คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุสิต วราโห

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,197 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2666/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมมิอาจเกิดขึ้นเมื่อที่ดินเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน แม้ใช้ทางต่อเนื่อง การได้ภารจำยอมต้องเริ่มนับจากแบ่งแยกที่ดิน
เดิม ที่ดิน ของ โจทก์ จำเลย เป็น กรรมสิทธิ์ ของ เจ้าของ คนเดียว กัน เมื่อ แบ่งแยก แล้ว ทางพิพาท อยู่ ใน ที่ดิน ส่วน ของ จำเลย แม้ โจทก์ จะ ได้ ใช้ ทางพิพาท เป็น ทางเดิน ออก สู่ ทางสาธารณะ มา เกิน 10 ปี การ ที่ โจทก์ อยู่อาศัย ใน บ้าน ของ โจทก์ ซึ่ง ปลูก อยู่ ใน ที่ดิน นั้น ใช้ ทางพิพาท ออก สู่ ทางสาธารณะ ใน ระหว่าง นั้น ย่อม เป็น ผู้ใช้ สิทธิ ใน ฐานะ เป็น บริวาร และ ใช้ โดย อาศัย อำนาจ ของ เจ้าของ เดิม เมื่อ ที่ดิน เป็น ของ เจ้าของ ราย เดียว กัน ย่อม ไม่มี เจ้าของ สามยทรัพย์ กับ เจ้าของ ภารยทรัพย์ อัน จะ ทำให้ เกิด มี ภารจำยอม ขึ้น ได้ ผู้ อยู่ ใน ที่ดิน จะ ใช้ ทาง นาน เพียงใด ทางพิพาท ก็ ไม่ ตก อยู่ ใน ภารจำยอม อายุความ การ ได้ ภารจำยอม หาก จะ มี ก็ ต้อง เริ่ม นับ ตั้งแต่ ได้ แบ่งแยก ที่ดิน โอน กรรมสิทธิ์ ให้ แก่ โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647-2648/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมัสยิดไม่ใช่สาธารณสมบัติ แม้มีประชาชนใช้ทางผ่าน ไม่เป็นภาระจำยอม
มัสยิดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไม่เคยอุทิศโดยตรงหรือโดยปริยายให้เป็นที่ดินสาธารณะ แม้จะมีประชาชนเข้ามาใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินผ่านเพื่อไปลงเรือข้ามฟากและเป็นทางผ่านไปชำระร่างกายที่คลองก่อนเข้าทำพิธีกรรมทางศาสนาก็ถือได้เพียงว่าเป็นการใช้ที่ดินโดยถือวิสาสะเพราะมัสยิดเจ้าของที่ดินมีฐานะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม มีหน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกแก่อิสลามมิกชนในการใช้ที่ดินเพื่อการดังกล่าวหาใช่อุทิศให้เป็นทางสาธารณะไม่ จึงถือไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ติดลำคลอง โจทก์อาจใช้ที่ดินโจทก์เองเป็นท่าน้ำสำหรับลงเรือข้ามฟากได้โดยสะดวก ทั้งการใช้ที่ดินตรงทางพิพาทเป็นทางผ่านไปใช้ท่าเรือหน้ามัสยิดจำเลย โจทก์จะต้องเดินผ่านที่ดินผู้อื่นไปอีกหลายแปลงหลายเจ้าของลักษณะการใช้ทางพิพาทของโจทก์จึงมิใช่ลักษณะของการใช้โดยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอม
การที่ศาลล่างมีคำวินิจฉัยฟ้องโจทก์สำนวนที่สองว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วมิได้พิพากษายกฟ้องนั้น ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647-2648/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมัสยิดไม่ได้อุทิศเป็นสาธารณะ การใช้ทางเดินเป็นวิสาสะ ไม่เป็นภาระจำยอม
มัสยิดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไม่เคยอุทิศโดยตรงหรือโดยปริยายให้เป็นที่ดินสาธารณะ แม้จะมีประชาชนเข้ามาใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินผ่านเพื่อไปลงเรือข้ามฟากและเป็นทางผ่านไปชำระร่างกายที่คลองก่อนเข้าทำพิธีกรรมทางศาสนาก็ถือได้เพียงว่าเป็นการใช้ที่ดินโดยถือวิสาสะเพราะมัสยิดเจ้าของที่ดินมีฐานะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม มีหน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกแก่อิสลามมิกชนในการใช้ที่ดินเพื่อการดังกล่าวหาใช่อุทิศให้เป็นทางสาธารณะไม่ จึงถือไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ติดลำคลอง โจทก์อาจใช้ที่ดินโจทก์เองเป็นท่าน้ำสำหรับลงเรือข้ามฟากได้โดยสะดวก ทั้งการใช้ที่ดินตรงทางพิพาทเป็นทางผ่านไปใช้ท่าเรือหน้ามัสยิดจำเลย โจทก์จะต้องเดินผ่านที่ดินผู้อื่นไปอีกหลายแปลงหลายเจ้าของลักษณะการใช้ทางพิพาทของโจทก์จึงมิใช่ลักษณะของการใช้โดยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอม
การที่ศาลล่างมีคำวินิจฉัยฟ้องโจทก์สำนวนที่สองว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วมิได้พิพากษายกฟ้องนั้น ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องในคดีล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นอกจากเป็นเจ้าพนักงานศาลแล้วยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมทั้งกระทำการต่าง ๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้นเมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิเสธหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นอกจากเป็นเจ้าพนักงานศาลแล้วยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมทั้งกระทำการต่าง ๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้น เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้องศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงไม่ใช่พ่อค้า ใช้ อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การไฟฟ้านครหลวงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงไม่ใช่พ่อค้า อายุความ 10 ปี
การไฟฟ้านครหลวงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีกล้องสูบฝิ่นเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลง: จำเลยพ้นผิดเนื่องจากกฎหมายใหม่ไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยมีกล้องสูบฝิ่นไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น ดังกล่าวแล้วใช้ความใหม่แทน และไม่ได้บัญญัติให้การมีกล้องสูบฝิ่นเป็นความผิด การกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิดจึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ดังนี้ จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2422/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานแวดล้อมประกอบคำรับสารภาพ คดีฆ่าผู้อื่น ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิด
แม้จะไม่มีพยานคนใดรู้เห็นขณะจำเลยใช้มีดฟันผู้ตาย แต่มีพยานประกอบแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับกรณีที่เกิดขึ้นคือ ส. ภรรยาจำเลย และ น. แม่ยายจำเลย โดยได้ความจากพยานทั้งสองว่า คืนก่อนวันเกิดเหตุจำเลยและผู้ตายดื่มสุราแล้วทะเลาะท้าทายกันรุ่งขึ้นเวลาประมาณ 8 นาฬิกา จำเลยและผู้ตายออกจากบ้านไปด้วยกันโดยจำเลยมีมีดติดตัวไปด้วย ครั้นเวลาประมาณ 12 นาฬิกาจำเลยกลับบ้าน ถือมีดดังกล่าวซึ่งเปื้อนเลือดบอกส. ว่าได้ฆ่าผู้ตายแล้ว และห้าม ส. ไม่ให้ไปแจ้งความมิฉะนั้นจะฆ่า และเวลาประมาณ 16 นาฬิกา จำเลยไปหา น. บอกว่าได้ฆ่าผู้ตายแล้วถ้าใครไปแจ้งตำรวจจะฆ่าให้หมด พยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับกรณีที่เกิดขึ้นอย่างมาก เมื่อฟังประกอบกับที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว จึงปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยได้กระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่ามีผลสมบูรณ์แม้ยังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเช่า หากเงื่อนไขนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม
จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ให้แก่ผู้ร้องที่ 1ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึง 3 ปีเศษ โดยผู้ร้องได้รับมอบเครื่องรับโทรศัพท์ไว้ในความครอบครองตั้งแต่วันที่โอนสิทธิกัน ดังนั้นการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีเงื่อนไขว่าการโอนจะต้องได้รับความยินยอมจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเสียก่อน เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ก็ไม่ทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปเพราะเงื่อนไขดังกล่าวไม่ใช่แบบของนิติกรรม สิทธิการเช่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 120