คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พูน จักรเสน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่านาและการบังคับใช้กฎหมายใหม่หลังฟ้องคดี สัญญาเช่าเดิมยังคงมีผล
จำเลยเช่านาพิพาทจากโจทก์ครบกำหนด 6 ปีแล้วไม่ยอมออกไปโจทก์จึงฟ้องขับไล่ ต่อมาระหว่างที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลได้มีพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ใช้บังคับจำเลยจะอ้างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีหาได้ไม่เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้นำพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับแก่คดีความที่ค้างชำระอยู่ในศาลในวันที่หรือภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อ พ.ศ. 2521 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่านาพิพาทแก่จำเลยว่าเมื่อการเช่าครบกำหนด 6 ปีใน พ.ศ. 2522 แล้ว ให้จำเลยออกไปจากนาพิพาท ปลัดอำเภอผู้ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอได้สอบสวนคู่กรณีแล้วปรากฏว่าการเช่าจะครบกำหนด 6 ปีใน พ.ศ. 2523 จึงได้ทำการเปรียบเทียบให้จำเลยเช่าต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2523 และในปี พ.ศ. 2524 จำเลยหมดสิทธิทำนา ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยินยอมตามคำเปรียบเทียบ และลงชื่อกับพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในคำเปรียบเทียบดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกการเช่านาพิพาทชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 39 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่านาและการบังคับใช้กฎหมายเช่าที่ดินหลังฟ้องคดี ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเช่านาพิพาทจากโจทก์ครบกำหนด 6 ปีแล้วไม่ยอมออกไปโจทก์จึงฟ้องขับไล่ ต่อมาระหว่างที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาล ได้มีพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ใช้บังคับ จำเลยจะอ้างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีหาได้ไม่ เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้นำพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับแก่คดีความที่ค้างชำระอยู่ในศาลในวันที่หรือภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เมื่อ พ.ศ. 2521 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่านาพิพาทแก่จำเลยว่าเมื่อการเช่าครบกำหนด 6 ปีใน พ.ศ. 2522 แล้ว ให้จำเลยออกไปจากนาพิพาท ปลัดอำเภอผู้ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอได้สอบสวนคู่กรณีแล้วปรากฏว่าการเช่าจะครบกำหนด6 ปีใน พ.ศ. 2523 จึงได้ทำการเปรียบเทียบให้จำเลยเช่าต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2523 และในปี พ.ศ. 2524 จำเลยหมดสิทธิทำนา ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยินยอมตามคำเปรียบเทียบ และลงชื่อกับพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในคำเปรียบเทียบ ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกการเช่านาพิพาทชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 39 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย และผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายจำเลยป่วยตามใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้อง ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ กลับมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปเลย โดยไม่พิเคราะห์ว่ามีเหตุจำเป็นจะต้องเลื่อนคดีหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้เสมียนทนายจำเลยนั่งฟังการสืบพยานโจทก์อยู่ด้วย และในนัดต่อมาพยานโจทก์ดังกล่าวจะได้มาศาลและให้ทนายจำเลยซักค้านแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าไม่เสียความเป็นธรรม เพราะในระหว่างที่ทนายโจทก์หรือศาลซักถามพยานโจทก์นั้น อาจมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบในทางคดีเกิดขึ้น เสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจว่าความอย่างทนายความได้ จึงไม่มีสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปในช่วงนั้น นอกจากนี้ยังเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติมาตรา 36 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบังคับว่า การนั่งพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าคู่ความที่มาศาลและโดยเปิดเผย อันเป็นกฎหมายที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม
แม้จำเลยจะมิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่ก็ได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไว้และใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้
การที่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีเพราะเหตุเจ็บป่วยตามใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้อง เป็นกรณีมีความจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งเป็นการขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรก สมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย และสิทธิในการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างว่าทนายจำเลยป่วยตามใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้อง ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ กลับมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปเลย โดยไม่พิเคราะห์ว่ามีเหตุจำเป็นจะต้องเลื่อนคดีหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้ว ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้เสมียนทนายจำเลยนั่งฟังการสืบพยานโจทก์อยู่ด้วย และในนัดต่อมาพยานโจทก์ดังกล่าวจะได้มาศาลและให้ทนายจำเลยซักค้านแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าไม่เสียความเป็นธรรม เพราะในระหว่างที่ทนายโจทก์หรือศาลซักถามพยานโจทก์นั้น อาจมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบในทางคดีเกิดขึ้น เสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจว่าความอย่างทนายความได้ จึงไม่มีสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปในช่วงนั้น นอกจากนี้ยังเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติมาตรา 36 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบังคับว่า การนั่งพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าคู่ความที่มาศาลและโดยเปิดเผย อันเป็นกฎหมายที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม
แม้จำเลยจะมิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่ก็ได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไว้และใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้
