คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย อินทุภูติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,256 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากซื้อขายหลักทรัพย์เป็นหนี้เงินกู้ และความสมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้เงินต่อมาจำเลยได้นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นเงินปันผลและเงินสดมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนนับถึงวันที่11กันยายน2523จำเลยชำระเงินต้นให้โจทก์831,333บาท67สตางค์กับดอกเบี้ยอีก583,642บาท99สตางค์ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยตามเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งได้ระบุยอดเงินต้นที่ค้างตรงตามฟ้องคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้แล้วส่วนข้อที่ว่ายอดเงินที่จำเลยชำระคืนบางส่วนเป็นเงินเท่าใดเป็นเงินอะไรและมีการชำระเงินเมื่อใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปหาจำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้องดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใดและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯจำเลยเป็นหนี้โจทก์3,500,000บาทเศษจำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น2,760,896.67บาทกับดอกเบี้ยอีก864,221.48บาทศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้นอันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน10,000บาทแทนโจทก์และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน6,000บาทจึงเหมาะสมแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4248/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาต้องรอคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีที่ยังไม่สิ้นสุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหมายบังคับคดี ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้อง คงมีคำสั่งเฉพาะคำร้องขอทุเลาการบังคับของผู้ร้องเท่านั้น คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิฎีกาทั้งนี้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4248/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาเมื่อคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลอุทธรณ์: การไม่อาจฎีกาจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหมายบังคับคดี ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้อง คงมีคำสั่งเฉพาะคำร้องขอทุเลาการบังคับของผู้ร้องเท่านั้น คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิฎีกาทั้งนี้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4248/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีบังคับคดี: การพิจารณาคำสั่งอุทธรณ์ยังไม่สิ้นสุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหมายบังคับคดีผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องคงมีคำสั่งเฉพาะคำร้องขอทุเลาการบังคับของผู้ร้องเท่านั้นคดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิฎีกาทั้งนี้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การพ้นกำหนด ไม่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งรับคำให้การอ้างเหตุว่าตนมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การพร้อมกับยื่นคำให้การมาด้วย โดยยื่นมาก่อนที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "ขยายระยะเวลาไม่ได้เพราะการขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต้องขอก่อนสิ้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยมายื่นวันนี้พ้นกำหนด 8 วันแล้ว ทั้งไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย ให้ยกคำร้อง' คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดี ตามมาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลยกคำร้องขอรับคำให้การหลังพ้นกำหนด ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยที่5ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งรับคำให้การอ้างเหตุว่าตนมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การพร้อมกับยื่นคำให้การมาด้วยโดยยื่นมาก่อนที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า'ขยายระยะเวลาไม่ได้เพราะการขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต้องขอก่อนสิ้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23จำเลยมายื่นวันนี้พ้นกำหนด8วันแล้วทั้งไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยให้ยกคำร้อง'คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตามมาตรา226(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลยกคำร้องขอรับคำให้การพ้นกำหนด ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งรับคำให้การอ้างเหตุว่าตนมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การพร้อมกับยื่นคำให้การมาด้วยโดยยื่นมาก่อนที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "ขยายระยะเวลาไม่ได้เพราะการขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต้องขอก่อนสิ้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยมายื่นวันนี้พ้นกำหนด 8 วันแล้ว ทั้งไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย ให้ยกคำร้อง' คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดี ตามมาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหมิ่นประมาท: การโต้เถียงเรื่องวันรู้ความผิดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กล่าวคือถ้ายังโต้เถียงว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใด ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด และคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม2526 แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นเวลาเกิน3 เดือน นับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีจึงเป็นอันขาดอายุความ อันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520มาตรา 3 โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด เป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหมิ่นประมาท: การโต้เถียงเรื่องวันที่รู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดเข้าข่ายปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กล่าวคือ ถ้ายังโต้เถียงว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใด ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด และคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2526 แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นเวลาเกิน 3 เดือน นับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดี จึงเป็นอันขาดอายุความ อันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด เป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีหมิ่นประมาท: การโต้เถียงเรื่องวันที่รู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกล่าวคือถ้ายังโต้เถียงว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใดย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใดและคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่20ธันวาคม2526แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่23เมษายน2527ซึ่งเป็นเวลาเกิน3เดือนนับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีจึงเป็นอันขาดอายุความอันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงคดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา22ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ.2520มาตรา3โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
of 126