คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สำเนียง ด้วงมหาสอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. เช่าซื้อ: การสูญหายของทรัพย์สิน และผลผูกพันสัญญา
ในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572แต่สัญญาดังกล่าวนอกจากใช้ชื่อว่าหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขแล้วข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญาหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายแสดงให้เห็นว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตามคู่กรณีมีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้นไม่มีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญาให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้วและผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา574สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิตามมาตรา459หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษาการใช้และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบก็ดีให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดีก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้เขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้นหาเป็นเหตุให้สัญญากลายเป็นการเช่าซื้อไม่ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่าแม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใดหรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใดผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วยฉะนั้นเมื่อระหห่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วนรถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมาจำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา372วรรคแรกซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา114 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลงคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา391จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยแต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องชำระราคารถให้แทนโดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญาตามมาตรา224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และผลของการเลิกสัญญาเมื่อทรัพย์สูญหาย โดยศาลพิจารณาดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ข้อสัญญาว่ากรณีผิดนัดหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาแสดงให้เห็นว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตามคู่สัญญามีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้นหาได้มีข้อตกลงที่พอจะแสดงให้เห็นว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้วและผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนแต่อย่างใดไม่ข้อสัญญาดังนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ ป.พ.พ.มาตรา372วรรคแรกไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์บอกเลิกสัญญาจำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วเป็นผลให้สัญญาสิ้นสุดลงจำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปีตามข้อสัญญาแต่จะต้องนำป.พ.พ.มาตรา224มาใช้แทนโดยคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7ครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. เช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่อรถหาย และดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
ในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่า จะขายทรัพย์สินนั้น หรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 แต่สัญญาดังกล่าวนอกจากใช้ชื่อว่าหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขแล้ว ข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว ทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญา หรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายแสดงให้เห็นว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม คู่กรณีมีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้น ไม่มีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญา ให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้ว และผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 574 สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิตาม มาตรา 459 หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษา การใช้ และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบก็ดี ให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดี ก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้เขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้น หาเป็นเหตุให้สัญญากลายเป็นการเช่าซื้อไม่
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่า แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย ฉะนั้น เมื่อระหว่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน รถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมา จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วน ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติ มาตรา 372 วรรคแรก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 114
เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม มาตรา 391 จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์ และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลย แต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระราคารถให้แทน โดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญา ตามมาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจะซื้อขายและการคืนเงินมัดจำ: คดีติดตามทรัพย์สินไม่มีอายุความ แม้ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์จำเลยได้เลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันแล้ว คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391แต่จำเลยไม่คืนเงินมัดจำและราคาที่ดินที่จำเลยรับไว้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินดังกล่าวคืน เป็นกรณีที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินคืน ไม่มีอายุความ การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องถือตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญามัดจำซื้อขายที่ดิน จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและราคาที่ดิน คดีไม่มีอายุความ
โจทก์จำเลยได้เลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันแล้ว คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แต่จำเลยไม่คืนเงินมัดจำและราคาที่ดินที่จำเลยรับไว้ให้แก่โจทก์โจทก์จึงฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินดังกล่าวคืน เป็นกรณีที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินคืน ไม่มีอายุความ
การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องถือตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961-3962/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดกเริ่มต้นนับแต่วันตาย และทายาทที่สืบสันดานมีสิทธิยกอายุความได้
อายุความฟ้องร้องคดีมรดก ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่เจ้ามรดกตาย
มารดาของจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์และเจ้ามรดก เมื่อมารดาจำเลยสละมรดก จำเลยซึ่งเป็นบุตรจึงมีสิทธิ สืบมรดกได้ตามมาตรา 1615 และมีฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดก ในลำดับเดียวกับโจทก์ มีสิทธิยกอายุความ 1ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามมาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961-3962/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกนับจากวันตายเจ้ามรดก และสิทธิทายาทสืบแทน
อายุความฟ้องร้องคดีมรดก ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่เจ้ามรดกตาย
มารดาของจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์และเจ้ามรดก เมื่อมารดาจำเลยสละมรดก จำเลยซึ่งเป็นบุตรจึงมีสิทธิ สืบมรดกได้ตามมาตรา 1615 และมีฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดก ในลำดับเดียวกับโจทก์ มีสิทธิยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามมาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานรัฐวิสาหกิจแสวงหาผลประโยชน์ทุจริต จำหน่ายไม้ของกลางเกินอำนาจ ทำให้เสียหาย
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยเป็นพนักงานประจำป่า หมวดทำไม้ มีอำนาจหน้าที่ควบคุมการทำไม้สัมปทานและควบคุมการทำไม้ นอกโครงการและไม้ของกลางในคดีนี้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการ เสนอความเห็นหาตัวผู้รับจ้างเกี่ยวกับไม้ที่รับมอบไว้จำเลยใช้อำนาจ ในหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์โดยทุจริต โดยจัดการรับชักลากและขนไม้ของกลางซึ่งตนเองมีหน้าที่ดูแลรักษาดังกล่าวไปแล้วทำการขายไปโดยมิได้ ขออนุมัติผู้บังคับบัญชาก่อนอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบและเกินอำนาจหน้าที่ ของตนทำให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้รับความเสียหายขาดราคา ค่าไม้ของกลางที่ควรจะได้ไปเช่นนี้จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯมาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานรัฐวิสาหกิจแสวงหาผลประโยชน์ทุจริตจากไม้ของกลาง
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยเป็นพนักงานประจำป่าหมวดทำไม้ มีอำนาจหน้าที่ควบคุมการทำไม้สัมปทานและควบคุมการทำไม้นอกโครงการและไม้ของกลางในคดีนี้ มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการ เสนอความเห็นหาตัวผู้รับจ้างเกี่ยวกับไม้ที่รับมอบไว้จำเลยใช้อำนาจ ในหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์โดยทุจริต โดยจัดการรับชักลากและขนไม้ของกลาง ซึ่งตนเองมีหน้าที่ดูแลรักษาดังกล่าวไปแล้ว ทำการขายไปโดยมิได้ขออนุมัติผู้บังคับบัญชาก่อน อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบและเกินอำนาจหน้าที่ของตน ทำให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้รับความเสียหาย ขาดราคาค่าไม้ของกลางที่ควรจะได้ไป เช่นนี้จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนโอนสิทธิการขายแผงลอย: แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยตกลงโอนสิทธิการขายสินค้าบนแผงลอยในตลาดนัดเทศบาลเมืองพระประแดงแก่โจทก์ โดยโจทก์เสียค่าตอบแทนให้จำเลยเป็นเงิน ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ใช่การเช่าช่วง สัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
of 57