเป็นเงิน 90,000 บาทเศษ ทางพิจารณากลับปรากฏว่า นอกจากเงินของสุขาภิบาลจะขาดบัญชีไป 9 รายการตามฟ้องโจทก์แล้ว ยังมีเงินเกินบัญชีอีก 24 รายการเป็นจำนวนเงิน 70,000 บาทเศษ คงเหลือเงินที่ขาดบัญชีไปเพียง 24,843.97 บาท เท่านั้น โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำนวนเงินที่ขาดบัญชีนี้จำเลยได้เบียดบังไปจากสุขาภิบาลตามฟ้องโจทก์ข้อใด เป็นจำนวนเท่าใด จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดทุกกรรมตามฟ้องโจทก์ คงลงโทษจำเลยได้เพียงกระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4184/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทน-นายจ้างต่อความเสียหายจากสัญญาที่ทำไป และอายุความฟ้องไล่เบี้ย
การที่เทศบาลเมืองฯ โจทก์ต้องชดใช้เงินให้ พ. เป็นผลโดยตรงจากสัญญาซึ่งจำเลยร่วมที่ 2 ในฐานะนายกเทศมนตรีและจำเลยในฐานะเทศมนตรีร่วมกันทำแทนโจทก์ โดยมอบสิทธิในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินที่ พ. เคยเช่าอยู่เดิมให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะถือว่าเป็นการกระทำของโจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองซึ่งมีหน้าที่บริการงานแทนโจทก์โดยไม่คำนึงถึงข้อผูกพันที่โจทก์มีอยู่ต่อ พ.ตามสัญญาเดิมที่โจทก์ต้องสร้างอาคารพาณิชย์ให้พ.เช่าอยู่แทนอาคารเดิมที่ถูกเพลิงไหม้เป็นเหตุให้ พ. ได้รับความเสียหายไม่ได้เข้าพักอาศัยในอาคารพาณิชย์ที่ก่อสร้างขึ้นดังกล่าว และโจทก์ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ พ. ตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองได้และขณะโจทก์ถูก พ. ฟ้องต่อศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องเรียกจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วย การที่โจทก์ไม่เรียกจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยแก่จำเลย ความเสียหายของโจทก์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว แม้จำเลยร่วมที่ 2จะพ้นจากหน้าที่ไปก่อนที่โจทก์จะได้ชดใช้เงินค่าเสียหายให้แก่พ. ก็ไม่ทำให้จำเลยร่วมที่ 2 พ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ อายุความเกี่ยวกับสิทธิฟ้องไล่เบี้ยของโจทก์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นว่าต้องฟ้องภายในอายุความเท่าใดจึงต้องฟ้องภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและผลต่อการเริ่มนับอายุความ
โจทก์ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยทั้งเก้าแล้วตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนที่โจทก์ตั้งขึ้นชุดแรก ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2523 แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะสรุปความเห็นว่ามีผู้ต้องรับผิดชอบเพียงสองคนคือจำเลยที่ 6 และที่ 8 ก็ตามการที่โจทก์ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นสอบสวนในเรื่องเดิมคงเป็นเพียงวิธีการของโจทก์เพื่อจะรู้ว่ายังมีใครอีกบ้างที่จะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่โจทก์ยังไม่รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ มิฉะนั้นอายุความหนึ่งปีที่กฎหมายกำหนดไว้ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่มูลละเมิดก็จะขยายออกไปได้เรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ ดังนั้นเมื่อนับจากวันที่ 30 เมษายน 2523 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้พ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้วฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับจากวันที่ทราบการละเมิดและตัวผู้กระทำผิด แม้จะมีการตั้งกรรมการสอบสวนเพิ่มเติม
โจทก์ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยทั้งเก้าแล้ว ตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนที่โจทก์ตั้งขึ้นชุดแรก ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2523 แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะสรุปความเห็นว่ามีผู้ต้องรับผิดชอบเพียงสองคนคือจำเลยที่ 6 และที่ 8 ก็ตาม การที่โจทก์ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นสอบสวนในเรื่องเดิม คงเป็นเพียงวิธีการของโจทก์ เพื่อจะรู้ว่ายังมีใครอีกบ้างที่จะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่โจทก์ยังไม่รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ มิฉะนั้นอายุความหนึ่งปีที่กฎหมายกำหนดไว้ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่มูลละเมิดก็จะขยายออกไปได้เรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ ดังนั้นเมื่อนับจากวันที่ 30 เมษายน 2523 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้วฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรแรก