พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองและค้ำประกันแยกสัญญา ไถ่ถอนจำนองได้โดยไม่ต้องชำระหนี้ค้ำประกัน
โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้บริษัท ภ.และหนี้ของโจทก์เองเป็นเงิน 180,000 บาท ในวันเดียวกันนั้นโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ.สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจึงแยกต่างหากจากกัน จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินซึ่งจำนองในวงเงิน 180,000 บาท พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 เท่านั้น ส่วนหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ. ที่เกินกว่าจำนวนเงินที่จำนองเป็นประกันนั้นเป็นบุคคลสิทธิที่จำเลยจะต้องติดตามบังคับเอาจากโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นเจ้าหนี้สามัญ โจทก์จึงมีสิทธิไถ่จำนองได้โดยไม่ต้องชำระหนี้ของบริษัท ภ. ซึ่งนอกเหนือจากหนี้จำนอง เมื่อสัญญาจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไว้ และโจทก์ผู้จำนองแสดงความจำนงขอไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยจะไม่ยอมให้ไถ่ถอนจำนองโดยอ้างว่า โจทก์ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ค้ำประกันอยู่อีกไม่ได้ เพราะเป็นความรับผิดตามสัญญาคนละฉบับซึ่งแยกต่างหากจากกันและไม่เกี่ยวข้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสัญชาติเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชน แม้จะได้รับบัตรแล้วก็ยังมีความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยมีสัญชาติเวียตนาม ได้อาศัยทะเบียนบ้านที่ระบุว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ซึ่งจำเลยทราบดีว่าไม่เป็นความจริงหรืออีกนัยหนึ่งก็คือหลักฐานเท็จ ไปอ้างต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อว่าจำเลยมีสัญชาติไทยจริงจึงได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย ดังนั้น บัตรประจำตัวประชาชนที่จำเลยได้รับซึ่งเกิดจากหลักฐานเท็จและความหลงผิดของเจ้าพนักงาน จึงเป็นบัตรประจำตัวเท็จไปด้วย เมื่อจำเลยนำเอาทะเบียนบ้านที่ระบุสัญชาติของจำเลยเป็นเท็จกับบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อปลัดอำเภอผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อขอเปลี่ยนบัตรใหม่ ทั้งๆ ที่จำเลยทราบอยู่แล้วว่าตนเองไม่มีสัญชาติไทย ไม่มีสิทธิขอบัตรประจำตัวประชาชนได้จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยกรรมการที่ล้มละลาย: การเปลี่ยนตัวผู้ถือแทนกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลย ส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154 จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไป ดังนั้น การที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัท จึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลล้มละลายในฐานะกรรมการบริษัท: การเปลี่ยนตัวผู้ถือแทนกรรมสิทธิ์ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลยส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไปดังนั้นการที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัทจึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้นหาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความคดีฉ้อโกง: ผลกระทบต่อการฟ้องร้องและการบังคับชำระหนี้
ผู้เสียหายมีหนังสือถึงจำเลยมีใจความว่าผู้เสียหายได้รับเงิน จำนวน 10,000 บาทจากจำเลยเป็นค่าชดใช้เงินที่ได้ฉ้อโกงไปจาก ผู้เสียหาย ซึ่งได้แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจแล้วผู้เสียหายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ดังกล่าว อีกต่อไปดังนี้ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ตกลงยอมความกัน โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา341 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ลงโทษจำเลย ในความผิดฐานนี้ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลย ใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย
ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และมาตรา 268นั้น ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ย่อมไม่ระงับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารและ ใช้เอกสารที่ตนปลอมนี้ด้วยกรณีเช่นนี้มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ลงโทษตาม มาตรา 268 แต่กระทงเดียว
ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และมาตรา 268นั้น ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ย่อมไม่ระงับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารและ ใช้เอกสารที่ตนปลอมนี้ด้วยกรณีเช่นนี้มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ลงโทษตาม มาตรา 268 แต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญาฐานฉ้อโกง ย่อมระงับสิทธิฟ้องคดีฐานฉ้อโกงได้ แต่ไม่กระทบความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
ผู้เสียหายมีหนังสือถึงจำเลยมีใจความว่า ผู้เสียหายได้รับเงิน จำนวน 10,000 บาทจากจำเลยเป็นค่าชดใช้เงินที่ได้ฉ้อโกงไปจากผู้เสียหาย ซึ่งได้แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจแล้วผู้เสียหายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ดังกล่าวอีกต่อไป ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ตกลงยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ลงโทษจำเลย ในความผิดฐานนี้ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย
ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และมาตรา 268 นั้น ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารที่ตนปลอมนี้ด้วยกรณีเช่นนี้มาตรา 268 วรรค 2 บัญญัติให้ลงโทษตาม มาตรา 268 แต่กระทงเดียว
ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และมาตรา 268 นั้น ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารที่ตนปลอมนี้ด้วยกรณีเช่นนี้มาตรา 268 วรรค 2 บัญญัติให้ลงโทษตาม มาตรา 268 แต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการปล้นทรัพย์: การกระทำที่ช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้คนร้าย
จำเลยเป็นบุตรของผู้เสียหายอันเกิดจากภรรยาคนเดิม เคยอาศัยอยู่ที่บ้านผู้เสียหาย จำเลยรู้ว่าพวกคนร้ายจะทำการปล้นทรัพย์ จำเลยได้ผูกสุนัขดุไว้และพาพวกคนร้ายเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่คนร้ายในการปล้นทรัพย์ จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการปล้นทรัพย์: การกระทำที่ช่วยให้คนร้ายเข้าถึงเป้าหมาย
จำเลยเป็นบุตรของผู้เสียหายอันเกิดจากภรรยาคนเดิม เคยอาศัย อยู่ที่บ้านผู้เสียหายจำเลยรู้ว่าพวกคนร้ายจะทำการปล้นทรัพย์ จำเลยได้ผูกสุนัขดุไว้และพาพวกคนร้ายเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเป็นการ ช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่คนร้ายในการปล้นทรัพย์จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการเช่ารถให้องค์การขนส่งฯ เป็นรายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน มิใช่รายได้จากการขนส่ง
รายได้ที่โจทก์ได้รับจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นค่าเช่าอันเนื่องมาจากโจทก์เอารถยนต์โดยสารปรับอากาศของตนให้องค์การฯเช่าใช้ในการขนส่งประจำทาง ซึ่งเป็นการให้เช่าตัวทรัพย์มิใช่ให้เช่าบริการรายได้ดังกล่าวจึงเป็นรายได้จากการให้เช่าทรัพย์สินซึ่งมิใช่อสังหาริมทรัพย์ตามประเภทการค้า 5 หาใช่รายรับจากการประกอบการขนส่งตามประเภทการค้า 8 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีการฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจอนุญาตได้
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528 )
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528 )