การที่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีเพราะเหตุเจ็บป่วยตามใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้อง เป็นกรณีมีความจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งเป็นการขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรก สมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านตัวแทนที่ไม่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ สัญญาไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลยโดยบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนบริษัทโจทก์ซื้อให้ โจทก์มิได้จัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์รวมทั้งบริการที่เกี่ยวกับกิจการดังกล่าวตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกหนี้สินค่าซื้อหลักทรัพย์จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ฯ สัญญาไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลยโดยบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนบริษัทโจทก์ซื้อให้ โจทก์มิได้จัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์รวมทั้งบริการที่เกี่ยวกับกิจการดังกล่าวตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกหนี้สินค่าซื้อหลักทรัพย์จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของตัวแทนที่ทดรองจ่ายเงินซื้อหุ้นให้ลูกค้าและรับจำนำหุ้นเป็นประกัน ถือเป็นโมฆะตามกฎหมาย
โจทก์เป็นตัวแทนของลูกค้าในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยโจทก์ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการแทนโจทก์ ถือไม่ได้ว่าการดำเนินงานของโจทก์เป็นการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงหาใช่เป็นการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือการให้บริการที่เกี่ยวกับการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่ดังกล่าวตามความหมายในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ไม่ ดังนั้น การรับเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป โจทก์ย่อมกระทำได้โดยชอบ
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์ และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้ จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทดรองจ่ายซื้อหุ้นพร้อมจำนำหุ้นประกันเข้าข่ายผิดกฎหมายและโมฆะ
โจทก์เป็นตัวแทนของลูกค้าในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยโจทก์ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการแทนโจทก์ ถือไม่ได้ว่าการดำเนินงานของโจทก์เป็นการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงหาใช่เป็นการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือการให้บริการที่เกี่ยวกับการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่ดังกล่าวตามความหมายในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ไม่ ดังนั้น การรับเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยทั่วๆ ไป โจทก์ย่อมกระทำได้โดยชอบ
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารสูงเกินกำหนดตามเทศบัญญัติฯ และละเมิดสิทธิเพื่อนบ้านเรื่องทางลมและแสงสว่าง
ตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครหลวงกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2483 ข้อ 59 และ 60 การปลูกสร้างอาคารซึ่งอยู่ริมถนนที่มีความกว้างไม่ถึง 8 เมตร แต่ไม่น้อยกว่า 4 เมตร อนุญาตให้ปลูกสร้างได้สูงไม่เกิน 8 เมตร บริเวณหน้าอาคารของจำเลยที่ 1 ติดขอบซอยหรือขอบถนนกว้าง 4.60 หรือ 5.40 เมตรเท่านั้น การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยหัวหน้าเขตจำเลยที่ 4 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพิพาทสูงเกิน 8 เมตร จึงไม่ชอบด้วยเทศบัญญัติดังกล่าว แม้จะกำหนดให้ปลูกสร้างร่นห่างจากซอยเข้าไปด้านหลังอีก 3 เมตรก็ตาม
การที่ศาลพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทส่วนที่สูงเกิน 8 เมตร หาเป็นการก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารไม่ เพราะการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทเกิดขึ้นจากฝ่ายบริหารปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ว่าคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก่อนจำเลยสร้างอาคารพิพาท บ้านของโจทก์ได้รับลมและแสงสว่างจากภายนอกพอสมควร เมื่อจำเลยสร้างอาคารพิพาทแล้ว ลมไม่พัดเข้าไปในบ้านของโจทก์และแสงสว่างก็ลดน้อยลง อาคารพิพาทสูงกว่าบ้านโจทก์มากอาคารที่จำเลยสร้างปิดกั้นทางลมที่พัดจากทางด้านทิศใต้ถึงปีละ 6 เดือนและปิดกั้นแสงสว่างเป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้แสงไฟฟ้าในเวลากลางวัน ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยจะมีแดนกรรมสิทธิ์เหนือพ้นดินของตน แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 การใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านได้รับความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันสมควร เพราะตรงที่จำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทเป็นย่านประชาชนอยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านการค้าหรือประกอบธุรกิจ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะกำจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2526)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารสูงเกินกำหนดในพื้นที่อยู่อาศัย ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครหลวงกรุงเทพ เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2483 ข้อ 59 และ 60 การปลูกสร้างอาคารซึ่งอยู่ริมถนนที่มีความกว้างไม่ถึง 8 เมตร แต่ไม่น้อยกว่า4 เมตร อนุญาตให้ปลูกสร้างได้สูงไม่เกิน 8 เมตร บริเวณหน้าอาคารของจำเลยที่ 1 ติดขอบซอยหรือขอบถนนกว้าง 4.60 หรือ 5.40 เมตรเท่านั้น การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยหัวหน้าเขตจำเลยที่ 4 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพิพาทสูงเกิน 8 เมตรจึงไม่ชอบด้วยเทศบัญญัติดังกล่าว แม้จะกำหนดให้ปลูกสร้างร่นห่างจากซอยเข้าไปด้านหลังอีก 3 เมตรก็ตาม การที่ศาลพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทส่วนที่สูงเกิน 8 เมตร หาเป็นการก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารไม่ เพราะการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทเกิดขึ้นจากฝ่ายบริหารปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ว่าคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก่อนจำเลยสร้างอาคารพิพาท บ้านของโจทก์ได้รับลมและแสงสว่างจากภายนอกพอสมควร เมื่อจำเลยสร้างอาคารพิพาทแล้ว ลมไม่พัดเข้าไปในบ้านของโจทก์และแสงสว่างก็ลดน้อยลง อาคารพิพาทสูงกว่าบ้านโจทก์มากอาคารที่จำเลยสร้างปิดกั้นทางลมที่พัดจากทางด้านทิศใต้ถึงปีละ 6 เดือนและปิดกั้นแสงสว่างเป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้แสงไฟฟ้าในเวลากลางวัน ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยจะมีแดนกรรมสิทธิ์เหนือพ้นดินของตน แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านได้รับความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันสมควร เพราะตรงที่จำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทเป็นย่านประชาชนอยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านการค้าหรือประกอบธุรกิจ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะกำจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2526)
of 27