พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายที่ดิน: การขายสมบัติเก่าไม่ถือเป็นการค้า
การส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่นถึงบุคคลใดเกี่ยวกับภาษีอากรฝ่ายสรรพากรโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรกนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติวิธีการส่งไว้อย่างในกรณีที่มีผู้นำส่ง แต่ย่อมเห็นได้ว่าพนักงานไปรษณีย์ผู้นำส่งจะต้องส่งให้แก่ผู้รับหรือบุคคลที่อยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับตามที่ผู้ส่งได้จ่าหน้าซองไว้จึงจะถือได้ว่าเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ที่พนักงานไปรษณีย์ให้ลงลายมือชื่อรับหนังสือไว้แทนโจทก์ไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในบ้านโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือในวันดังกล่าว ต้องถือเอาวันที่โจทก์ได้รับจริง
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ย ไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ย ไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเช็คพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีมูลหนี้เป็นการคบคิดฉ้อฉล
คำให้การจำเลยที่ว่า จำเลยได้จ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ส.และต่อมาได้มีการหักกลบลบหนี้กัน เช็คพิพาททั้งสามฉบับไม่มีมูลหนี้ต่อกันอีกการที่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาของส. ได้นำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยโดยอ้างว่าได้รับโอนมาจาก ส.นั้น.จะเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์กับส. ได้คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยเพื่อสมคบกันเรียกเงินจากจำเลยอีกนั้น พอเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า เมื่อโจทก์รับโอนเช็คพิพาทจาก ส. มาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยนั้น โจทก์รู้อยู่แล้วว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันแล้วแต่โจทก์รู้เห็นเป็นใจกับ ส. บุตรสาวของตนอันเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลย คำให้การของจำเลยเช่นนี้เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งถึงข้อต่อสู้ของจำเลยรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้ว
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ส.. โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกัน การที่โจทก์เอาเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยจำเลยจึงยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วย มาตรา989
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ส.. โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกัน การที่โจทก์เอาเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยจำเลยจึงยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วย มาตรา989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเช็คโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีมูลหนี้ ถือเป็นการคบคิดฉ้อฉล
คำให้การจำเลยที่ว่า จำเลยได้จ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ส. และต่อมาได้มีการหักกลบลบหนี้กัน เช็คพิพาททั้งสามฉบับไม่มีมูลหนี้ต่อกันอีกการที่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาของ ส. ได้นำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยโดยอ้างว่าได้รับโอนมาจาก ส. นั้น. จะเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์กับ ส. ได้คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยเพื่อสมคบกันเรียกเงินจากจำเลยอีกนั้น พอเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าเมื่อโจทก์รับโอนเช็คพิพาทจาก ส. มาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยนั้น โจทก์รู้อยู่แล้วว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันแล้วแต่โจทก์รู้เห็นเป็นใจกับ ส. บุตรสาวของตนอันเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลย คำให้การของจำเลยเช่นนี้เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งถึงข้อต่อสู้ของจำเลยรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้ว
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ส. โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันการที่โจทก์เอาเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยจำเลยจึงยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วย มาตรา 989
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ส. โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันการที่โจทก์เอาเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยจำเลยจึงยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วย มาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: มูลหนี้สัญญาเช่าซื้อ, การโอนสิทธิเรียกร้อง, ผู้ทรงเช็คโดยชอบ
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากห้าง ท. มีข้อสัญญาว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงจำเลยยินยอมชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่จนถึงวันบอกเลิกสัญญาจนครบ ปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนห้าง ท. บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจึงเป็นเช็คที่ออกเนื่องจากมีมูลหนี้ ผูกพันกัน ห้าง ท. สลักหลังโอนเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703-3705/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะกับทางภารจำยอม: เมื่อทางสาธารณะมีอยู่แล้ว จะไม่สามารถเป็นทางภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมหมายถึงทางที่ผ่านเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งกฎหมายเรียกว่า 'ภารยทรัพย์' เจ้าของภารยทรัพย์จำต้องยอมให้มีทางผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งเรียกว่า 'สามยทรัพย์' ส่วนทางสาธารณะนั้นเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งไม่มีบุคคลใดเป็นเจ้าของ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว จึงเป็นทางภารจำยอมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703-3705/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะกับภารจำยอม: เมื่อทางสาธารณะมีอยู่แล้ว ย่อมไม่สามารถเป็นภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมหมายถึงทางที่ผ่านเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งกฎหมายเรียกว่า "ภารยทรัพย์" เจ้าของภารยทรัพย์จำต้องยอมให้มีทางผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งเรียกว่า "สามยทรัพย์" ส่วนทางสาธารณะนั้นเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งไม่มีบุคคลใดเป็นเจ้าของ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว จึงเป็นทางภารจำยอมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การสูญเสียอุปการะและแรงงาน
รถจำเลยขับชนรถโจทก์ จนโจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะและขาดแรงงานจากภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาฟ้องคดี: ถิ่นที่อยู่หลายแห่ง โจทก์เลือกยื่นฟ้องได้ หากยังไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาจริง
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดนนทบุรี โดยระบุในคำฟ้องว่าจำเลยอยู่ที่บ้านมีเลขที่หลังหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ต่อมาในระหว่างการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโจทก์ขอแก้ที่อยู่ของจำเลยเป็นบ้านมีเลขที่หลังหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งจำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้านแต่มีพฤติการณ์แสดงว่าบ้านมีเลขที่ในจังหวัดนนทบุรีตามที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้อง อาจเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยอีกแห่งหนึ่งนอกจากที่จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโจทก์จะถือเอาถิ่นที่อยู่แห่งหนึ่งแห่งใดเป็นภูมิลำเนาเพื่อยื่นฟ้องจำเลยก็ได้ กรณีควรฟังข้อเท็จจริงก่อน ที่ศาลจังหวัดนนทบุรีสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพิษณุโลกจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นจากการเบิกเงินเกินบัญชีและการจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาจำนองมีข้อความว่า หากเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนโดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคาร และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคารโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาทนับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาทนับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นจากการจำนองประกันการเบิกเงินเกินบัญชี, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาจำนองมีข้อความว่า หากเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนโดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคาร และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคาร โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาท นับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาท นับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป