พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของจำเลยไม่เข้าข่ายความผิดฐานข่มขืนใจ (มาตรา 309) และหน่วงเหนี่ยวกักขัง (มาตรา 310) การริบรถยนต์ไม่ชอบ
ในวันเกิดเหตุโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างขับรถมาจอดติดการจราจรอยู่ด้วยกัน โดยรถจำเลยที่ 1 จอดอยู่ข้างหน้ารถโจทก์ ปรากฏว่ามีเสียงแตรดังมาทางด้านหลัง จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าโจทก์เป็นคนบีบแตรไล่ เมื่อการจราจรบางลงจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้ขับรถต่อไปและไปติดสัญญาณไฟแดงด้วยกัน จำเลยที่ 1 ได้ลงจากรถมาถามโจทก์ว่าบีบแตรไล่ทำไม โจทก์ตอบว่าไม่ได้บีบ เกิดโต้เถียงกัน โจทก์ได้พูดขึ้นว่า จะเป็นทหารเกเรหรืออย่างไร จำเลยโกรธจึงจับแขนโจทก์ซึ่งวางพาดประตูรถพร้อมกับพูดว่าลงมาลงมา ขอตะบันหน้าหน่อย โจทก์สะบัดแขนหลุดและไม่ยอมลงจากรถเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จับแขนโจทก์ชักชวนให้โจทก์ลงมาจากรถก็เพื่อให้โจทก์ลงมาวิวาทกับจำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยมิใช่การข่มขืนใจให้กระทำหรือไม่กระทำการดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
ต่อมาหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เกิดโต้เถียงกันดังกล่าวแล้วในระหว่างที่โจทก์ขับรถไปตามถนน จำเลย ที่ 1 ได้ขับรถไล่ตามกลั่นแกล้งโจทก์ โดยขับรถปาดหน้ารถโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องหยุดรถอย่างกระทันหัน ดังนี้ แม้ขณะโจทก์ขับรถอยู่โจทก์ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการขับรถไปตามถนนสาธารณะตามสิทธิที่กฎหมายรับรองได้กรณีจำเลยที่ 1 ขับรถเข้ามาปาดหน้ารถโจทก์และปิดกั้นรถโจทก์ไม่ ให้โจทก์ขับรถไปโดยสะดวก เมื่อจำเลยปาดหน้ารถโจทก์ โจทก์กลัวว่ารถโจทก์จะชนรถของจำเลยโจทก์ก็ต้องหยุดรถ การที่จำเลยขับรถปาดหน้ารถโจทก์ให้โจทก์หยุดรถขับรถไปไม่ได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยว กักขังกระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้(ผิดมาตรา 309)
รถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับปาดหน้ารถโจทก์ มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงริบไม่ได้
ต่อมาหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เกิดโต้เถียงกันดังกล่าวแล้วในระหว่างที่โจทก์ขับรถไปตามถนน จำเลย ที่ 1 ได้ขับรถไล่ตามกลั่นแกล้งโจทก์ โดยขับรถปาดหน้ารถโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องหยุดรถอย่างกระทันหัน ดังนี้ แม้ขณะโจทก์ขับรถอยู่โจทก์ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการขับรถไปตามถนนสาธารณะตามสิทธิที่กฎหมายรับรองได้กรณีจำเลยที่ 1 ขับรถเข้ามาปาดหน้ารถโจทก์และปิดกั้นรถโจทก์ไม่ ให้โจทก์ขับรถไปโดยสะดวก เมื่อจำเลยปาดหน้ารถโจทก์ โจทก์กลัวว่ารถโจทก์จะชนรถของจำเลยโจทก์ก็ต้องหยุดรถ การที่จำเลยขับรถปาดหน้ารถโจทก์ให้โจทก์หยุดรถขับรถไปไม่ได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยว กักขังกระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้(ผิดมาตรา 309)
รถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับปาดหน้ารถโจทก์ มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงริบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต: ความรับผิดชอบหลังการช่วยเหลือผู้กระทำผิด
อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธประจำตัวของพลตำรวจ ธ. ที่จะนำติดตัวไปได้โดยชอบ การที่จำเลยสะพายปืนดังกล่าวซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่พลตำรวจ ธ. เป็นผู้ขับไปด้วยกัน น่าจะเป็นไปเพื่อความสะดวกต่อการขับขี่รถจักรยานยนต์ จำเลยเป็นเพียงถือไว้แทนเท่านั้น การครอบครองอาวุธปืน ยังคงอยู่กับพลตำรวจ ธ. ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีส่วนร่วมกับการมีอาวุธปืนอันจะเป็นความผิดในช่วงนี้ แต่มีข้อเท็จจริงต่อมาว่า หลังจากเกิดเหตุไปกรรโชกผู้เสียหาย แล้ว ระหว่างจำเลยและพลตำรวจ ธ. หลบหนีจำเลยได้รับฝากอาวุธปืนของกลางซุกซ่อนไว้ในบ้านของตนจนเจ้าพนักงานติดตามยึดคืนมาได้ พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในตอนหลัง ถือได้ว่าจำเลยมามีส่วนกับการครอบครองอาวุธปืนดังกล่าว โดยไม่ชอบ อันเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นต้องมีใบหุ้นที่ส่งมอบได้จริง การไม่ปฏิบัติตามระเบียบตลาดหลักทรัพย์เป็นเหตุบอกเลิกสัญญาได้
ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 35 ผู้ที่เข้าเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์จำต้องยินยอมผูกพันตนเองตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกประการ ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้สั่งซื้อหุ้นมิได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ต้องใช้ข้อบังคับดังกล่าวหาได้ไม่
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น จะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขายยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น จะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขายยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้น: สิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ส่งมอบใบหุ้นตามกำหนด และผลของการประพฤติผิดสัญญาของตัวแทน
ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 35 ผู้ที่เข้าเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์จำต้องยินยอมผูกพันตนเองตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกประการ ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้สั่งซื้อหุ้นมิได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ต้องใช้ข้อบังคับดังกล่าวหาได้ไม่
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้นจะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขาย ยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้นจะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขาย ยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกัน - โจทก์ประสงค์ลงโทษสองกรรม ศาลฎีกาเรียงกระทงได้
ฟ้องว่าจำเลยใช้เหล็กแหลมเป็นอาวุธแทงทำร้ายร่างกาย ห.ถูกที่บริเวณอก และแทง ย. ถูกที่บริเวณท้อง จนลำไส้ ทะลุโดยเจตนาฆ่าแต่ ห. และ ย. ไม่ถึงแก่ความตาย แต่ เป็นเหตุให้ ห. และ ย. ได้รับอันตรายแก่กายขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 เห็นได้ว่าโจทก์ ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเป็นสองกรรมศาลฎีกาเรียงกระทงลงโทษ จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยหลายกรรมจากการทำร้ายร่างกายและพยายามฆ่า ศาลฎีกาอนุญาตให้เรียงกระทงได้หากโจทก์ประสงค์
ฟ้องว่าจำเลยใช้เหล็กแหลมเป็นอาวุธแทงทำร้ายร่างกาย ห.ถูกที่บริเวณอก และแทง ย. ถูกที่บริเวณท้อง จนลำไส้ทะลุโดยเจตนาฆ่าแต่ ห. และ ย. ไม่ถึงแก่ความตาย แต่เป็นเหตุให้ ห. และ ย. ได้รับอันตรายแก่กายขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 เห็นได้ว่า โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเป็นสองกรรม ศาลฎีกาเรียงกระทงลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมบริษัท, เพิกถอนใบอนุญาต, การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี, สัญญาเช่าซื้อ, และการชดใช้ค่าเสียหาย
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมบริษัทโจทก์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 โดยกรรมการบางคนเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย และบางคนเป็นข้าราชการกระทรวงการคลังไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา 22(7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ตั้งหรือยอมให้ข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทเงินทุนหรือพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการหรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัทเงินทุนนั้นเพราะบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงการห้ามมิให้บริษัทเงินทุนตั้งหรือยินยอมให้บุคคลดังกล่าวทำหน้าที่ในบริษัทของตนเองโดยตรง หาได้เกี่ยวกับกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้อำนาจในการควบคุมบริษัท การเพิกถอนใบอนุญาตและการเลิกบริษัทตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 และในหมวด 5 ดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามตั้งบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 22 เป็นกรรมการควบคุมบริษัทที่ถูกควบคุมแต่ประการใด คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 87เป็นบทบัญญัติบังคับให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามมาตรา 80 เลิกประกอบกิจการที่มาตรา 43(6) บัญญัติห้ามไว้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวประกอบกิจการที่ต้องห้ามต่อไปได้อีก 1 ปี ไม่ ฉะนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของโจทก์แล้ว อำนาจหรือสิทธิในการประกอบธุรกิจที่ต้องห้ามย่อมสิ้นสุดไปด้วยโดยอัตโนมัติ
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์ชุดแรกและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 สืบแทนผู้ชำระบัญชีคณะเดิมต่อไป แสดงว่าเป็นการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ให้ปฏิบัติหน้าที่ติดต่อไปในทันทีนั่นเอง แม้จะมีการจดทะเบียนคณะผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2ภายหลังการฟ้องคดีนี้ ก็หาทำให้กิจการที่ผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ปฏิบัติไปแล้วต้องเสียไปไม่ เพราะการจดทะเบียนผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1254 เป็นเพียงพิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไปไม่ ผู้ชำระบัญชีสองคนซึ่งเป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งทนายให้ฟ้องคดีนี้แม้จะมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนไปพร้อมกับผู้ชำระบัญชีอื่นในชุดแรก แต่ทั้งสองคนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ในชุดที่ 2 การแต่งทนายให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 บังคับให้ทำเป็นหนังสือและมีข้อความในสัญญาเช่าซื้อระบุจำนวนเงินและเวลาที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อไว้ชัดแจ้งโดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเกิดจากการแสดงเจตนา ลวงของโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะบังคับตามสัญญาไม่ได้ จำเลยที่ 1 จะนำสืบว่ามี ข้อตกลงนอกเหนือไปจากสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์ กับสืบถึงเจตนาและความประสงค์ของคู่สัญญาที่แตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อ แม้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 94(ข)
เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพรถยนต์ที่เช่าซื้อและพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยคำนวณเป็นรายเดือนเพียง 1 ปี
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 87เป็นบทบัญญัติบังคับให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามมาตรา 80 เลิกประกอบกิจการที่มาตรา 43(6) บัญญัติห้ามไว้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวประกอบกิจการที่ต้องห้ามต่อไปได้อีก 1 ปี ไม่ ฉะนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของโจทก์แล้ว อำนาจหรือสิทธิในการประกอบธุรกิจที่ต้องห้ามย่อมสิ้นสุดไปด้วยโดยอัตโนมัติ
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์ชุดแรกและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 สืบแทนผู้ชำระบัญชีคณะเดิมต่อไป แสดงว่าเป็นการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ให้ปฏิบัติหน้าที่ติดต่อไปในทันทีนั่นเอง แม้จะมีการจดทะเบียนคณะผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2ภายหลังการฟ้องคดีนี้ ก็หาทำให้กิจการที่ผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ปฏิบัติไปแล้วต้องเสียไปไม่ เพราะการจดทะเบียนผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1254 เป็นเพียงพิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไปไม่ ผู้ชำระบัญชีสองคนซึ่งเป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งทนายให้ฟ้องคดีนี้แม้จะมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนไปพร้อมกับผู้ชำระบัญชีอื่นในชุดแรก แต่ทั้งสองคนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ในชุดที่ 2 การแต่งทนายให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 บังคับให้ทำเป็นหนังสือและมีข้อความในสัญญาเช่าซื้อระบุจำนวนเงินและเวลาที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อไว้ชัดแจ้งโดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเกิดจากการแสดงเจตนา ลวงของโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะบังคับตามสัญญาไม่ได้ จำเลยที่ 1 จะนำสืบว่ามี ข้อตกลงนอกเหนือไปจากสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์ กับสืบถึงเจตนาและความประสงค์ของคู่สัญญาที่แตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อ แม้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 94(ข)
เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพรถยนต์ที่เช่าซื้อและพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยคำนวณเป็นรายเดือนเพียง 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วางเพลิงเพื่อเรียกค่าประกัน: พฤติการณ์และพยานแวดล้อมเพียงพอให้เชื่อได้ว่าจำเลยกระทำผิด
ก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน จำเลยทั้งสองเอาทรัพย์สินประกันอัคคีภัยไว้กับบริษัทรับประกันสี่บริษัทโดยตีราคาทรัพย์เอาประกันเกินราคา และเกิดเพลิงไหม้บริเวณหลังร้านของจำเลยครั้งหนึ่งทางจังหวัดและเทศบาลต้องจัดรถดับเพลิงมาจอดใกล้ร้านทุกคืนหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้แล้ว ได้ความว่ามิได้เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร แต่เกิดที่ชั้นล่าง ชั้นสองของตึก ห่างกันเป็นจุดๆ และขณะเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจพบจำเลยทั้งสองอยู่บนตึกชั้นสามมีถังที่ใช้บรรจุน้ำมันเบนซินอยู่ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องฉุดลากพาตัวจำเลยทั้งสองลงมา ตามพฤติการณ์แห่งคดีประกอบพยานแวดล้อมกรณีเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์เพื่อที่จะได้รับเงินค่าประกันอัคคีภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษจำคุกตามกฎหมายใหม่ที่บัญญัติขึ้นภายหลังการกระทำความผิด
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทุกกรรมรวม 3 กระทง กระทงแรกประหารชีวิตอีก 2 กระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย 1 ใน 3 กระทงแรกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต อีก 2 กระทงลงโทษกระทงละ8 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี รวมจำคุกจำเลย 51 ปี 4 เดือน ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการแก้ไขและบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขึ้นใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย โดยในกรณีคดีนี้เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจำคุกได้ไม่เกิน 50 ปี ศาลฎีกาแก้เป็นให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี และผลกระทบต่อการกำหนดโทษอาญา
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทุกกรรมรวม 3 กระทงกระทงแรกประหารชีวิตอีก 2 กระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย 1 ใน 3กระทงแรกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอีก 2 กระทงลงโทษกระทงละ8 เดือนเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปีรวมจำคุกจำเลย 51 ปี 4 เดือนระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการแก้ไขและบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ขึ้นใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยโดยในกรณีคดีนี้เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจำคุกได้ไม่เกิน 50 ปีศาลฎีกาแก้เป็นให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 50 ปี