คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สำเนียง ด้วงมหาสอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาซุกซ่อนของกลางแสดงความรู้ว่าผิดกฎหมาย แม้ปฏิเสธว่าไม่รู้
จำเลยรับฝากอาวุธปืนเอ็ม 79 กระสุนปืนและลูกระเบิดของกลางไว้จาก ส. ทหารพราน เมื่อตำรวจมาถาม จำเลยตอบว่าไม่รู้ ครั้นตำรวจพา ส. มาพบจำเลย จำเลยจึงพาไปเอาปืนและกระสุนที่กระท่อมนาของจำเลยและตำรวจค้นพบลูกระเบิดหมกอยู่ในกองแกลบใต้ถุนบ้านจำเลยการที่จำเลยปิดบังและซุกซ่อนของกลาง แสดงว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นของที่ ส. มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถา: เลือกวิธีดำเนินการครั้งเดียว เมื่ออุทธรณ์แล้ว สิทธิขอพิจารณาใหม่ไม่มี
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือให้ยกคำขอ ผู้ขอมิได้ใช้สิทธิขอให้ศาลพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของตนใหม่ตามวรรคสี่ แต่เลือกใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามวรรคห้า เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างไรแล้ว ก็เป็นที่สุดผู้ขอจะย้อนไปขอให้ศาลพิจารณาคำขอของตนใหม่ตามวรรคสี่ไม่ได้ เพราะผู้ขอมีสิทธิเลือกวิธีดำเนินการได้เพียงอย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2275/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตสถานบริการเป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนไม่ได้ สัญญาซื้อขายจึงโมฆะ
ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 เป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาต จะขออนุญาตแทนกันไม่ได้พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้โอนใบอนุญาตแก่กันได้ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ว่าไม่ประสงค์ให้โอนใบอนุญาตแก่กันแม้ใบอนุญาตดังกล่าวจะเป็นทรัพย์สิน ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาตโจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนใบอนุญาตให้แก่โจทก์ตามสัญญา เพราะวัตถุประสงค์แห่งสัญญาฝ่าฝืนต่อกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2275/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตสถานบริการเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่อาจโอนหรือขอแทนกันได้ สัญญาโอนจึงเป็นโมฆะ
ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 เป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาต จะขออนุญาตแทนกันไม่ได้ พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้โอนใบอนุญาตแก่กันได้ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ว่าไม่ประสงค์ให้โอนใบอนุญาตแก่กัน แม้ใบอนุญาตดังกล่าวจะเป็นทรัพย์สิน ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาตโจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนใบอนุญาตให้แก่โจทก์ตามสัญญา เพราะวัตถุประสงค์แห่งสัญญาฝ่าฝืนต่อกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้และจำนอง: อายุความ, การรับผิดของทายาท, ฟ้องเคลือบคลุม, และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้รับมรดกให้ชำระหนี้เงินกู้และไถ่ถอนจำนอง เป็นหนี้เหนือบุคคล มิใช่ คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ฟ้องทายาทให้ไถ่ถอนจำนองที่ผู้ตายได้ทำไว้ หลังจากผู้ตายถึงแก่กรรมเกิน 1 ปีคดีขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ยกเว้นมิให้บังคับในกรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตาม มาตรา189 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ให้โจทก์จาก ทรัพย์สินที่จำนองได้
สัญญาจำนองระบุว่าให้ส่งดอกเบี้ยเดือนละ 1 ครั้ง ย่อม เป็นที่เข้าใจว่าระหว่างผู้ตายมีชีวิตอยู่อาจจะชำระดอกเบี้ยไปบ้างแล้วก็ได้ เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ยืนยันว่าตั้งแต่ทำสัญญาจำนองแล้ว ผู้ตายไม่ได้ชำระดอกเบี้ยเลยหรือ ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด ไม่สามารถคำนวณดอกเบี้ยได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงไม่ชัดแจ้ง เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ค้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจำนอง-ฟ้องเคลือบคลุม-ผิดนัดชำระหนี้: สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 189 และผลของการผิดนัด
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแล้วยกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ โดยฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ต. ผู้ตาย เพื่อให้จำเลยไถ่ถอนที่ดินที่ ต. จำนองประกันหนี้เงินกู้ไว้ แม้จะฟ้องหลังจาก ต. ตายไปแล้วเกิน 1 ปี คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามแล้วก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นมิให้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 189 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้
เมื่อฟ้องไม่ยืนยันว่า ต. ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลย หรือผิดนัดชำระแต่เมื่อใด จึงไม่สามารถคำนวณดอกเบี้ยได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงไม่ชัดแจ้ง เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ค้างไม่ได้
โจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองภายใน 15 วัน จำเลยอ่านข้อความแล้วไม่ยอมเซ็นรับหนังสือ ดังนี้ เมื่อครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งหนังสือแก่จำเลย จำเลยมิได้ชำระหนี้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ การบอกเลิกสัญญา และการติดตามเอารถคืน
จำเลยซื้อรถพิพาทจากโจทก์โดยมีเงื่อนไข กรรมสิทธิ์ในรถดังกล่าวยังไม่โอนไปยังจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 459 เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโจทก์บอกเลิกสัญญา แล้วโจทก์และจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนรถพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่คืน โจทก์จึงชอบที่จะติดตามเอาคืนในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 จึงไม่มีอายุความ กรณีหาใช่เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ ได้ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายมีเงื่อนไข สัญญาค้างชำระ การคืนรถและสิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์
จำเลยซื้อรถพิพาทจากโจทก์โดยมีเงื่อนไข กรรมสิทธิ์ในรถดังกล่าวยังไม่โอนไปยังจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 459 เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโจทก์บอกเลิกสัญญา แล้ว โจทก์และจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนรถพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่คืน โจทก์จึงชอบ ที่จะติดตามเอาคืนในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงไม่มีอายุความกรณีหาใช่เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ ได้ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่แจ้งคู่ความร่วมรับทราบการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ ทำให้การพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยร่วมได้รับสำเนาอุทธรณ์แล้ว หรือได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยร่วมโดยการปิดประกาศไว้หน้าศาลแทนการส่งหมายแต่อย่างใด การพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น โดยไม่มีจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ด้วย ทั้ง ๆ ที่จำเลยร่วมยังเป็นคู่ความอยู่ และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมตามอุทธรณ์ของจำเลยอยู่ด้วยทั้งศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยร่วมทราบแต่อย่างใด จึงเป็นอันว่าจำเลยร่วมพ้นจากคดีไปลอย ๆ เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินของสำนักสงฆ์และวัด: อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงไม่รับ จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ฎีกาข้อเท็จจริงของจำเลยจึงเป็นอันยุติ คงมีปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้
of 57